เรื่องความสวยงามไม่มีกฎตายตัว แต่อย่างน้อยทิปส์ง่าย ๆ โดยทีม อบรมนายหน้าอสังหา ในการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ จะช่วยให้ห้องของคุณออกมาสวยลงตัว อยู่สบาย และสอดคล้องกับไลฟ์ของตัวเอง
- โซนนิ่งที่ผิดพลาดก่อนจะจัดเฟอร์นิเจอร์ โดย อบรมนายหน้าอสังหา เราต้องจัดสรรพื้นที่ในบ้านก่อน ซึ่งไม่จำเป็นต้องตามแบบที่อินทีเรียวางไว้ทั้งหมด หากคุณชอบจัดห้องแบบโอเพ่นสเปชเพื่อจะได้มองเห็นกิจกรรมของสมาชิกในครอบครัวก็ทำได้ จะนั่งคุยไปดูทีวีกันไป แล้วยังมีพื้นที่ตั้งโต๊ะทำงานหรือทำการบ้านงานฝีมือของเด็ก ๆ ด้วย ทั้งหมดขึ้นอยู่ไลฟ์สไตล์และความสะดวกสบายของเราเป็นที่ตั้ง
- ห้องพักหรือเลนโบว์ลิ่งกันนะ !ห้องที่มีขนาดแคบและยาวถือเป็นหายนะของการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ แต่เรามีวิธีเล่นสนุกกับพื้นที่ที่น่าอึดอัดนี้ให้เกิดประโยชน์ได้ ด้วยการแบ่งห้องออกเป็นโซน ๆ เช่น จัดโซนนั่งเล่นไว้ด้านหน้าแล้วมีฉากกั้นสวย ๆ ถัดจากนั้นจัดเป็นโซนทำงานต่อด้วยฉากกั้นอีกลายเพื่อจัดโซนห้องนอน ข้อดีคือสามารถเปิด-ปิดฉากกั้นได้สะดวกเมื่อต้องการ
- คิดถึงแต่ฟังก์ชั่นเดียวยุคสมัยนี้จะเสียเงินทั้งทีต้องคุ้มค่า เมื่อจะเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์สักชิ้นก็ควรคิดถึงการใช้งานและกิจกรรมในบ้านด้วย เช่น สตูลที่สามารถใช้เป็นที่นั่งเวลาต้องรับแขกหลายคน สามารถเคลื่อนย้ายไปได้รอบวงสนทนา สุดท้ายยังรับเป็นโต๊ะวางชุดน้ำชา-กาแฟระหว่างปาร์ตี้กับเพื่อน ๆ ได้…นี่สีถึงจะเวิร์ก
- เตียงกับหน้าต่างตามฮวงจุ้ยว่าไม่ควรวางหัวเตียงไว้บริเวณหน้าต่าง แต่ถ้าคุณไม่แคร์เพราะอยากอาบแสงแดดยามเช้าก็ไม่เป็นไร ปัญหาคือเตียงมักจะใหญ่กว่ากรอบหน้าต่างจึงดูไม่ได้สัดส่วน เวลาคิดม่านควรเพิ่มความยาวของรางม่านให้มีขนาดเท่ากับหรือใหญ่กว่าเตียง เป็นฉากหลังที่เปลี่ยนตามลายผืนผ้าได้ด้วย
- พรมกับเฟอร์นิเจอร์ขี้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้ ถ้าแค่เติมสีสันให้ห้องดูอบอุ่นและนุ่มสบายเท้าก็ไม่จำเป็นต้องใช้ พรมผืนใหญ่ปูทั้งห้อง เช่น ในห้องนั่งเล่นอาจปูพรมที่ได้โต๊ะรับแขก โดยให้เหลือขยายพรมอย่างน้อย 1-2 คืบจากตัวโต๊ะ แต่หากปูพรม เพื่อช่วยป้องกันรอยขีดข่วนบนพื้นจากการเลื่อนเก้าอี้ไป-มา ก็ควรเลือกพรมให้กว้างพอที่จะรองรับขาเฟอร์นิเจอร์ได้ทั้งหมด
- โซฟาที่น่าเบื่อถ้าโซฟาเป็นสิ่งแรกที่มองเห็นเมื่อก้าวเข้ามาในห้อง แต่โซฟาของคุณใช้มานานจนกลายเป็นสิ่งที่ชินตา คงถึงเวลาเปลี่ยนลุค ถ้าไม่อยากเสียเงินหุ้มเบาะใหม่ก็แต่หาซื้อผ้าลายแจ่ม ๆ มาวางพาดบนพนัก แล้วยังเปลี่ยนลายใหม่ได้เมื่อต้องการ
- มองแล้วไม่เตะตาจะวางชุดโซฟาไว้ตรงไหนก็ควรมีจุดโฟกัสหรือจุดนำสายตา ไม่ว่าจะเป็นหน้าต่างหรือแชนเดอเลียร์กลางห้อง แต่ถ้าจุดวางโซฟาของคุณเป็นเพียงผนังว่างเปล่า วิธีง่าย ๆ ก็แค่แต่งผนังด้วยชั้นวางหนังสือ เพิ่มแเอ็กเซสซอรี่กิ๊บเก๋ไว้บนชั้นด้วย หรือจะทำเป็นผนังแกลเลอรีโดยมีงานศิลปะของคุณเป็นพระเอก (ถ้ามันเจ๋งจริง ๆ) รับรองว่ามุมนั้นจะดูเตะตาขึ้นมาทันที
- อย่าลืมการจราจรในบ้านต่อให้บ้านกว้างขนาดไหน หากนำเฟอร์นิเจอร์ขึ้นใหญ่มาวางชิดก็หมดก็คงรู้สึกอึดอัดคับแคบไปถนัดตา ทางที่ดีควรเว้นที่ว่างไว้ให้เดินเข้า-ออกได้สะดวก จะได้ไม่ต้องเต้นแทงโก้สับพลิกกับไปมา ส่วนประตูและเฟอร์นิเจอร์ที่มีลิ้นชักก็ต้องคิดถึงพื้นที่ว่าง เมื่อต้องใช้งานด้วย
- ไซส์ไม่ใช่ก็ต้องเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ที่สวยโดนใจ แต่ขนาดไม่พอดีกับการใช้งาน อาจทำให้ชีวิตยุ่งยาก ยิ่งเป็นห้องเล็ก ๆ ยิ่งไม่ควรมองข้ามเฟอร์นิเจอร์ไซส์เล็กด้วยกัน อย่างเช่น โต๊ะคอนโซลทรงเพรียวและที่นั่งปลายเท้าขนาดกะทัดรัดในห้องนอนซึ่งซ่อนที่เก็บของไว้ในตัว และบ่อยครั้งที่โซฟาขนาดใหญ่มักจะจนอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของห้อง แต่โซฟาเล็ก ๆ กลับตอบโจทย์ชีวิตได้มากกว่าเพราะเคลื่อนย้ายสะดวก ใช้งานได้หลากหลาย เหมาะกับพื้นที่แบบมัสติฟังก์ชั่นได้อย่างลงตัว
- ชิดผนังไว้ก่อนเป็นดี จริงเหรอ ?ถ้าคิดแบบนี้พลาดแน่ ๆโดย นายหน้าคอนโด การผลักเฟอร์นิเจอร์ไปไว้ด้านใดด้านหนึ่งของห้องก็เหมือนการเล่นกระดานหกเพียงลำพัง จะไปสนุกอะไรล่ะ ต้องกล้าที่จะเปลี่ยน ลองขยับชุดรับแขกมาไว้ตรงกลางห้องบ้าง จะลุก นั่ง เดินก็สะดวก ไม่ว่ามาจากมุมไหน มีโต๊ะข้างให้ทุกที่นั่งวางเครื่องดื่มได้สบาย ๆโดยที่ทีม นายหน้าคอนโด หากติดตั้งทีวีไว้ด้วยหรืออยู่ใกล้กับโต๊ะกินอาหาร ยิ่งทำให้พื้นที่สนทนาของครอบครัวอบอุ่นขึ้น
อบรมนายหน้าอสังหา
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *