“ฝ้าเพดาน” เป็นอีกประเด็น ที่แอดมิน นายหน้าขายบ้าน คิดว่ามักไถ่ถามและถกเถียงกันบ่อยครั้ง ถึงระยะความสูงจากพื้นบ้านสู่ฝ้าเพดาน สูงเท่าไหร่กันถึงจะดี ? บ้างก็ให้คำตอบว่า 2.6 เมตรก็เพียงพอแล้ว บ้างก็ให้คำตอบว่า ต้องสูง 3 เมตรหรือสูงกว่านี้ยิ่งดี นับว่าเป็นประเด็นที่มีคำตอบอย่างหลากหลาย เช่นกัน
แอดมิน นายหน้าขายบ้าน จึงขอแนะนำข้อมูลไว้เป็นตัวเลือกในการพิจารณาออกแบบฝ้า เพื่อให้การอยู่อาศัยเหมาะสมลงตัวมากยิ่งขึ้น
หากให้ตอบแบบชัด ๆ ฟันธงเป็นตัวเลข คงไม่สามารถตอบได้
เนื่องด้วยระดับฝ้าเพดานที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยเสริมอื่น ๆ อาทิ ความกว้างของห้อง , ลักษณะพื้นที่ในการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ห้องมีความกว้างมากแต่ฝ้าเพดานต่ำ ผู้อยู่อาศัยภายในห้องดังกล่าวจะรู้สึกอึดอัดเหมือนกำลังถูกกดทับ เราจะสังเกตได้ว่า ห้องประชุม ห้องทำงาน หรือสถานที่กิจกรรมสาธารณะ นิยมออกแบบให้ฝ้าเพดานสูงกว่าปกติมาก ส่วนห้องที่เล็ก แคบ หากปรับให้ฝ้าเพดานสูงเกินไป ห้องจะดูสูงโลด แปลกตา
สำหรับบ้านเรือนทั่วไปความสูงมาตรฐานที่นิยมใช้กันประมาณ 2.5-2.8 เมตร หรือหากชอบโปร่งหน่อยประมาณ 2.8 – 3.2 เมตร เว้นแต่ห้องที่ต้องการความสูงเป็นพิเศษอาจเลือกระดับความสูงมากกว่านี้
คิดทบทวนอีกครั้ง ก่อนออกแบบฝ้าสูง
อย่างที่ทราบกันเบื้องต้นแล้วว่า ฝ้าเพดานสูง หากอยู่ภายในห้องที่เหมาะสมช่วยทำให้บ้านดูโปร่ง ห้องรับแขกบางบ้านเลือกที่จะเปิดโปร่งด้วยการออกแบบในลักษณะ Double Space ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกสบาย นั่งได้ยาวนานกว่าปกติ แต่ข้อดีของความโปร่งสบายนั้นต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบกับพื้นที่บางส่วน ดังนี้
• ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างผนัง
เมื่อฝ้าเพดานสูงขึ้น การทำผนังต้องสูงขึ้นตาม นั่นหมายถึงค่าอิฐ ปูนก่อ ปูนฉาบ ค่าแรงย่อมสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังส่งผลให้น้ำหนักมากขึ้น ค่าโครงสร้างย่อมสูงขึ้นตามเช่นกัน
• ค่าใช้จ่ายประตู หน้าต่าง
เมื่อฝ้าเพดานสูงขึ้นมาก หากเลือกใช้ประตูหน้าต่างขนาดมาตรฐาน อาจจะทำให้ดูไม่สมส่วนกัน บ้านที่มีเพดานสูงจึงจำเป็นต้องเปิดช่องประตู ช่องหน้าต่างให้สูงตาม และบานประตูหน้าต่างที่สูงปกติไม่มีขายทั่วไป จำเป็นต้องสั่งทำขนาดพิเศษขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าขนาดมาตรฐานทั่วไปครับ
• เปลืองพื้นที่บันได
กรณีบ้าน 2 ชั้นขึ้นไป ยิ่งออกแบบห้องให้สูงมากเท่าไหร่ ยิ่งเปลืองพื้นที่สำหรับบันไดบ้านมากขึ้นเท่านั้น เพราะยิ่งระดับความสูงมากขึ้น จำนวนขั้นบันไดมากขึ้น จึงต้องใช้พื้นที่ของลูกบันไดมากขึ้นตามอัตโนมัติ
• เปลืองค่าไฟแอร์ และค่าไฟแสงสว่าง
ลักษณะฝ้าเพดานสูงช่วยให้เกิดความปลอดโปร่ง ในวันที่อากาศดี ๆ อาจไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ เพียงแค่เปิดพัดลมก็สามารถสบายกายได้ แต่หากเป็นบ้านในลักษณะปิด ไม่ค่อยเปิดหน้าต่าง ไม่มีช่องลมให้อากาศท่ายเท ห้องลักษณะนี้จำเป็นต้องเปิดแอร์ เมื่อพื้นที่เยอะขึ้น เครื่องปรับอากาศย่อมทำงานหนักขึ้น ค่าไฟจึงขึ้นตาม
ในด้านแสงสว่าง ฝ้าที่สูงหลอดไฟทั่วไปอาจให้กำลังแสงสว่างไม่เพียงพอ จำเป็นต้องเลือกหลอดไฟที่มีค่าวัตต์สูงขึ้นครับ
• ห้องอาจดูเวิ้งว้าง
กรณีห้องแคบ โถงทางเดินที่แคบ หากออกแบบให้ฝ้าเพดานสูง อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกอึดอัดแทนที่จะได้ความโปร่งสบาย เนื่องด้วยขนาดที่ไม่ได้สัดส่วนกันจะเป็นผลให้ห้องดูแคบมากกว่าเดิมได้
• ซ่อมแซมได้ยาก
กรณีหลอดไฟเสีย หรือต้องการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ที่ติดตั้งไว้บริเวณฝ้าเพดาน หากสูงมากจะยากต่อการบำรุงรักษา
หากฝ้าเพดานต่ำ แก้ได้อย่างไร
สำหรับบ้านที่ไม่ได้ออกแบบมาให้มีฝ้าเพดานสูง แต่อยากได้ความรู้สึกโปร่งสบายเช่นเดียวกับฝ้าสูง ไม่ต้องกังวลไปนะครับ ปิดท้ายเนื้อหาชุดนี้นำเทคนิคการทำห้องให้ดูโปร่งขึ้นได้ด้วยการออกแบบให้ดูสูงโปร่งขึ้น
• เพิ่มมิติให้กับฝ้าเพดานไม่ให้ดูเรียบ ช่วยให้ฝ้าดูลึกกว่าปกติ
• เปิดช่องแสงให้มากขึ้น ช่องแสงที่เยอะช่วยให้สายตาผู้อยู่อาศัยมองไปภายนอก อีกทั้งยังเพิ่มความสว่าง เพิ่มอากาศถ่ายเทให้กับห้องอีกด้วย
• เลือกใช้ผ้าม่านที่ดูสูงโปร่ง หรือผ้าม่านขาวบาง
• ทาสีสว่างหรือติดวอลเปเปอร์ลายแนวตั้งให้กับผนังห้อง
• รื้อฝ้าเพดานออก เป็นตัวเลือกที่เหมาะกับบ้านเท่ ๆ ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะบ้านที่มี 2 ชั้นขึ้นไป ชั้นล่างของบ้านจะมีพื้นที่ใต้ท้องคานประมาณ 20 – 30 ซม. สามารถเลือกที่จะไม่ทำฝ้าเพดาน เพื่อให้ภายในดูโปร่งขึ้น แต่ต้องอาศัยการตกแต่งให้เหมาะสมกับรูปแบบดังกล่าว และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการทำระบบท่อร้อยสายไฟเพื่อความสวยงาม
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ แอดมิน การเป็นนายหน้าขายที่ดิน ว่าเพื่อนๆน่าจะพอจะได้คำตอบกันบ้างแล้วหรือยังว่า ห้องแต่ละห้องภายในบ้านของเรา ควรมีความสูงของฝ้าประมาณเท่าไหร่ถึงจะดี และนอกจากความเหมาะสมด้านสถาปัตยกรรมแล้ว ความเหมาะสม ความพอดีในแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *