วัสดุปิดผิว เท่ๆ ผิวสัมผัสไม่ธรรมดา เหมาะกับการ ตกแต่งบ้าน ทุกรูปแบบ

วัสดุปิดผิว เท่ๆ ผิวสัมผัสไม่ธรรมดา เหมาะกับการ ตกแต่งบ้าน ทุกรูปแบบ

ในสมัยก่อนการ ตกแต่งบ้าน จะแค่ฉาบบ้านด้วยปูน แต่ในปัจจุบันเริ่มมีออฟชั่นเพิ่มมากขึ้นแต่ หลายๆคนอาจจะเริ่มเบื่อกับผนังเดิมๆ ถึงแม้จะติดวอลล์เปเปอร์ธรรมดาๆ ติดกระเบื้องก็ยังไม่ตอบโจทย์ และไม่ต้องการแค่งานทาสีปกติ

เราลองมาดู วัสดุปิดผิว สำหรับติดผนังแบบใหม่ๆ เพื่อใช้ในการ ตกแต่งบ้าน ที่มีรูปแบบและพื้นผิวที่น่าสนใจเพื่อเป็นไอเดียในการตกแต่งที่หลากหลายขึ้น บางชนิดมีคุณสมบัติเฉพาะตัว แถมยังให้เท็กซ์เจอร์ที่สวยงามเวลาแสงตกกระทบ

ตกแต่งบ้าน

วีเนียร์หิน (Stone Veneer)

เป็นวัสดุปิดผิวชนิดใหม่ที่เริ่มเห็นใช้งานในบ้านเราแล้ว มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ อาทิ Flexx Stone โดยวัสดุเป็นหินจริงๆ ที่บางเพียง 1-2 มม. ข้อดีคือ มีน้ำหนักเบา มีความบาง สามารถดัดโค้งได้ ผู้รับเหมาสามารถทำงานเองได้ ทนทานทั้งงานภายในและภายนอก และพื้นผิวเป็นหินจริงๆ จึงมีความเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง

การติดตั้งคล้ายกับการติดวีเนียร์ ด้านหลังของวัสดุเป็นไฟเบอร์ที่ยึดเกาะเนื้อหินบางๆ เหมือนแขนที่แทรกตัวไปในเนื้อหินอีกที วิธีการผลิตขึ้นการฝานผิวหน้าหินออกเป็นชั้นๆ บางๆ ฉะนั้นในล็อตการผลิตหนึ่งลายด้านหน้าก็จะคล้ายคลึงกันแต่ค่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายสีขึ้น แต่เทคโนโลยีนี้ยังทำไม่ได้กับหินอ่อนจริงๆ

กาวที่ใช้ติดแนะนำใช้ให้กาวโพลียูริเทนมีลักษณะเป็นหลอดคล้ายกับซิลิโคนแต่เหมาะกับงานก่อสร้างมากกว่า ในบางกรณีสามารถใช้กาวยางได้สำหรับงานที่ไม่โดนน้ำและความร้อน หรืองานชั่วคราวที่ติดกับไม้ ผิวหน้าสามารถเลือกเคลือบเงา เคลือบหน้า หรือกันชื้นแบบเดียวกับน้ำยาเคลือบหินจริงที่มีขายในท้องตลาด

 

Soft Ceramic Tile

เป็นวัสดุปิดผิวที่ทำมาจากดินผสมแร่หิน แล้วนำมาขึ้นรูปเป็นบล็อก ทำลวดลายออกมาหลายแบบ อาทิ ลายอิฐมอญ ลายหินกาบ ลายหินทราเวอทีน ลายแกรนิต ลายหินกะเทาะหน้า หรือแม้แต่ลายไม้ ความเป็นธรรมชาติค่อนข้างใกล้เคียงในหลายแบบ มีความเบา บาง และคัดโค้งได้ดี เนื่องจากวัสดุมีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นดินพื้นผิวด้านหน้าจึงระบายความร้อนได้ดี

การติดตั้งแนะนำให้ใช้ปูนกาวติดเช่นเดียวกับงานกระเบื้อง สำหรับงานภายนอกแนะนำให้เคลือบด้วยน้ำยากันชื้น

 

ไม้ยาคิสุกิ (Yakisugi)

Yakisugi แปลว่า ไม้ซีดาร์เผาไฟ ในภาษาญี่ปุ่น เป็นเทคนิกที่สืบทอดมาจากภูมิปัญญาของชาวญี่ปุ่นที่นำไม้ไปเผาไฟเพื่อให้คุณสมบัติบางประการเปลี่ยนไป โดยหลักๆ คือเป็นการเผาไฟด้วยความร้อนสูงในเวลาอันสั้น ช่วยกำจัดความชื้นและเซลลูโลสออกไป ทำให้ไม้มีลักษณะเป็นผิวถ่านสีดำ ลักษณะเด่นๆ ของไม้ยาคิสุกิคือ เป็นติดไฟยากเนื่องเซลลูโลสเป็นสารที่ติดไฟถูกกำจัดออกไปแล้ว ปลวกยังไม่มารบกวน เนื้อไม้ลดการบิดงอ และไม้มีสภาะทนทานต่อภูมิอากาศมากขึ้นด้วย

 

ลามิเนทกระดานแม่เหล็ก (Magnetic Laminate)

วัสดุปิดผิวลามิเนทที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่นแบบ 2 in 1 คือเป็นทั้งกระดานดำที่เราสามารถใช้ชอล์กเขียนลวดลายหรือข้อความอะไรๆ ได้ตามใจชอบ และยังเป็นบอร์ดแม่เหล็กใช้ติดโน้ตได้ทั้งผนัง เรียกได้ว่าตอบสนองได้ทั้งจินตนาการและการใช้งานได้ในเวลาเดียวกัน เหมาะกับทั้งสำนักงาน และร้านอาหาร คาเฟ่ ที่มีการปรับเปลี่ยนข้อความหรือเรื่องราวเป็นประจำ แถมยังได้บรรยากาศแบบลำลองๆ อีกด้วย

 

วอลล์เปเปอร์ไฟเบอร์สาน (Woven-Fiber Wallpaper)

แผ่นวัสดุไฟเบอร์มีขึ้นเป็นแผ่นด้วยการจัดวางเส้นใยให้ดูคล้ายกับงานจักสาน แต่เป็นการขึ้นลายด้วยเครื่องจักรตั้งแต่การผลิต เพื่อทดแทนค่าแรงและวัสดุที่ราคาสูงและขาดแคลน วัสดุเป็นไฟเบอร์บางๆ ที่เป็นเส้นใยนูนๆ มีเส้นตั้งและเส้นนอนในการยึดติดกัน ลักษณะที่ผลิตจะเป็นม้วนขนาดใหญ่

การติดตั้งใช้กาวลาเท็กซ์ติดแบบงานวอลล์เปเปอร์ ใช้ทำงานผนัง ฝ้า หรือหน้าบานเฟอร์นิเจอร์ได้ ติดตั้งง่าย ราคาวัสดุไม่สูงแต่ต้องทำสีหน้างาน โดยสามารถเลือกทำสีได้ตามต้องการหรือจะเคลือบเงาเพิ่มก็ได้ เมื่อติดกับผนังแล้วไม่ลามไฟ มีการระบายอากาศได้

ทั้งหมดนี้เป็นวัสดุปิดผิวหรือผนังบ้านแบบอื่นๆที่ทางเว็บ สมัครนายหน้าขายบ้าน นำมาแนะนำให้ทุกท่านได้ลองอ่านเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตกแต่งบ้านของคุณให้สวยงามกัน

ทางเราหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับทุกท่าน

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *