นายหน้าขายบ้าน เทคนิคการเลือกประตูอย่างไร ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์บ้าน

นายหน้าขายบ้าน เทคนิคการเลือกประตูอย่างไร ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์บ้าน

ประตู และ ช่องประตู คือทางที่นำผู้ใช้งานเข้า-ออกระหว่างภายนอกและภายในตัวอาคาร นายหน้าขายบ้าน หรือระหว่างพื้นที่ซึ่งถูกแบ่งด้วยผนัง จึงมักได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ใช้สอย หรือความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกันไป

ดังนั้นชนิดของประตู หรือ แบบประตู จึงแบ่งออกได้หลายลักษณะหลักๆ นายหน้าขายบ้าน ได้แก่ อะไรบ้างนั้นและจะสามารถเข้ากับไลฟ์ไสตล์การใช้งานของบ้านเราได้มากน้อยแค่ไหนมาดูกันคะ..

นายหน้าขายบ้านประตูบานพับ (HINGED DOOR)

หากพูดถึงประตู ประเภทประตูที่คนมักจะนึกถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้น ประตูแบบบานพับ (Hinged Door) ที่พบเห็นได้โดยทั่วไป ประตูบานพับคือประตูที่ใช้การผลักและดึงในการเปิด-ปิดเพื่อเดินผ่านเข้า-ออก จึงต้องการพื้นที่โดยรอบในการหมุน
โดยปกติจะใช้อุปกรณ์บานพับยึดเป็นจุดหมุนในการเปิดติดตั้งไว้ในบังใบข้างใดข้างหนึ่งของวงกบ ซึ่งจะทำให้หมุนเปิด-ปิดได้ข้างเดียว (90 องศา) แต่ก็สามารถใช้บานพับบางชนิดที่ใช้กับวงกบคู่ไม่มีบังใบ จะทำให้ประตูสามารถหมุนเปิดรอบแกนได้สองด้าน (180 องศา)

ประตูบานเลื่อน (SLIDING DOOR)

ประตูบานเลื่อน เป็นประตูอีกประเภทที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากสามารถช่วยแก้ปัญหาการใช้พื้นที่ของประตูบานพับแบบปกติได้ดี ประตูบานเลื่อนจะทำหน้าที่เป็นหนึ่งเดียวกับผนัง จึงนิยมทำเป็นกระจกด้วยเมื่อต้องการให้ผนังด้านนั้นๆ รับแสงสว่างและบรรยากาศภายนอก และเนื่องจากประตูบานเลื่อนใช้พื้นที่ในการเปิด-ปิดน้อย จึงนิยมนำมาใช้เป็นผนังกั้นพื้นที่ใช้งานต่างๆ ในตัวบ้านเองอีกด้วย

ประตูบานเฟี้ยม (FOLDING DOOR)

บานเฟี้ยม (FOLDING DOORS หรือ FOLDING PARTITION) หมายถึง ประตูบานพับ ที่มีลักษณะเป็นบานแคบๆ นำมาต่อกัน ยึดไว้ด้วยรางทั้งข้างบนและข้างล่างของประตู ทำให้สามารถพับเก็บไว้ฝั่งหนึ่งหรือแบ่งเป็นสองฝั่งก็ได้ ช่วยให้ประหยัดพื้นที่และยังเป็นการจัดการห้องต่างๆ ภายในบ้านให้มีความยืดหยุ่นอีกด้วย ซึ่งเราก็มักคุ้นตาภาพประตูบานเฟี้ยมกับบ้านไม้โบราณ หรือห้องแถว ที่ด้านล่างเป็นบานปิดทึบเพื่อกันฝนสาด และด้านบนที่ทำเป็นบานเกล็ดเพื่อช่วยในการระบายอากาศและความร้อน ซึ่งในปัจจุบันบานเฟี้ยมถูกประยุกต์ให้สามารถเข้ากันกับบ้านแบบโมเดิร์น จึงเป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้นและแพร่หลาย

ประตูบานม้วน (SHUTTER DOOR)

ประตูบานม้วน ผลิตขึ้นจากระแนงโลหะหลาย ๆ ชิ้น นำมาเรียงต่อกันในแนวนอน นิยมใช้เหล็กและอะลูมิเนียม โดยยึดขัดประสานกันเพื่อให้ม้วนพับได้ ให้เลื่อนขึ้นเลื่อน-ลงตามแนวรางที่ยึดอยู่ด้านข้างของช่องเปิด โดยมีแกนหมุนอยู่ด้านบนช่องเปิด
ประตูบานม้วนสามารถมีขนาดสูงได้ถึง 7.315 เมตร และมีความกว้างได้ถึง 9.755 เมตร จึงเหมาะสำหรับใช้กับอาคารที่มีช่วงเสาที่กว้างไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่

ประตูบานหมุน (PIVOT DOOR)

ประตูบานหมุน หมายถึง ประตูที่มีจุดหมุนอยู่ตรงกลาง ประตูชนิดนี้เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการให้ประตูทำหน้าที่เป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ไปในตัว เนื่องจากประตูบานหมุนสามารถมีความกว้างได้มากถึง 2 เมตร ใช้หน้าบานเพียงบานเดียวโดยไม่แบ่งบาน
ในกรณีที่บานมีขนาดใหญ่ จุดหมุนกลางบานจำเป็นต้องใช้จุดหมุนฝังพื้นแบบพิเศษ (Heavy-Duty Floor Pivot) ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้จะเป็นจุดหมุนสำหรับบานประตูโดยเฉพาะที่รับน้ำหนักได้ถึง 300 กิโลกรัม แต่เนื่องจากตัวอุปกรณ์ไม่ใช่โช๊คอัพ เป็นแค่จุดหมุน จึงไม่สามารถตั้งบานค้างไว้เองได้ ซึ่งหากจะเปิดบานตั้งค้างไว้เพื่อรับลมจะต้องมีอุปกรณ์ล็อคบานกับพื้นเสริมเข้าไปด้วยอย่างโช๊คอัพฝังพื้น (Floor Spring) แบบตั้งค้าง 90 องศา แต่หมุนได้รอบ 360 องศา ให้สะดวกต่อการใช้งาน

ประตูเหล็กยืด (RETRACTABLE GRILL DOOR)

ประตูเหล็กยืด เป็นประตูเหล็กที่สามารถยืดและเก็บไปได้สุดผนัง นิยมใช้กับบ้านประเภททาวน์เฮ้าส์, โรงงาน, ประตูลิฟต์ขนของ ด้วยคุณสมบัติของประตูเหล็กยืดทำให้เหมาะกับอาคารที่ต้องการให้พื้นที่ภายในและภายนอกเชื่อมต่อกันเสมือนพื้นที่เดียวกัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติเดียวกับประตูบานเฟี้ยม แต่ต่างกันตรงที่ประตูเหล็กยืดไม่สามารถกรุกระจกเพื่อกั้นความเย็นจากเครื่องปรับอากาศได้
ดังนั้นจึงพบเห็นประตูเหล็กยืดอยู่บริเวณหน้าอาคารที่ทำการค้า หรือหน้าบ้านที่เมื่อเปิดประตูจะเชื่อมต่อภายในอาคารที่มีลักษณะโอเพ่นแอร์เช่นเดียวกับพื้นที่นอกอาคาร ประตูเหล็กยืดสามารถสั่งทำตามขนาดที่ต้องการได้และมีส่วนประกอบดังนี้ ได้แก่ ตัวประตูเหล็กยืด, รางบนสำหรับประตูเหล็กยืด, รางล่างสำหรับประตูเหล็กยืด, ฉากข้างสำหรับประตูเหล็กยืด, ล้อก้านประตูเหล็กยืด, กุญแจก้านยกสำหรับประตูเหล็กยืด, มือจับสำหรับประตูเหล็กยืด และหูช้างสำหรับประตูเหล็กยืด

เพียงเท่านี้ก็จะสามารถเลือกประตูที่มีลักษณะการใช้งาเข้ากับบ้านของเราได้พอดีแล้ว อย่าลืมนำเอาคำแนะนำของแอดมิน ตัวแทนขายบ้าน ไปปรับใช้กันนะคะ

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *