7 ขั้นปั้นอันดับ Website วางแผนผังเว็บไซต์ ฉบับมือใหม่หัดสร้าง XML Sitemap

7 ขั้นปั้นอันดับ Website วางแผนผังเว็บไซต์ ฉบับมือใหม่หัดสร้าง XML Sitemap

หลายคนยังคลุมเคลือในหลายหัวข้อเกี่ยวกับ 7 ขั้นปั้นอันดับ Website แล้วไอ้เจ้า XML Sitemap ซึ่งเป็นหัวข้อที่เราจะพูดกันในวันนี้ ก็เป็นหนึ่งในนั้น บางคนไม่รู้จริงๆ ว่าไฟล์นี้คืออะไร, มีไว้ทำไม แล้วเทคนิคการปรับแต่ง sitemap ให้เป็นที่ LOVE ของ บิ้ก G นั้น

ทำได้อย่างไร คำถามเหล่านี้ มี 7 ขั้นปั้นอันดับ Website คำตอบแล้ววันนี้ ที่นี่

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เว็บมาสเตอร์ต้องการให้ Bots หรือ spider เข้าถึงเว็บของตน เหล่าเว็บมาสเตอร์ทั้งหลายก็จะสร้าง HTML (Hypertext Markup Lanugage) Sitemap ไว้ ก็คือเป็นหน้าเว็บ HTML ธรรมดา แล้วก็ไปแปะเป็นลิ้งค์ไว้ที่ Footer

ต่อมาก็ได้มีการแนะนำวิธีใหม่ โดย Search Engines ว่าไม่เอาแระ HTML ไฟล์ มันง่ายไป ให้เปลี่ยนไปเป็น XML (eXtensible Markup Language) แทน จากวันนั้น ถึงวันนี้เว็บมาสเตอร์ก็ได้ยึดเอาสิ่งนี้เป็นสรณะ ในการป้อน URLs ให้กับ Search Engine

ไฟล์นี้ก็ไม่ต่างกับไฟล์เว็บ HTML ทั่วไป เนื้อหาในหน้าจะเต็มไปด้วย ลิ้งค์ไปยังส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ ไว้ให้ บ็อท (Bots) จาก Search Engine ค่ายต่างๆ เช่น Google, Yahoo เป็นต้น สามารถไต่ไฟล์นี้ ไปยังทุกๆหน้าของเว็บได้

แล้วไอ้เจ้า XML Sitemap นี้ จริงๆแล้วมันคือ อะไร (ฟระ!)

ตอบแบบรวบรัดว่า XML Sitemap คือไฟล์ประเภท XML หรือ eXtensible Markup Language โดยทั่วไปถูกอัพโหลดชึ้นไปเก็บไว้ใน Root ของเว็บไซต์ เช่น www.เว็บไซต์.com/sitemap.xml ไฟล์นี้จะทำหน้าที่บอก Search Engine Bots ค่ายต่างๆ ถึงโครงสร้างเว็บไซต์ว่าประกอบไปด้วย ไฟล์อะไรบ้าง อยู่ที่ไหนของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกการทำงานให้ Bots (ในการรวบรวม แยกแยะ วิเคราะห์) ส่งผลให้เว็บของคุณถูก จัดอันดับใน Search Engine ได้รวดเร็วขึ้น

โครงสร้าง XML Sitemap

ในไฟล์ XML Sitemap นี้ก็จะมีข้อมูลที่เราสามารถระบุไว้เพื่อบอก bots เช่น

  • เป็นไฟล์ประเภทไหน เป็น HTML ไหม หรือเป็น รูป หรือเป็นวีดีโอ
  • ตำแหน่งแห่งหนของไฟล์ หรือหน้าเว็บอยู่ที่ส่วนไหนของเซิร์ฟเวอร์ <loc>
  • หน้าเว็บต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนล่าสุดเมื่อไร <Lastmod>
  • มีการดัดแปลง แก้ไข ทำซ้ำ <changefreq> บ่อยแค่ไหน
  • รวมถีงคุณสามารถบอก Search Engine ได้ว่าไฟล์ไหนมีความสำคัญ <priority> มาก หรือ น้อย กว่ากัน

คุณอาจจะกำหนดให้หน้าหลัก หรือ Homepage priority สูงๆ (สูงสุด คือ 1 ต่ำสุดคือ 0) บ็อทก็จะให้ความสำคัญหน้า Homepage ของคุณเป็นพิเศษ

ด้านล่างเป็นตัวอย่างโครงสร้างของไฟล์ XML แบบเรียบง่ายที่สุด ลองดูกัน

<url>
<loc>http://www.example.com/mypage</loc>
<lastmod>2013-10-10</lastmod>
<changefreq>monthly</changefreq>
<priority>1</priority>
</url>

 

การสร้าง XML Sitemap

สำหรับท่านที่ต้องการสร้างไซต์แม็พ เองเลยก็ได้ไม่มีปัญหา แต่อาจใช้เวลาอยู่บ้างในกรณีที่เว็บไซต์ค่อนข้างใหญ่ ส่วนบางท่านอาจเริ่มเกาศรีษะ แกร็กๆๆๆ นึกว่า เอ๊ะเว็บเรามีเป็น 100 หน้า แล้วเมื่อไรจะสร้างเสร็จ อย่ากลัวไป! 

ผมมีตัวช่วยมาเสนอ และยิ่งดีขี้นไปใหญ่คุณสามารถใช้ได้ฟรีๆ  เรามาเริ่มกันที่ตัวเแรกเลย

Xenu link sleuth

(http://home.snafu.de/tilman/xenulink.html)

เครื่องมือตัวนี้จริงๆ แล้วเป็นเครื่องมือที่มีความสามารถมากกว่าการทำ sitemap นะครับ เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมืออเนกประสงค์สำหรับเราชาว SEO กันเลยทีเดียว ผมใช้ทำ SEO Audit เว็บต่างๆ นับร้อย มาหลายปี ทั้ง project ของตัวเอง และกับลูกค้าที่ทำให้ Agency ดีครับที่สำคัญ ฟรี 100% ไม่ว่า เว็บคุณจะใหญ่แค่ไหน!

วิธีการใช้มีแบบนี้ครับ

หลังจากโหลดซอฟร์แวร์มาแล้ว ก็ทำการติดตั้งปกติ จากนั้นก็ให้เปิดขึ้นมาครับ หน้าตาก็จะเป็นดังรูปด้านล่าง (ผมไม่ขอลงลึกการตั้งค่าละเอียดในโพสนี้ครับ ไว้มีโอกาสหน้าจะโพสให้คุณๆ ได้ อ่านกันต่อไปในการทำ SEO Audit แบบถึงแก่น) ก็ให้คุณใส่ URL เว็บของคุณลงไป จากนั้นกดปุ่ม OK ได้เลย

XENU ก็จะทำการไต่ และรวบรวม URL ทั้งหมด ไฟล์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น HTML, JavaScript, CSS เรียกว่าเหมายกเข่งกันเลยว่างั้น ก็ให้คุณไปทำอะไรอย่างอื่นก่อนได้ครับ ถ้าเว็บคุณค่อนข้างใหญ่ ขั้นตอนนี้ต้องให้เวลากับมันนิดนึง

พอเสร็จแล้ว ตัวโปรแกรมก็จะมีกล่องคำถาม บอกคุณว่าไต่เว็บคุณเสร็จแล้วจะดูรายงานไหม ก็ให้คุณข้ามไปก่อน ต่อไปเรามาดูกันว่าจะสร้าง XML Sitemap โดยใช้ Xenu Link Sleuth ได้อย่างไร ดูรูปด้านล่างประกอบไปด้วยครับ

ทีเมนูด้านบน ให้คุณกด File > Google XML Sitemap File … จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าคุณจะเซฟไฟล์ที่ไหน คุณก็ตั้งชื่อ (ส่วนใหญ่เขาใช้ชื่อ sitemap.xml กัน ผมก็ใช้ เลยแนะนำให้คุณใช้ด้วยนะ) แล้วก็บันทึก

จากให้คุณอาจจะเป็นไฟล์ที่ได้สร้างไว้ขึ้นมา อาจจะใช้ Notepad ก็ได้ครับ เพื่อดูรูปร่างหน้าตา เช็คความผิดปกติให้แน่ใจว่ามีอะไรไหมที่ประหลาด มี URL ที่ไม่ต้องการไหม มีหน้าที่ errors ไหม เช็คดีแล้วก็อัพโหลดขึ้นไปในเว็บเซิฟเวอร์ได้เลย เท่านี้คุณก็มีแผนผังเว็บไซต์ XML ไว้ใช้กันแล้ว

ปล. การตรวจเช็คอย่างละเอียดผมขอละไว้ เพราะเนื้อหาจะออกไปในทาง Advanced SEO ท่านใดที่สนใจตามไปเสพกันได้ที่โพส “เทคนิคการปรับแต่ง XML Sitemap ให้ SEO แรงส์กว่าใคร“

Sitemap Generator

(www.xml-sitemaps.com)

วิธีการใช้ก็ง่ายดายครับ เปิดหน้าเว็บขึ้นมาแล้วก็ระบุค่าตามภาพด้านบน เสร็จลแล้วกดปุ่ม Start แรงๆ หนึ่งที จากนั้นก็อดใจรอประมาณ 10วิ แล้วแต่ความใหญ่ของเว็บไซต์ด้วย แต่ละเว็บอ่าจไม่เท่ากัน เมื่อระบบประมวลผลเสร็จคุณสามารถโหลด XML sitemap ที่เพิ่งสร้างมาเก็บไว้ในเครื่อง เพื่อเช็คเนื้อหาว่าถูกต้องไหม จากนั้นก็อัพโหลดเข้าไปใน Root directory ได้เลย เป็นอันเสร็จพิธี เครื่องมือตัวแรกนี้มีข้อจำกัด อยู่บ้าง กล่าวคือ จำนวนหน้ามากที่สุดที่ระบบยอมรับคือ 500 หน้า ครับ สำหรับเว็บที่มีหน้ามากกว่านี้ อาจพิจารณา อัพเกรด อันนี้มีค่าใชจ่าย!

Bonus: เอาละครับ ถึงตรงนี้คุณรู้แล้วว่า XML Sitemap หรือแผนผังเว็บไซต์เวอร์ชั่น XML คืออะไร, ใช้ทำอะไร, แล้วจะสร้างไฟล์นี้ ได้อย่างไร ถ้ายังไม่หนำใจ ผมแถมให้อีกนิด

ส่งไฟล์แผนผังเว็บไซต์ให้ ทาง Google (How to submit your sitemap to Google)

ขัันตอนที่1: ก็อบปี้ URL ของไฟล์ XML ที่คุณโหลดขึ้น Server ไว้ เช่น ถ้าคุณตั้งชื่อแผนผังเว็บไซต์คุณว่า my-sitemap.xml แล้วอัพโหลดไว้ใน root URL ของแผนผังเว็บไซต์คุณก็จะเป็นลักษณะนี้ www.yourdomain.com/my-sitemap.xml

ขั้นตอนที่2: ไปที่ Google Search Console หรือเมื่อก่อนเราเรียกว่า Google Webmaster Tool อย่างเดียวกันครับ ในกรณีที่คุณยังไม่มี account ให้ทำการสร้างให้เรียบร้อยก่อนครับ

ขั้นตอนที่3: เมื่อล็อคอินเข้าไปเรียบร้อยแล้ว ไปที่ Crawl > Sitemaps แล้วคลิกปุ่มแดงสีเลือดนก (กระจิบ) “ADD/TEST SITEMAP” ดูรูปด้านล่างประกอบ

เสร็จแล้วก็จะได้รูปตามด้านล่างเป็นอันเสร็จ จบสิ้นกระบวนความ

OK ครับผม หวังว่าเว็บ  สอน การ ตลาด ออนไลน์  จะทำให้หลายท่านคงถึงบางอ้อ และมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเจ้า แผนผังเว็บไซต์ชนิด XML นี้นะครับ

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *