ข้อควรรู้ก่อนจะหาเเบบสร้าง บ้านชั้นเดียว สวยๆ ใน Internet มาใช้สร้างบ้านจริงๆ ของเรา

ข้อควรรู้ก่อนจะหาเเบบสร้าง บ้านชั้นเดียว สวยๆ ใน Internet มาใช้สร้างบ้านจริงๆ ของเรา

บ้านชั้นเดียว คือบ้านอีกรูปแบบหนึ่งที่มีเสน่ห์ในตัวของมันเอง และ มีข้อดีคือไม่ต้องคอยเดินขึ้นลงหลายชั้นให้เมื่อย เหมาะกับบ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วยเป็นอย่างยิ่ง

หรือถ้าหากภายในบ้านไม่มีผู้สูงอายุ การออกแบบ บ้านชั้นเดียว ก็สามารถเพิ่มลูกเล่นในเรื่องของพื้นที่ต่างระดับได้อีกเช่นเดียวกัน โดยไม่ต้องเพิ่มชั้นบนให้กับตัวบ้าน ทางเว็บ อบรมนายหน้าขายที่ดิน จึงคิดว่า บ้านชั้นเดียวจึงเป็นอีกหนึ่งการออกแบบที่สามารถเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ได้มากมาย

บ้านชั้นเดียว

หากพูดในเรื่องของความยุ่งยากในการออกแบบฟังก์ชั่นต่างๆ ของบ้าน บ้านชั้นเดียวถือว่ายากกว่าการสร้างบ้านสองหรือสามชั้นอยู่มาก เพราะบ้านที่มีสองชั้นขึ้นไปจะถูกแบ่งพื้นที่ส่วนตัว (Private) อย่างเช่น ห้องนอน ห้องทำงาน ฯลฯ ขึ้นไปอยู่ชั้นบน และออกแบบพื้นที่ห้องสาธารณะ (Plublic) และกึ่งสาธารณะ (Semi Plublic) อย่างน้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร ลงมาไว้ชั้นล่าง

แต่กับบ้านชั้นเดียว ทุกๆ zoning จะไม่มีการแบ่งชั้น และต้องได้รับการออกแบบที่ผ่านกระบวนการคิดมาเป็นอย่างดีไม่ให้ zoning ของแต่ละโซนส่งผลกระทบในแง่ลบต่อกัน อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงเส้นทางสัญจรไปมาภายในตัวบ้าน แสงแดด ทิศทางลม สภาพแวดล้อมภายนอกต่างๆ อีกด้วย ถือว่าการออกแบบบ้านชั้นเดียวให้สวยและลงตัวเรื่องของการอยู่อาศัยนั้นเป็นเรื่องท้าทายอีกอย่างหนึ่งในการออกแบบบ้านเลยทีเดียว

การจัดแบ่งพื้นที่ของบ้านสวยชั้นเดียวแบบง่ายๆ

อันดับแรกคือเราต้องเข้าใจเกี่ยวกับ zoning ต่างๆ ภายในตัวบ้านก่อน ซึ่ง zoning นั้นแบ่งได้ดังนี้

ส่วนสาธารณะ (Plublic)

คือ ส่วนที่ทุกคนในบ้านสามารถใช้ร่วมกันได้ งเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือน เช่น ห้องรับแขก เป็นต้น

ส่วนกึ่งสาธารณะ (SemiPlublic) หรือส่วนกึ่งๆ ของความเป็นส่วนตัว

ส่วนนี้เจ้าบ้านสามารถแชร์กับแขกผู้มาเยี่ยมบ้านได้ เช่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องน้ำ ซึ่งการออกแบบทั้งส่วน สาธารณะ (Plublic) และ ส่วนกึ่งสาธารณะ (SeminPlublic) ควรจะต้องอยู่ใกล้ๆ กัน สามารถเดินสัญจรไปมาหาหันได้

พื้นที่ส่วนตัว (Private)

คือส่วนที่เข้าถึงได้เฉพาะเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน ฯลฯ แขกที่มาเยี่ยมจะไม่สามารถเดินสัญจรเข้าสู่ห้องต่างๆ เหล่านี้ได้สะดวก การออกแบบส่วน Private จึงต้องทำให้สัญจรไม่ต่อเนื่องกับส่วนสาธารณะ

เราสามารถหาแบบบ้านตามอินเตอร์เน็ท แล้วเอามาใช้สร้างจริงทั้งหมดเลยได้ไหม ?

อย่างที่รู้ๆ กันดีว่า เพียงแค่เราเสริ์ชคำว่า แบบบ้าน, บ้านสวยชั้นเดียวฯลฯ google ก็จะแสดงผลการค้นหาแบบบ้านต่างๆ ขึ้นมาเป็นร้อยๆ แบบ ให้เราได้เลือกจนตาลาย แต่ถ้าจะมองกันลงไปให้ลึกขึ้นจริงๆ แบบบ้านที่เราคัดสรรแบบที่ถูกใจจากในอินเตอร์เน็ทมาแล้ว และต้องการจะนำมาใช้ปลูกสร้างบ้านของเราจริงๆ จะต้องมีการปรับจูนกันอีกมาก

เราไม่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด และบางแบบที่โชว์อยู่ในอินเตอร์เน็ทก็มีการออกแบบที่ไม่ถูกหลักเลยด้วยซ้ำก็ยังมี เช่น ออกแบบให้ห้องครัวติดกับห้องนอน หากลองนึกตามภาพความจริง ในเช้าวันหยุดที่เรากำลังพักผ่อนอย่างสบายๆ แต่แม่ครัวของบ้านกำลังตื่นเต่เช้ามาผัดกระเพราส่งกลิ่นฉุนแสบหูแสบตา คนที่เคราะห์ร้ายที่สุดในบ้านคงหนีไม่พ้นคนที่มีห้องนอนติดกับห้องครัว ถึงจะมีประตูมิดชิด แต่เชื่อเถอะว่ายังไงกลิ่นฉุนก็ยังมาเยือนอยู่ดี แล้วแบบนี้เราจะยังเลือกสร้างบ้านตามแบบบ้านในอินเตอร์เน็ททั้งหมดอยู่อีกหรือ

แบบบ้านต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในอินเตอร์เน็ทนั้นไม่ได้แปลว่าใช้ไม่ได้ มันไม่ดี แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะนำมาสร้างจริงกับบ้านของเราได้อย่างเหมาะเจาะทั้งหมด เราควรที่จะหามาดูเป็นไอเดียมากกว่าที่จะเชื่อในภาพ Perspective (แบบบ้านสามมิติ ที่มีการตกแต่งภาพ และการใส่บรรยากาศในภาพ เชิญชวนให้น่าดูน่าชม)

บ้านสวยชั้นเดียว ต้องหาแรงบันใจแล้วมาประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเอง

เหมาะกับตัวเองในที่นี้หมายถึง เหมาะกับไลฟ์สไตล์ พฤติกรรมการใช้งาน ผนวกกับทำเลที่ตั้งของบ้านเป็นหลัก เพราะข้อสำคัญที่สุดของการออกแบบบ้านคือ ถ้าการออกแบบบ้านชั้นเดียวไม่สัมพันธ์กับที่ดิน ก็คงไม่แคล้วต้องทุบทิ้งสร้างใหม่ เพราะฉะนั้นสู้ออกแบบบนแผ่นกระดาษมาให้ดี คิดอย่างรอบคอบเสียก่อนที่จะลงเสาเข็ม เทพื้น ตั้งเสา ต่อคานสร้างจริงจะดีกว่า

แนวทางการประยุกต์แบบบ้านสวยชั้นเดียวจากอินเตอร์เน็ท ให้ใช้ได้จริง

ต้องเข้าใจพื้นฐานการออกแบบบ้านอย่างคร่าวๆ

อาทิ การจัดวาง Zoning ที่ได้กล่าวถึงไปเมื่อต้นบทความนี้ รวมไปถึงเข้าใจทิศทางแดด ลมประจำฤดูประเทศไทย และทิศในการหันบ้าน เพราะทั้ง 3 อย่างนี้สัมพันธ์กันทั้งหมด เพื่อให้ได้บ้านโล่ง โปร่ง สบาย และเหมาะกับภูมิอากาศของประเทศไทย

เมื่อได้แบบบ้านสวยๆ ไม่ว่าจะชั้นเดียวหรือสองชั้น เจ้าของบ้านควรนำมาปรึกษาสถาปนิก หรือวิศวกร

เพื่อการออกแบบบ้านที่ลงตัว  ออกแบบโครงสร้างที่แข็งเรง และไม่เป็นการต้องทำให้งบประมาณบานปลายในอนาคต เพราะไม่ต้องคอยสร้างแล้วซ่อม สร้างแล้วรื้อ หรือสร้างแล้วต้องมาคอยทุบทิ้งเพราะก่อนสร้างบ้านชั้นเดียวนั้นได้ผ่านกระบวนการคิด การออกแบบ วางแผนมาเป็นอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง

พูดคุย บอกเล่าความต้องการในการสร้างบ้านกับบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

เช่น สถาปนิก วิศวกรผู้รับเหมาก่อสร้าง ให้ทราบเกี่ยวกับ ความต้องการทั้งการออกแบบและการสร้างบ้านให้มากที่สุด เข้าใจกันที่สุดทั้งในแง่ของการออกแบบ วัสดุในการก่อสร้าง ราคาในการดำเนินการระยะเวลาในการดำเนินงานก่อสร้างตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบงาน

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *