ของแต่งบ้าน : ผ่านพ้นช่วงเทศกาลตรุษจีนกันมาหมาดๆ หลายๆบ้านก็คงมีการทำความสะอาดบ้านกันยกใหญ่เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและต้อนรับสิ่งดีดีตลอดปี นี้ใช่มั้ยครับ บางบ้านก็จัดบ้านใหม่ตามหลักฮวงจุ้ย แต่บางบ้านก็แค่อยากหาของตกแต่งเสริมดวง เสริมเฮงให้คนในบ้านก็พอโดยทีมงาน เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ และวันนี้ผมก็มีไอเดียของมงคลสำหรับตกแต่งบ้านมาแบ่งปันครับ นอกจากจะช่วยตกแต่งบ้านให้สวยงามแล้ว ยังเป็นของมงคลตามหลักฮวงจุ้ยอีกด้วย มีอะไรบ้าง มาดูกันครับของแต่งบ้าน ทุกชิ้นมีเรื่องราว….มิใช่เพียงวางประดับตกแต่งให้สวยเท่านั้นแต่ยังสร้างความน่าสนใจให้กับพื้นที่ภายในบ้านได้อีกด้วย จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับการ เลือกของแต่งบ้านตามหลักฮวงจุ้ยมาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ ลองไปดูกันนะคะว่ามีของตกแต่งอะไรที่เป็นมงคลบ้าง
ผลส้ม
ส้ม : อาจจะเป็นรูปภาพหรือผลส้มปลอมที่มีขายทั่วไป โดยนำผลส้มมาใส่ไว้ในตะกร้าเพื่อโชว์ อีกทั้งยังให้โชคลาภแก่คนในบ้าน ควรวางผลส้มเป็นเลขคู่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เพื่อนๆ และคนในครอบครัว
โต๊ะกลม
โต๊ะ : ควรเลือกใช้โต๊ะทรงกลม แบบหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยม เพื่อเสริมมงคลแก่บ้าน ช่วยดึงดูดความเจริญเข้ามาในบ้าน และช่วยขจัดความชั่วร้ายออกไปทางอื่น แต่ถ้าที่บ้านมีโต๊ะเหลี่ยมก็ควรเลือกที่ขอบโต๊ะมีความมน เพราะเชื่อว่ามุมเหลี่ยมของโต๊ะนั้นจะสะท้อนความดีออกไปนั่นเอง
ของแต่งบ้านรูปหมู
ของแต่งบ้านรูปหมู : เชื่อว่าของตกแต่งบ้านรูปหมูจะช่วยเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ ทั้งด้านทรัพยากรอาหารการกินและเงินทอง
ของแต่งบ้านรูปช้าง
ของแต่งบ้านรูปช้าง : นอกจากจะแสดงถึงความยิ่งใหญ่และเเข็งแรงแล้ว สัญลักษณ์ของช้างยังสื่อให้เห็นถึงความฉลาดทางปัญญา และเต็มไปด้วยโชค ควรตั้งรูปปั้นช้างหรือรูปภาพช้างไว้ที่ห้องรับแขก เพื่อเป็นการรับโชคตลอดเวลา และห้ามหันหน้าช้างออกหน้าประตูบ้านเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าจะเกิดความวุ่นวาย และความขัดเเย้งอย่างใหญ่หลวงเหมือนตัวช้างนั่นเอง
พัด
พัด : หากนำพัดมาตกแต่งบ้าน เชื่อว่าจะช่วยให้บ้านร่มเย็นเป็นสุข และครอบครัวของคุณก็จะได้รับข่าวดีอยู่เสมอ คนในครอบครัวอยู่กันอย่างไม่ทุกข์ร้อน
เต่า
เต่า : นำรูปปั้นเต่าวางไว้ในห้องหรือมุมบ้าน เชื่อว่าจะส่งผลให้คนในบ้านมีอายุยืน มีสุขภาพแข็งแรง แต่ห้ามตั้งไว้ที่ห้องทำงาน เพราะจะทำให้การทำงานแต่ละอย่างของคุณใช้เวลานานและเชื่องช้า
ไก่
ไก่ : นำตุ๊กตาหรือรูปปั้นไก่มาวางไว้ในบ้าน เชื่อว่าจะเป็นตัวเรียกเงิน และโชคลาภให้วิ่งเข้ามาหาคนในครอบครัวรวมทั้งตัวเพื่อนๆ เองด้วย
รูปปั้น ตุ๊กตาไก่มงคล
เนื่องจากปีนี้เป็นปีระกา ตุ๊กตาไก่หรือรูปปั้นไก่ จึงเป็นของมงคลลำดับแรกๆที่คนนึกถึง ชาวจีนเชื่อว่า ไก่ คือสัญลักษณ์ของความภักดี ความขยัน และความมีเมตตา และตามหลักโหราศาสตร์แล้วไก่ถือว่าเป็นธาตุทอง ฉะนั้นตุ๊กตาไก่ทองจึงได้รับความนิยมและเป็นของมงคลที่หาง่ายและความหมายดีในปีนี้เลยครับ
โคมไฟสีแดง
โคมไฟแดงก็เป็นหนึ่งในของตกแต่งมงคลยอดนิยมครับ เพราะนอกจากโคมไฟจะหมายถึงความสว่างไสวโชติช่วงแล้ว คนจีนส่วนใหญ่ยังนิยมนำโคมไฟสีแดงมาแขวนที่หน้าประตูทางเข้าออก เพราะเชื่อว่าจะช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากบ้านอีกด้วยครับ
กระดิ่งลม
นอกจากเสียง กรุ๊งกริ๊งจะช่วยเพิ่มพลังความสดใส และเสริมความชีวิตชีวาในบ้านแล้ว กระดิ่งลมยังปรับสมดุลของพลังซี แก้จุดอับเคราะห์และปรับการไหลเวียนแห่งการเงิน เพิ่มโชคลาภเงินทองอีกด้วยนะครับ
ลูกแก้วคริสตัล
ในทางฮวงจุ้ยการติดลูกแก้วคริสตัลไว้ในบ้านจะช่วยกระจายพลังงานที่ดีให้ไหลเวียนเข้าบ้าน
ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล เสริมพลังมงคลให้กับบ้าน นอกจากนี้ยังเป็นของมงคลประดับตกแต่งบ้านและยังใช้กระจายหรือสลายหรือพลังงานที่ร้าย ไม่ให้เข้ามาใกล้ในเชิงสัญลักษณ์ได้อีกด้วยครับ บางบ้านก็นิยมใช้เป็นลูกโลกเพราะเชื่อว่าทำให้กว้างไกล โดยเฉพาะการค้าสู่ต่างแดน
ตู้ปลา
หากคุณเป็นคนรักสัตว์ การมีตู้ปลาหรืออ่างเลี้ยงปลาไว้ในบ้านจะช่วยเสริมให้บ้านเกิดความสดชื่นร่มเย็น ให้พลังแก่จิตวิญญาณช่วยเรียกโชคลาภเงินทองและก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ในบ้าน ชาวจีนยังเชื่อว่าตู้ปลาช่วยแก้ไขความหยุดนิ่งและแห้งแล้งได้ด้วยครับ
เทียน
เทียนนอกจากจะช่วยเรื่องความสว่างไสวแล้ว เชื่อกันว่าเทียนจะนำมาซึ่งพลังงานด้านบวกและทำให้คุณได้พบเจอแต่คนดีๆครับ โทนสีที่นิยมใช้มี 3 สี คือ โทนสีฟ้า โทนสีเหลือง และ โทนสีแดง ซึ่งแต่ละสีจะช่วยเสริมมงคลภายในบ้านครับ สีฟ้า เชื่อว่าช่วยเรื่องความร่มเย็นเป็นสุข สีเหลืองช่วยเรื่องความอุดมสมบูรณ์ และสีแดงช่วยเรื่องความรัก ความปรองดองของคนในบ้านครับ
ภาพมงคล
ชาวจีนส่วนใหญ่จะนิยมนำภาพมงคลมาใช้ตกแต่งตามประตูบ้าน หรือผนังบ้านโดยเฉพาะรูปของเทพเจ้า หรือบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ เพราะเชื่อว่าจะนำความเจริญรุ่งเรือง มั่งมีศรีสุข และช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้านได้ครับ
กระดาษฟู
กระดาษฟูเป็นกระดาษสีแดง มีอักษรจีนคำว่าฟู (福) ตรงกลางกระดาษ คำว่าฟูในภาษาจีนหมายถึง สิริมงคล มีโชคลาภ การนำกระดาษฟูมาประดับบ้านให้ห้อยไว้เหนือประตู โดยห้อยให้อักษรกลับหัว ก็เพื่อเป็นการเทโชคเข้าสู่บ้านและเรียกความสุขมาให้แก่คนในบ้านนั่นเองครับ
เครื่องหอม กลิ่นหอมต่างๆ
การทำบ้านให้หอมด้วยเครื่องหอมกลิ่นอโรมา หรือกลิ่นดอกไม้สด นอกจากจะทำให้รู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวาแล้ว ยังช่วยเสริมพลังบวกให้กับบ้านและช่วยผ่อนคลายความเครียดให้กับคนในบ้านอีกด้วยครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พอจะได้ไอเดียสำหรับบ้านของคุณแล้วหรือยัง แต่นอกจากของมงคลที่เราหามาตกแต่งเพื่อเสริมดวงต่างๆแล้ว ความสะอาดและการจัดบ้านให้เป็นระเบียบร้อย ก็เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะช่วยเสริมฮวงจุ้ยให้บ้านของคุณเฮงได้ตลอดปีเหมือนกันนะครับ และบ้าน ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัยแต่คือพื้นที่ที่เราใช้พักผ่อนและเติมพลังให้ชีวิต “สถาปัตยกรรม” ฉบับนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกและอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเรือนพื้นถิ่นและการปลูกสวนป่า มาพูดคุยกันถึงเรื่อง “สภาวะสบาย” ซึ่งหาได้จากธรรมชาติรอบๆ ตัว ด้วยการออกแบบที่ยั่งยืนเพื่อให้เกิดความรู้สึกสบาย มีสุขภาพที่ดีซึ่งทีมงาน เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ ได้เสนอว่าเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติไปพร้อมกัน นอกจากนี้เรายังได้รวบรวมตัวอย่างการออกแบบที่เอื้อต่อการสร้างสภาวะสบายมาให้คุณผู้อ่านนำไปเป็นแรงบันดาลใจในการทำบ้านให้ “สบาย” อย่างที่ใจต้องการอีกด้วย แต่ก่อนจะไปอ่านบทสัมภาษณ์หลายคนอาจสงสัยว่า สภาวะสบาย คืออะไร เราไปทำความรู้จักคำนี้กันก่อนดีกว่าครับ“สภาวะสบาย” คืออะไร
สภาวะสบาย (Comfort Zone) อธิบายได้ง่ายๆ ว่า เป็นช่วงอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่ทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกสบาย ซึ่งมีปัจจัยหลักดังนี้
1. อุณหภูมิ
2. ความชื้นสัมพัทธ์
3. ความเร็วลมที่มาปะทะตัวเรา
4. การแผ่ความร้อนจากสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม สภาวะสบายในแต่ละฤดูและแต่ละภูมิภาคก็แตกต่างกันไปในรายละเอียด โดยสภาวะสบายในประเทศไทยจะอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 24 – 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ที่ประมาณ 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ และความเร็วลมที่ 0.2 – 1.0 m/s1
ก่อนจะพูดถึงสภาวะสบายให้ละเอียดกว่านี้ เรามาว่ากันถึงปัจจัยหลักของสภาวะสบายกันก่อน เชื่อว่าทุกคนคงคุ้นเคยกับคำว่าอุณหภูมิอยู่แล้ว เรียกง่ายๆ ว่าเป็นค่าเฉลี่ยที่ใช้วัดความร้อนหรือความเย็นนั่นเอง แต่คำว่าความชื้นสัมพัทธ์ นอกจากจะได้ยินบ่อยๆ ในการรายงานพยากรณ์อากาศแล้ว หลายคนก็อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าคืออะไร
ความชื้นสัมพัทธ์ก็คือ หน่วยวัดความชื้นในอากาศนั่นเอง โดยวัดจากอัตราส่วนของไอน้ำที่อากาศในช่วงอุณหภูมินั้นยังรับได้ ไม่เกิดเป็นหยดน้ำไปเสียก่อน (เพราะในแต่ละช่วงอุณหภูมินั้น อากาศมีความสามารถในการรับไอน้ำไว้ได้ไม่เท่ากัน) สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกับเราทั้งสิ้น เช่น หากมีความชื้นสัมพัทธ์มากเกินไป แม้เราจะรู้สึกร้อนแต่เหงื่อกลับไม่ออก (เหมือนเวลาอยู่ในป่าเขตร้อน) ในทางกลับกัน เมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยเกินไป เราอาจผิวแห้งและปากแตกได้ หรือทำไมเราจึงมักรู้สึกไม่สบายตัวในเวลาที่ฝนใกล้จะตก ทั้งที่อากาศก็ไม่ร้อน คำตอบคือ ความชื้นในอากาศมีสูงเกินสภาวะสบายของเราและลมยังนิ่งไม่พัดผ่านตัวเรา หรือทำไมเราถึงรู้สึกเหนียวตัวเวลาอยู่ใกล้ทะเล ทั้งที่ลมก็พัดอยู่เรื่อยๆ คำตอบก็คือ อุณหภูมิและความชื้นในอากาศสูงเกินไป รวมทั้งลมที่แรงยังนำพาความร้อนมาสู่ตัวเราอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากแรงลม ความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิที่ไม่ได้อยู่ในช่วงของสภาวะสบายทั้งสิ้น
จากที่ทีมงาน นายหน้าอสังหา ได้ให้ความรู้เบื้องต้นนี้สามารถนำมาปรับใช้กับพื้นที่ของเราได้ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกอาคาร เพราะประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น แนวทางหลักของเราจึงเป็นการพยายามลดอุณหภูมิลดด้วยทีมงาน นายหน้าอสังหา และรวมถึงเพิ่มโอกาสในการรับลม เช่น ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มร่มเงา การลดอุณหภูมิพื้นที่ การปล่อยให้ลมพัดผ่านเพื่อนำพาความชื้นส่วนเกินออกจากพื้นที่ การออกแบบอาคารให้มีชายคายื่นยาว การทำระแนงบังแดด การออกแบบจัดวางอาคารหรือการออกแบบช่องเปิดเพื่อรับลม นอกจากนี้การใช้ธรรมชาติรอบๆ ตัวให้เป็นประโยชน์ก็ช่วยสร้างสภาวะสบายได้เช่นกัน อย่างการเพิ่มความชื้นในอากาศด้วยไอน้ำที่ต้นไม้คายออกมา หรือการใช้แผ่นปูทางเดินอิฐดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี เมื่อลมที่อยู่ในแนวเดียวกับพื้นที่เหล่านี้พัดผ่านมา ก็จะกลายเป็นลมเย็นๆ ขณะเดียวกันแสงแดดและการถ่ายเทอากาศก็ช่วยจัดการความชื้นให้อยู่ในระดับที่พอดีตามสภาวะสบายได้เช่นเดียวกัน ในทางกลับกันสำหรับพื้นที่ซึ่งมีลมแรงเกินไป การสร้างแนวต้นไม้ เช่น ไผ่ ก็เป็นการลดความแรงลมให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดีทำให้รู้สึกสบายได้นั่นเอง
เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *