การดูแลผนังบ้านโดย คอร์สอสังหา การดูแลรักษาบ้านเพื่อพร้อมรับหน้าฝนเป็นสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง

การดูแลผนังบ้านโดย คอร์สอสังหา การดูแลรักษาบ้านเพื่อพร้อมรับหน้าฝนเป็นสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง

หน้าฝนบ้านเรานั้นยาวนาและหนักหนาพอสมควร การดูแลรักษาบ้านเพ่อพร้อมรับหน้าฝนเป็นสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยงเกี่ยงทำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ ทีม คอร์สอสังหา ที่มีการดูแลผนังบ้าน ผนังบ้านมีจุดอ่อนมากมายที่อาจจะเป็นปัญหา หรือบางท่านอาจกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ก็ได้

ขอเริ่มจาก ผนังปูน (ก่ออิฐฉาบปูน ) โดยทีม คอร์สอสังหา ผนังประเภทนี้มีปัญหาสากลคือ การร้าว สาเหตุของการร้าวมีดังนี้

1.ร้าวเนื่องจากอิฐทรุดตัวส่งผลให้ปูนฉาบร้าวหากทรุดตัวมากผนังเสียรูปคือบวมหรือเบี้ยวต้องมีการทุบและก่อใหม่แต่ส่วนมากไม่รุนแรงมากการแก้ไขทำได้โดยสกัดผิวและฉาบแต่งใหม่ด้วยปูนฉาบหรือวัสดุกันซึมต่างๆ

2.ร้าวเนื่องจากปูนฉาบหดตัวสาเหตุหลักมาจากช่วงเวลาของการฉาบการฉาบปูนภายนอกอาคารหากฉาบในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัดหรือผนังอยู่ฝั่งที่โดนแสงแดดโดยตรงจะส่งผลให้ผนังหดตัวเนื่องจากปูนฉาบแห้งเร็วเกินไปการแก้ไขทำได้โดยยาแนวรอบรอยร้าวด้วยวัสดุกันซึมที่ไม่มีการยืดหดตัวสูง

3.การรั่วซึมอีกอย่างของผนังปูนคือการที่มีการฉาบผนังเพียงด้านเดียวพบมากกับอาคารประเภทตึกแถวหรือผนังที่สร้างชิดแนวเขตที่ดินการก่อผนังแล้วปล่อยเปลือยจะส่งผลให้น้ำซึมผ่านรอยต่อของอิฐเข้ามาสู่ผนังด้านในเนื่องจากไม่มีปูนฉาบเป็นตัวขวางกั้นอีกทั้งตัวอิฐมอญ(อิฐสีแดง),คอนกรีตบล็อค(สีเทาๆ)หรือคอนกรีตมวลเบา(สีขาวๆ)จะมีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำดังนั้นนอกจากน้ำจะรั่วแล้วผนังยังจะชื้นตลอดเวลาทางที่ดีควรจะฉาบผนังทั้งสองด้านและผนังด้านนอกควรผสมกันซึมลงในปูนฉาบด้วย

4.การรั่วซึมเนื่องจากปูนฉาบหรือวัสดุเคลือบผิวหมดสภาพสิ่งของทุกอย่างมีอายุการใช้งานสีทาอาคารจะมีอายุการใช้งานสูงสุด10ปีดังนั้นต้องหมั่นดูแลรักษาทาสีเพื่อรักษาตัวปูนฉาบด้วยส่วนปูนฉาบจะมีอายุการใช้งานประมาณ 20-25ปีหลังจากนั้นเนื้อปูนจะสูญเสียประสิทธิภาพลักษณะจะร่วนและไม่เกาะตัวทำให้อาคารเก่าบางแห่งรั่วซึมเนื่องจากปูนฉาบอาคารหมดสภาพการดูแลรักษาด้วยการหมั่นตรวจสอบและซ่อมแซมการใช้วัสดุทาผิวที่มีคุณสมบัติดีป้องกันแสงแดดและมีการยึดเกาะสูงจะช่วยยืดอายุการใช้งานของผนังฉาบ

ผนังไม้

บ้านที่เป็นผนังไม้ส่วนใหญ่เป็นบ้านอายุเกิน 30 ปี ที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่ลักษณะผนังจะเป็นการซ้อนเกล็ดในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางนอน ทางตั้ง และบ้านเรือนไทยฝาปะกน สาเหตุหลักของบ้านฝาไม้ที่เกิดการรั่วซึมเนื่องจากการยืดหดตัวของไม้ และการที่ไม้แตก สิ่งที่กระตุ้นอาการเหล่านี้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอยู่ของเจ้าของเดิม บ้านเหล่านี้ก่อสร้างภายใต้สภาพแวดล้อมอากาศตามธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไปการใช้เครื่องปรับอากาศกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดความร้อนจากสภาพอากาศ เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิภายในกับภายนอก ทำให้ไม้เกิดการยืดหดตัวรุนแรง เกิดร่องรอย และบางทีแผ่นไม้แตกตามรอยตะปู เนื่องจากการบิดตัว ส่งผลให้น้ำสามารถลอดผ่านเข้ามาภายในบ้าน การแก้ไข คือ หากต้องการติดเครื่องปรับอากาศ ท่านจะต้องลงทุนกรุผนังภายในด้วยยิปซั่มบอร์ด เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในไว้และป้องกันความร้อนเข้าและเนื่องจากยิปซั่มต้องมีโครง อากาศภายในช่องว่างจะทำหน้าที่เป็นฉนวน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงพอประมาณแต่คุ้ม(ต.ร.ม ละ 350-380บาท) เพราะจะช่วยท่านประหยัดไฟด้วยเนื่องจากท่านทำห้องให้เป็นเหมือนคูลเลอร์

ผนังวัสดุอื่น ๆ

ผนังวัสดุอื่น ๆที่ทีม ตัวแทน อสังหา กรุงเทพ มักเกิดการรั่วซึมสาเหตุเกิดจากรอยต่อวัสดุที่ไม่ดี ต่อไม่ถูกต้องตามการติดตั้งของผู้ผลิต การต่อของวัสดุต้องเป็นไปตามมาตรฐานของผู้ผลิตมักไม่มีปัญหา วัสดุอื่นที่นิยมใช้และพบว่ารั่ว คือ ผนังกระจก ผนังกระจกจะรั่วบริเวณกระจกต่อกับวัสดุอื่นโดยเฉพาะวัสดุที่มีอัตราการยืดหดตัวสูง เช่น ไม้ และเหล็ก ต้องดูแลวัสดุยาแนว(ซิลิโคน)ว่า

1. ยาแนวได้ดีถูกต้องไม่มีฟองอากาศ

2. ซิลิโคนมีอายุการใช้งานประมาณ 5-7 ปี ต้องดูแลว่าใกล้หมดอายุหรือไม่ และต้องมีการดูแลรักษาตามวาระนะคะ หวังว่าข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้คงจะช่วยท่านผู้อ่านที่ทีม ตัวแทน อสังหา กรุงเทพ เตรียมตัวรับหน้าฝนที่กำลังจะมาเยือนได้

 

คอร์สอสังหา

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *