ผ้าตกแต่งบ้าน กับคุณสมบัติ กันไฟลาม กันน้ำ และทนแดดยาวนานเป็นมากกว่าแค่คำว่า สวยงาม

ผ้าตกแต่งบ้าน กับคุณสมบัติ กันไฟลาม กันน้ำ และทนแดดยาวนานเป็นมากกว่าแค่คำว่า สวยงาม

ในยุคที่วัสดุแต่งบ้านลำพังความสวยงามเพียงอย่างเดียวไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ เพราะยังต้องมีฟังก์ชันอื่นๆ เข้ามาส่งเสริม ช่วยให้การใช้งานเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบาย และปลอดภัย เช่นเดียวกับ “ ผ้าตกแต่งบ้าน ” วัสดุที่เราคุ้นเคยในงานตกแต่ง

จะดีแค่ไหนถ้า ผ้าตกแต่งบ้าน จะได้รับการพัฒนาคุณสมบัติให้ดียิ่งขึ้นทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นผ้ากันไฟลาม ผ้ากันน้ำ ที่ทั้งทนแดด ทนฝน และความเค็มจากน้ำทะเลสำหรับเฟอร์นิเจอร์เอ๊าต์ดอร์ เรียกได้ว่าการผลิตผ้าทุกวันนี้ได้ก้าวผ่านข้อจำกัดเดิมๆ ไปจนหมดสิ้น ช่วยให้เราสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ควบคู่ไปกับความทนทาน และสวยงาม

ผ้าตกแต่งบ้าน

ผ้ากันน้ำ

ผ้ากันน้ำมีคุณสมบัติเหมาะกับการบุเฟอร์นิเจอร์ หรือบุผนังมากกว่านำมาทำผ้าม่าน เนื่องจากผ้าม่านมีโอกาสที่น้ำจะหกใส่ได้น้อยกว่าเฟอร์นิเจอร์

ดังนั้นผ้าสำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณสมบัติกันน้ำจึงต้องเป็นผ้าที่มีความแข็งแรง และกันน้ำได้ในระยะยาว ขั้นตอนการทอจึงต้องทอแบบพิเศษโดยใช้เส้นใยโพลีเอสเทอร์มาทอแบบหลวม ๆ เกิดช่องว่างระหว่างเส้นใยให้สารเคมีสำหรับกันน้ำแทรกซึมเข้าเกาะเส้นใยผ้าได้อย่างทั่วถึง

ช่วยให้ผ้ากันน้ำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ้ากันน้ำที่ดีต้องอุ้มน้ำได้อย่างน้อย 35 นาที โดยไม่มีน้ำซึมออกมา และสามารถทำความสะอาดดูแลรักษาง่าย เพียงนำผ้าชุบน้ำหมาด ๆ มาเช็ดคราบเปื้อนออกเท่านี้เฟอร์นิเจอร์ของคุณก็จะกลับมาสวยเหมือนเดิม

ทั้งหมดขนาด 57″ (145 ซม.) ชนิดของเส้นใยผ้า 100% Polyester ความทนทาน หรือค่า Martindale >25,000 ครั้ง (Rubs.) สามารถใช้งานได้ทั้งผ้าม่าน หมอนอิง และผ้าบุเฟอร์นิเจอร์

 

TIP :ผ้ากันน้ำสำหรับนำไปบุเฟอร์นิเจอร์จาก Homework มีค่า Martindale มากกว่า 25000 Rubs. ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป คือ 20000 Rubs. นอกจากจะช่วยกันน้ำได้ดีแล้ว ยังมีความทนทานต่อการเสียดสีได้สูงขึ้นด้วย

 

ผ้าเอ๊าต์ดอร์

นับว่าเป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ยังใหม่ในบ้านเราสำหรับผ้าเอ๊าต์ดอร์ที่มีคุณสมบัติทนความเค็มจากน้ำทะเล และทนแสงแดดได้สูง ซึ่งเส้นใยทั่วไปยังไม่มีคุณสมบัติด้านนี้จึงต้องผลิตเส้นใยพิเศษขึ้นจากอะคริลิก

โดยเป็นการผสมสีลงไปพร้อมกับสารเคมี ก่อนจะผลิตออกมาเป็นเส้นด้ายที่เรียกว่า Dyed Acrylic ให้สีคงทนสวยงาม แม้จะใช้งานเอ๊าต์ดอร์ที่ต้องเผชิญมลภาวะแสงแดด และน้ำทะเล

แต่สีก็ยังคงสดใสสวยงามดังเดิมอย่างน้อย 5 ปี โดยไม่ต้องดูแลรักษาใด ๆ ให้ยุ่งยาก ในกรณีที่มีฝุ่นจับ หรือมีรอยปากกาขูดขีด เพียงใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดเบา ๆ ก็สามารถทำความสะอาดได้อย่างง่ายดาย

ชนิดของเส้นใยผ้า 100% Solution-dyed Acrylic (Water Repellent) ขนาด 61″ (155 ซม.) หรือค่า Martindale >25,000 ครั้ง (Rubs.) สามารถใช้งานได้ทั้งหมอนอิง และผ้าบุเฟอร์นิเจอร์

 

TIP :โดยปกติผ้าที่ใช้เอ๊าต์ดอร์จะมีความแข็งมาก ทำให้รู้สึกไม่สบายผิวขณะสัมผัส Homework จึงแก้ไขด้วยการทอผ้าให้เส้นใยมีความห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้ผ้าเกิดความยืดหยุ่นช่วยให้รู้สึกสบายขณะใช้งานมากขึ้น

 

ผ้ากันไฟลาม

อนาคตอันใกล้กฎหมายในบ้านเราจะมีการบังคับให้ใช้วัสดุและอุปกรณ์กันไฟลาม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ชีวิตและทรัพย์สิน หนึ่งในวัสดุที่ว่าคือ ผ้ากันไฟลาม ซึ่งในกระบวนการผลิตได้ใส่สารกันไฟลงไปในเส้นใย

จากนั้นจึงนำเส้นใยไปย้อมสี และทอเป็นผืน ข้อดีของการผสมสารกันไฟลงไปในเส้นใยเลยนั้น จะช่วยให้ผ้ามีอายุการใช้งานได้ยาวนานถึง 5 ปี และทำให้ไฟลามช้ากว่าผ้าทั่วไป ผู้อาศัยอยู่ในอาคารที่เกิดเพลิงไหม้จึงมีเวลาหนีออกมาได้ทัน และมีโอกาสรอดชีวิตสูง

นอกจากนี้ยังสามารถซักและรีดได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แตกต่างจากการเคลือบสารกันไฟลงบนผิวผ้าแบบทั่วไปที่หากนำผ้าไปไว้ในห้องปรับอากาศ หรือห้องที่มีความชื้น สารที่เคลือบอยู่บนผ้าจะค่อย ๆ หลุดออกภายในเวลา 7-8 เดือน ทำให้หมดประสิทธิภาพกันไฟลามลดลง

สามารถใช้งานได้ทั้งผ้าม่าน หมอนอิง และผ้าบุเฟอร์นิเจอร์

 

TIP :มาตรฐานสำหรับผ้ากันไฟลามคือ NFPA 701 (National Fire Protection Association) ซึ่งเป็นมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาที่ดีไซเนอร์ให้การยอมรับในระดับสากล

ทั้งหมดนี้คือ ผ้าที่ทางเว็บ นายหน้าที่ดิน คิดว่าจะถูกนำมาใช้ในอนาคต แน่นอน เพราะไม่ใช่แค่ความสวยงามอย่างเดียวแล้ว ด้วยเทคโนโลยี ที่พัฒนาขึ้น มันจึงเป็นมากกว่า แค่ ผ้าที่นำมาทำ ปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าม่าน อีก ต่อไป

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *