วิธีรับมือกลิ่นไม่พึงประสงค์ภายใน บ้าน เพื่อให้บ้านอยู่สบายไร้กังวล ตอนที่ 2

วิธีรับมือกลิ่นไม่พึงประสงค์ภายใน บ้าน เพื่อให้บ้านอยู่สบายไร้กังวล ตอนที่ 2

หลังจากที่ครั้งก่อนเราได้บอกวิธีกำจัด กลิ่นอับ กลิ่นเหม็นต่างๆ ภายใน บ้าน กันไปบ้างแล้ว ซึ่งมันยังไม่ได้หมดแค่นั้น นอกจากที่เราบอกไปในครั้งก่อน ยังมีแหล่งกำเนิดกลิ่นจากอื่นๆ อีก  

ดังนั้นในวันนี้ทาง คอร์สอสังหา จึงรวบรวม กลิ่นไม่พึงประสงค์ อื่นๆ เพิ่มเติม ตามจุดต่างๆ ภายใน บ้าน พร้อมเคล็ดลับการกำจัดกลิ่นเหล่านี้ให้หมดไป  มาให้อ่านกันต่อ

บ้าน

กลิ่นติดตู้เย็น

สารพัดอาหารที่เก็บเข้าตู้เย็น หากแช่ทิ้งไว้เป็นเวลานานจนลืม กระทั่งหมดอายุหรือเกิดการเน่าเสีย นานวันเข้าจะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและทําให้ตู้เย็นส่งกลิ่นเหม็น วิธีป้องกันกลิ่นอาหารติดตู้เย็นที่ได้ผลดีคือ

ทุกครั้งก่อนนําอาหารเข้าตู้เย็นต้องบรรจุอาหารใส่กล่องที่มีฝาปิดสนิท ถุงซิปล็อก หรือหุ้มด้วยพลาสติก นอกจากมีประโยชน์เรื่องกําจัดกลิ่นแล้ว ยังช่วยถนอมอาหารได้อีกด้วย ควรเช็ดทําความสะอาดภายในตู้เย็นและเคลียร์ของที่แช่ไว้ทุกสัปดาห์

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ถ่านหุงต้มใส่ภาชนะเล็กๆ แช่ภายในชั้นตู้เย็นเพื่อช่วยดูดกลิ่น หรือวางมะนาวผ่าครึ่งลูกในตู้เย็นก็ได้ผลดีเช่นเดียวกัน อีกทั้งกลิ่นมะนาวยังทําให้รู้สึกสดชื่นขึ้นด้วย

กลิ่นเหม็นจากถังขยะ

ถังขยะที่เริ่มมีกลิ่นเหม็น ให้วางเปลือกส้มโอในถังขยะ เพื่ออาศัยกรดและกลิ่นของเปลือกผลไม้เหล่านี้ช่วยกําจัดเชื้อโรค รวมทั้งดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ในถังขยะไปในคราวเดียวกัน แต่ทางที่ดีควรหมั่นนำถุงขยะไปทิ้งเป็นประจำทุกวันจะดีที่สุด

กลิ่นจากห้องน้ำ

ทำความสะอาดห้องน้ําเป็นประจํา แต่กลิ่นเหม็นยังคงอยู่กวนใจสาเหตุส่วนใหญ่อาจเกิดจากกลิ่นที่ย้อนขึ้นมาจากท่อน้ําทิ้ง ซึ่งมีวิธีจัดการไม่ยุ่งยาก เพียงใช้ฟองน้ําชุบน้ํา นําไปปิดไว้ตรงฝาท่อน้ําทิ้ง

แต่ฟองน้ํานั้นต้องชุ่มน้ําตลอดเวลาถึงจะได้ผลดี หรือราดน้ําหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ (EM) ลงท่อระบายน้ําทิ้ง เพื่อให้ไปทําปฏิกิริยากําจัดคราบไขมันและสิ่งสกปรก อีกหนึ่งตัวช่วยที่น่าสนใจที่สะดวกและมีประสิทธิภาพก็คือ การติดตั้งท่อกันกลิ่นแบบสําเร็จรูปไว้ภายในท่อน้ําทิ้ง หาซื้อได้ตามร้านสุขภัณฑ์ทั่วไป สําหรับกลิ่นที่มาจากโถสุขภัณฑ์

ถ้าเป็นชักโครกต้องมีน้ําหล่ออยู่ภายในตลอดเวลา เพื่อป้องกันกลิ่นที่ย้อนขึ้นมาจากบ่อเกรอะ สําหรับโถปัสสาวะชายที่ส่งกลิ่นเหม็นฉุน ลองหั่นผลมะกรูดเป็นชิ้นวางไว้ หรือใส่ลูกเหม็นไว้ก็ดับกลิ่นได้ดี และควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศภายในห้องน้ํา จะช่วยระบายกลิ่นเหม็นออกไปได้มากทีเดียว

กลิ่นอับในตู้เสื้อผ้า

ตู้เสื้อผ้าที่อัดแน่นไปด้วยเสื้อผ้าจํานวนมากและไม่ได้ทําความสะอาด หรือบางครั้งเผลอนําเสื้อผ้าที่ยังแห้งไม่สนิทเก็บใส่เข้าตู้ ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดกลิ่นอับและมีคราบเชื้อราจนกลิ่นนั้นติดอยู่ตามเสื้อผ้า

หลักการกําจัดกลิ่นอับเหล่านี้แบบง่ายๆ คือ ห้ามให้ภายในตู้มีความชื้น ควรเปิดบานตู้ทิ้งไว้สักพักเป็นประจําเพื่อให้อากาศถ่ายเท และควรเช็ดทําความสะอาดควบคู่กันไปด้วย  โดยใช้ผ้าชุบน้ําบิดหมาดๆ เช็ดคราบฝุ่นและเชื้อรา แล้วจัดเรียงเสื้อผ้าแยกเป็นหมวดหมู่อย่างเรียบร้อย

แต่ไม่ควรแน่นจนเต็มตู้ และเพิ่มความหอมด้วยสบู่ก้อนใหม่ที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน โดยนําใส่ภาชนะแล้ววางไว้ตามมุมตู้หรือแขวนเครื่องหอมอย่างการบูรก็ช่วยให้กลิ่นอับหมดไป แถมยังได้เสื้อผ้าที่มีกลิ่นหอมๆ มาสวมใส่สร้างความมั่นใจอีกด้วย

กลิ่นจากสัตว์เลี้ยง

กลิ่นจากสัตว์เลี้ยงแสนรักอย่างสุนัขและแมวซึ่งเจ้าของอยู่คลุกคลีจนเป็นกลิ่นที่คุ้นชิน แต่สําหรับแขกผู้มาเยือนคงเป็นกลิ่นที่น่าเวียนหัวไม่น้อย ต้องเริ่มจากจับเจ้าสัตว์เลี้ยงอาบน้ํา ตัดขน ทําความสะอาดเป็นประจําเพื่อกําจัดกลิ่นตัว และจัดการกับบริเวณที่ขับถ่ายหรือกรงที่อยู่อาศัยของสัตว์แยกไว้เป็นสัดส่วน

หากฝึกสัตว์เลี้ยงให้ขับถ่ายในกระบะทรายควรวางในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก หมั่นเก็บกวาดอุจจาระสัตว์เปลี่ยนทรายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ล้างทําความสะอาดกรงและกระบะทราย ตากแดดผึ่งลมให้แห้งสนิทหรือใช้สเปรย์ดับกลิ่นสําหรับสัตว์โดยเฉพาะ

ซึ่งไม่ส่งผลอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงพ่นดับกลิ่นให้ทั่วพื้นที่ กลิ่นหอมอ่อนๆ ของสเปรย์ยังช่วยลดการเกิดกลิ่นซ้ําได้อีกด้วย

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *