เว็บ อบรมนายหน้าอสังหาฟรี แนะนำ ดอกไม้เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่สื่อถึงพลังในทางตำราศาสตร์ฮวงจุ้ย ซึ่งดอกไม้แต่ละชนิดก็ส่งเสริมพลังและให้พลังที่แตกต่างกัน
โดยเฉพาะดอกไม้สดนั้นส่งเสริมพลังที่แข็งแรงและส่งเสริมความร่ำรวยให้กับบ้าน ในวันนี้ เว็บ อบรมนายหน้าอสังหาฟรี จะมาแนะนำ ดอกไม้ 6 ชนิดที่ให้พลังแตกต่างกัน
1.ซากุระ เป็นดอกไม้ที่สื่อถึงการเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ความสดชื่น ความไร้เดียงสา ส่วนใหญ่ดอกซากุระจะนำมาใช้ในเชิงสัญลักษณ์สื่อความหมายเรื่องความรัก ชีวิตคู่ นอกจากนี้ยังมีความหมายในเรื่องสุขภาพอีกด้วย
2.เบญจมาศ เป็นดอกไม้ที่สะท้อนเรื่องความสมดุล ทั้งยังเป็นดอกไม้ที่จะนำความโชคดีมาให้กับบ้านหากคุณนำดอกไม้นี้มาตกแต่งในบ้าน
3.โบตั๋น เป็นดอกไม้ที่สวยงามและมีกลิ่นหอม ตามศาสตร์ฮวงจุ้ยดอกโบตั๋นส่งเสริมเรื่องความรักและความโรแมนติกโดยเฉพาะโบตั๋นสีชมพู แต่ซินแสบางคนจะแนะนำว่าไม่ควรติดภาพดอกโบตั๋นไว้ในห้องนอนของคู่รักที่ใช้ชีวิตคู่กันมานานแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาชู้สาว
4.นาร์ซิสซัส ตามศาสตร์ฮวงจุ้ยแล้วดอกไม้ประเภทนี้คือดอกไม้ที่ให้พลังเรื่องการงานและอาชีพ รวมไปถึงเรื่องความฉลาดหลักแหลม ดอกสีขาวมักถูกนำมาใช้บ่อยในเรื่องอาชีพ ดอกสีเหลืองก็เช่นกัน
5.บัว ดอกไม้ที่สื่อถึงความสมบูรณ์แบบ ทางการแพทย์แผนไทยส่วนประกอบต่างๆ ของบัวสามารถนำมาใช้ทำยาได้ทุกส่วนตั้งแต่รากจนถึงกลีบดอกหรือแม้แต่เกสร ดังนั้นตามหลักฮวงจุ้ยดอกบัวจึงสะท้อนถึงเรื่องสุขภาพ ความแข็งแรงและความกลมกลืน
6.กล้วยไม้ สัญลักษณ์ที่หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่งแห่งชีวิต รวมไปถึงการเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ สำหรับการนำดอกกล้วยไม้มาตกแต่งบ้านนั้นเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากของชาวตะวันตก
ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้สดหรือดอกไม้พลาสติกและดอกไม้ในสวนหรือซื้อมาจากร้านขายดอกไม้ ดอกไม้นั้นจะนำพาพลังชี่มาให้บ้านของคุณ
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *