ช่วงบ่ายนี้มาพบกับแอดมิน นายหน้าอิสระ กันอีกเหมือนเคย หลายคนอาจสงสัย ว่าน้ำยาทำความสะอาดที่เราซื้อมาใช้ในบ้านนั้น จะสามารถเก็บไว้ได้ถึงเมื่อไหร่หลังจากเปิดใช้งานไปแล้ว ประสิทธิภาพยังเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่า ตามดูวิธีเช็กวันหมดอายุกันคะ..
ปกติแล้วน้ำยาทำความสะอาดจะระบุวันที่ผลิต หรือ MFG/MFD (Manufacturing Date /Manufactured Date) กับวันหมดอายุ หรือ EXP/EXD (Expiry Date/Expiration Date) มาให้บนบรรจุภัณฑ์ นายหน้าอิสระ แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ระบุเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือซื้อพวกน้ำยาทำความสะอาดมาใช้สักพัก แต่รู้สึกสภาพเปลี่ยนไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงวันหมดอายุที่บอกไว้เลย แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าใช้ต่อได้หรือไม่ได้ วันนี้กระปุกดอทคอมเลยรวบรวมวิธีนับวันการใช้งานของน้ำยาทำความสะอาดมาบอกต่อกันค่ะ
น้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอก
เจอโปรโมชั่นดี ๆ ก็อยากจะซื้อมาเก็บไว้หลาย ๆ ถุง แต่ไม่แน่ใจว่าน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอกจะเก็บไว้ได้นานหรือเปล่า หรือจะเปลี่ยนสภาพไปไหม จะบอกให้ว่าสามารถซื้อเก็บไว้ได้ เพราะถ้าหากยังไม่ได้เปิดใช้ประสิทธิภาพในการใช้งานก็ยังดีอยู่ แถมยังเก็บไว้ได้นานถึง 9-12 เดือน เลยทีเดียว แต่ถ้าหากเป็นถุงที่ถูกเปิดแล้วก็จะมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน นับจากวันแรกที่เปิดใช้ค่ะ
น้ำยาปรับผ้านุ่ม
ของใช้คู่กับน้ำยาซักผ้าและผงซักฟอก แต่ว่าน้ำยาปรับผ้านุ่มมีอายุการใช้งานที่นานกว่าเล็กน้อย โดยสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2-3 ปี หากยังไม่มีการเปิดใช้ แต่ถ้าหากมีการเปิดใช้งานไปแล้วประมาณ 6-12 เดือน แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ดีกว่า เพราะนอกจากสภาพของน้ำยาปรับผ้านุ่มจะเปลี่ยนไปแล้ว ประสิทธิภาพต่าง ๆ ของน้ำยาปรับผ้านุ่มก็ลดลงด้วยนะ
น้ำยาล้างจาน
น้ำยาทำความสะอาดที่ขาดไม่ได้ เพราะต้องใช้กันเป็นประจำทุกวัน จนบางทีอาจจะลืมสังเกตความเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ของสภาพน้ำยาหรือประสิทธิภาพที่อาจไม่เหมือนเดิม ทั้งนี้สามารถนับวันหมดอายุด้วยตัวเองได้ โดยนับจากวันแรกที่เปิดใช้ไปประมาณ 6-12 เดือน แต่หากจะให้ดีควรใช้ให้หมดภายใน 6 เดือนแรก เพราะแม้หลังจากนี้จะยังใช้งานได้อยู่ แต่ประสิทธิภาพก็จะลดลง
น้ำยาเช็ดกระจก
น้ำยาเช็ดกระจกหนึ่งขวดใช้ได้ค่อนข้างนาน เพราะไม่ต้องทำความสะอาดกันทุกวันหรือบ่อยเท่าน้ำยาทำความสะอาดประเภทอื่น ๆ แต่หากมีการเปิดใช้งานไปแล้ว ก็ไม่ควรเก็บไว้เกิน 2 ปี
น้ำยาถูพื้น
ส่วนน้ำยาถูพื้นทั่วไป ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าใช้สำหรับวัสดุปูพื้นชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือใกล้จะถึงวันหมดอายุที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ ส่วนใหญ่จะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี โดยที่ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดก็ยังไม่เปลี่ยน
เบกกิ้งโซดา
หากจะนำเบกกิ้งโซดาไปทำอาหาร ให้นับอายุการใช้หลังจากเปิดไป 6-12 เดือน แต่หลังจากนี้หากเบกกิ้งโซดาไม่ได้จับตัวเป็นก้อน ก็สามารถนำไปทำความสะอาดบ้านต่อได้เรื่อย ๆ หรือลองทดสอบประสิทธิภาพก่อน โดยเทน้ำร้อน ½ ถ้วยตวง น้ำส้มสายชู ¼ ช้อนชา และเบกกิ้งโซดา ¼ ช้อนชา ลงไปในภาชนะเดียวกัน หากเบกกิ้งโซดายังขึ้นฟองก็แสดงว่ายังใช้งานต่อไปได้ค่ะ
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide)
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) มีอายุการใช้งานประมาณ 30-45 วัน หลังจากเปิดใช้งาน แต่สามารถเก็บต่อได้อีก 6 เดือน หากเก็บไว้ในที่เย็นและไม่มีแสง แต่ถ้าหากไม่มีการเปิดใช้ก็จะเก็บไว้ได้ประมาณ 3 ปี แต่อย่างไรก็ตามแนะนำให้ซื้อขนาดตามความจำเป็นในการใช้งานดีกว่า
อย่างไรก็ตามอายุของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย อาชีพนายหน้า ทางที่ดีควรสังเกตวันหมดอายุหรือสภาพของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก่อนใช้งาน ซึ่งถ้าพบว่ามีการเปลี่ยนสภาพ เช่น สีหรือกลิ่นไม่เหมือนเดิม เลี่ยงเอาไว้ก่อนจะดีกว่า
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *