ระหว่าง เครื่องดูดควัน VS พัดลมระบายอากาศ มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร ตอนที่ 2

ระหว่าง เครื่องดูดควัน VS พัดลมระบายอากาศ มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร ตอนที่ 2

สวัสดีทุกท่าน วันนี้เรากลับมาพบกันอีกแล้ว โดยวันนี้เราจะมี บทความเกี่ยวกับ เครื่องดูดควัน และ พัดลมระบายอากาศ  กันต่อว่า แบบไหนต่างกันอย่างไร และ ควรเลือกใช้แบบไหนดีกว่ากัน

ในครั้งก่อนเราพูดถึงเรื่อง พัดลมระบายอากาศกันไปแล้ว ว่า เป็นอย่างไร และ มีข้อดีอย่างไร ส่วนในวันนี้เราจะมาพูดถึง เครื่องดูดควัน กันบ้าง ว่าเป็นอย่างไร ไปอ่านกันเลย

เครื่องดูดควัน

 

หน้าที่หลักของเครื่องดูดควัน คือทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น จากในอดีตบ้านแต่ละหลังจะสร้างห้องครัวกึ่งเอ๊าท์ดอร์แบบฉบับครัวไทย เหมาะสำหรับการปรุงอาหารแบบหนักๆ จนได้รับอิทธิพลจากครัวฝรั่ง เป็นครัวแบบเรียบง่าย สวย ทันสมัย เชื่อมกันระหว่างส่วนทำครัวและส่วนรับประทานอาหารภายในห้องเดียวกัน อีกทั้งการทำอาหารแบบฝรั่งจะไม่หนักเท่าไทย เครื่องดูดควันจึงเพียงพอสำหรับครัวแบบนี้ครับ

 

เครื่องดูดควันถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบรับการใช้งานในครัว ทั้งสามารถดูดควันและกลิ่นได้อย่างหมดจด เสียงรบกวนน้อยลงในขณะที่เครื่องทำงาน อีกทั้งการออกแบบหรือวัสดุที่ดูสวยงามให้เข้ากับบ้านได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเครื่องดูดควันก็มีประเภทและฟังค์ชั่นการทำงานแตกต่างกันตามนี้

ระบบการทำงาน

เครื่องดูดควันแบบต่อท่อออก (DUCT-OUT) เป็นระบบดูดกลิ่นต่างๆ ออกนอกอาคารผ่านท่อระบาย มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเยี่ยม ถือเป็นที่นิยมมากสำหรับบ้านในยุคปัจจุบัน

เครื่องดูดควันแบบหมุนเวียน (RECIRCULATING) เป็นระบบดูดกลิ่นผ่าน charcoal filter ในตัวเครื่อง จากนั้นจึงปล่อยอากาศให้หมุนเวียนภายในห้อง เหมาะสำหรับห้องที่ไม่ช่องเจาะสำหรับทำท่อระบาย ห้องครัวภายในคอนโดมักนิยมใช้กัน

ประเภทเครื่องดูดควัน

1.ISLAND HOOD เครื่องดูดควันกลางห้อง

เป็นเครื่องดูดควันที่ห้อยลงมาจากเพดาน เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีขนาดใหญ่ มีเคาน์เตอร์สำหรับประกอบอาหารอยู่กลางห้อง ถือเป็นเครื่องดูดควันที่มีประสิทธฺภาพการดูดสูง มีโครงสร้างที่แข็งแรงและดีไซน์ที่ดูสวยงาม แต่ราคาค่อนข้างสูงพอสมควร

 

2.CHIMNEY HOOD เครื่องดูดควันติดผนัง

เป็นเครื่องดูดควันติดผนัง เหมาะสำหรับห้องครัวที่ขนาดเล็ก-ปานกลาง มีพื้นที่ปรุงอาหารและเตาทำอาหารอยู่ติดกับผนัง ประสิทธิภาพการดูดควันเทียบเท่ากับเครื่องดูดควันแบบกลางห้อง อีกทั้งวัสดุก็ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ แต่เรื่องดีไซน์อาจมีข้อจำกัดน้อยกว่านิดหนึ่ง ส่วนราคาก็ไม่แพงเท่า ถือเป็นที่นิยมมากสำหรับบ้านในยุคสมัยนี้

 

3.SLIMLINE HOOD เครื่องดูดควันมาตรฐาน / สลิมไลน์

เป็นเครื่องดูดควันที่เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีพื้นที่จำกัดมากอย่างในคอนโด ซึ่งระบบการทำงานจะแตกต่างจากเครื่องดูดควันขนาดใหญ่ ถ้าห้องครัวนั้นไม่สามารถต่อท่อดูดควันออกภายนอกได้ ก็จะใช้ระบบดูดควันแบบหมุนเวียน โดยจะกรองกลิ่นและควันด้วยแผ่นฟิลเตอร์และแผ่นคาร์บอนแล้วกรองออกเป็นอากาศมาสู่ห้องอีกครั้ง ถ้าใครที่รักการทำอาหารอยู่ตลอดคงไม่เหมาะอย่างยิ่ง

 

4.DOWNDRAFT HOOD เครื่องดูดควันดาวน์ดราฟท์

จัดเป็นนวัตกรรมใหม่สุดของเครื่องดูดควัน ตอบโจทย์ห้องครัวที่มีดีไซน์สวยงาม ไม่อยากให้เครื่องดูดควันมาเป็นจุดลดทอนความสวยออกไป โดยเครื่องดูดควันประเภทนี้สามารถดูดควันได้โดยตรงจากปากภาชนะ จึงหมดกังวลเรื่องกลิ่นหลุดลอยไปได้เลย อีกทั้งยังพิเศษตรงที่สามารถจัดเก็บตัวเองให้กลืนเข้ากับเคาน์เตอร์ครัวได้ เพิ่มพื้นที่การดีไซน์ให้กับห้องครัวได้อีกเพียบ

ควรเลือกแบบไหนดี เครื่องดูดควันVS พัดลมระบายอากาศ

ต้องถามตัวเองก่อนว่าเป็นคนใช้ครัวอยู่เป็นประจำหรือไม่ ทำการปรุงอาหารมื้อหนักๆบ่อยครั้งรึเปล่า ห้องครัวเป็นรูปแบบไหน? เพราะถ้าเป็นครัวไทย indoor มีเพียงเครื่องดูดควันอย่างเดียวก็ไม่สามารถระบายอากาศได้เพียงพอ กลิ่นควันก็ยังกระจายอยู่รอบห้องอยู่ดี ดังนั้น

เครื่องดูดควัน เหมาะสำหรับครัวที่ทำอาหารไม่หนัก ครัวอยู่ติดรั้วเพื่อนบ้านเพราะเครื่องจะดูดควันปล่อยขึ้นสู่หลังคา ทำให้ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน ถ้าจำเป็นต้องทำอาหารหนักแบบครัวไทยต้องหาที่ระบายอากาศเพิ่ม

พัดลมระบายอากาศ เหมาะสำหรับครัวที่กึ่งเอ๊าท์ดอร์ที่มีจุดระบายอากาศเพิ่มเติมอยู่แล้วและครัวไม่อยู่ติดกับรั้วเพื่อนบ้าน จึงใช้แค่พัดลมระบายอากาศได้

 

สำหรับใครที่ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ทางเว็บ วิธีเป็นนายหน้าขายที่ดิน คิดว่าติดทั้ง 2 อย่างนี้คู่กันได้เลย จะช่วยเสริมประสิทธิภาพการระบายอากาศได้ดียิ่งขึ้น แถมเรื่องกินไฟแตกต่างกันแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง

 

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *