ปัญหาฝุ่นละอองใน บ้านของเรา ตอนนี้นั้นถือว่า เป็นปัญหามาก โดยเฉพาะ ฝุ่นละออง PM 2.5 หรือ ก็คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่ขนจมูกของมนุษย์ไม่สามารถกรองได้
ทำให้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ง่าย ซึ่งในตอนนี้ ใน บ้านของเรา มีค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองที่มากเกินกำหนด จนสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้
วันนี้ เว็บ อาชีพนายหน้า จึงมีวิธีดูแลตัวเองและเตรียมรับมือ สำหรับสถานการณ์ ฝุ่นละออง PM 2.5 มาฝากกัน
งดกิจกรรมกลางแจ้ง
การออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งจะทำให้ยิ่งเสี่ยงต่อการพบเจอฝุ่นละอองในอากาศได้ง่าย โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่มีการหายใจและความต้องการปริมาณออกซิเจนมากกว่าปกติ ทำให้จากการดูแลสุขภาพอาจกลายเป็นการทำลายสุขภาพแทนได้ ทางที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในพื้นที่อันตรายและการอยู่ในพื้นที่กลางแจ้งเป็นเวลานานนะคะ
ออกเดินทาง
ถ้าหากเป็นไปได้วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันสถานการณ์คือการหลีกเลี่ยงจากฝุ่นละอองให้ได้มากที่สุด ด้วยการออกเดินทางไปหาสถานที่ที่ปลอดภัยหรือหลีกไกลจากฝุ่นละออง เพื่อสูดหายใจรับอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอดแทน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และ สตรีมีครรภ์ ที่จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตได้ง่าย
ใช้หน้ากากป้องกัน
การใส่หน้ากากจะช่วยป้องกันฝุ่นละอองในอากาศได้ แต่ควรเลือกใช้หน้ากากที่มีมาตรฐาน ไม่ชำรุดเสียหาย ใส่ครอบปิดจมูกและปากให้มิดชิด รวมถึงควรเปลี่ยนทุกวันหรือใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง เพื่อสุขลักษณะที่ดี และ ถึงแม้ว่าหน้ากาก N95 จะขาดตลาด แต่ก็สามารถทดแทนหรือเทียบเท่าได้ด้วย การใช้หน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย 2 ชั้น หน้ากากอนามัย+ทิชชู่ หรือ ผ้าขาวม้าเย็บทบ 4 ชั้น เพื่อช่วยป้องกันได้นะคะสำหรับใครที่ยังไม่มีก็รีบหามาพกติดกระเป๋าไว้เลย จะได้หยิบมาใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาค่ะ
ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ
แม้จะป้องกันดีแค่ไหนก็ตาม ฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ก็ยังสามารถเล็ดลอดผ่านเข้ามาในอาคารได้อยู่เสมอ การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier หรือ Air Cleaner) จึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่สามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมในอากาศ ไม่ว่าจะเป็น กลิ่นไม่พึงประสงค์ แบคทีเรีย ไวรัส รวมถึงฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ และ สำหรับใครที่มีเครื่องฟอกอากาศอยู่แล้วก็ควรหมั่นตรวจสอบการใช้งานและบำรุงดูแลรักษาเครื่องอยู่เสมอ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
ปิดประตู-หน้าต่างให้มิดชิด
ไม่ว่านอกบ้านจะมีฝุ่นละอองล่องลอยมากมายแค่ไหน ก็ควรทำให้พื้นที่ในบ้านสะอาดเข้าไว้นะคะ ด้วยการปิดประตู-หน้าต่าง เก็บแหล่งสะสมฝุ่น อย่าง พรม ตุ๊กตา ให้มิดชิด และ หมั่นทำความสะอาดปัด กวาด เช็ดถู เป็นประจำหรือบ่อยกว่าปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายและการสะสมของแหล่งเชื้อโรคที่อาจเล็ดลอดหรือติดตามเสื้อผ้าเข้ามาภายในบ้าน
ดื่มน้ำเยอะๆ จิบน้ำบ่อยๆ
การดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่สมดุล โดยเฉพาะการจิบน้ำบ่อยๆและการดื่มน้ำอุ่นในอุณหภูมิปกติ จะสามารถช่วยในการขับสารพิษ ลดอาการแพ้ และ ช่วยเคลียร์ระบบบทางเดินหายใจให้โล่งขึ้นได้ รวมถึงถ้าหากเกิดอาการแพ้ คัดจมูก อาจดื่มชาอุ่นๆ หรือ น้ำผลไม้ เพื่อช่วยลดอาการและเพิ่มวิตามินให้แก่ร่างกาย
เตรียมยาให้พร้อม
ถ้าหากมีอาการแพ้หรือโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็น โรคทางเดินหายใจ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง โรคหัวใจและหลอดเลือด ควรเตรียมยาประจำตัวไว้ให้พร้อมอยู่เสมอ และ เมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติ หรืออาการเรื้อรังต่อเนื่อง อย่าง การหายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อยล้าผิดปกติ แน่นหน้าอก แสบตา น้ำตาไหล ตาแดง หรือ ไอรุนแรง ก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ
ปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว
การปลูกต้นไม้จะช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจน กรอง และ ฟอกฝุ่นควันในอากาศที่อยู่โดยรอบได้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ขนาดใหญ่บริเวณนอกบ้านหรือต้นไม้ขนาดเล็กภายในบ้านก็ล้วนแล้วแต่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดมลพิษได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงการปลูกพืชคลุมดินที่จะช่วยลดโอกาสการลอยฟุ้งกระจายของฝุ่นในอากาศได้อีกด้วย
ลดกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดฝุ่นละออง
สำหรับสภาพอากาศที่มีฝุ่นละอองในตอนนี้ลดไม่ได้ก็ขอให้อย่าได้เพิ่ม มาช่วยกันคนละไม้คนละมือในการงดหรือลดกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดฝุ่นละออง ไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ การใช้รถยนต์ส่วนตัว การเผาขยะหรือเศษใบไม้ในที่โล่งแจ้ง ค่ะ
รู้เขา รู้เรา
ตื่นมาเช้าวันนี้เห็นท้องฟ้าขมุกขมัวดูไม่สดใส ลองเช็คค่าฝุ่นละอองในแต่ละวันได้ด้วยแอพพลิเคชั่น Air4Thai (เฉพาะ Google Play Store) อุปกรณ์เครื่องวัดค่าฝุ่นละออง หรือ ในเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ อย่าง www.aqmthai.com www.aqnis.pcd.go.th และ www.air4thai.pcd.go.th เพื่อเตรียมรับมือและป้องกันฝุ่นละอองในแต่ละวันกันค่ะ
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *