คอร์ส อบรม seo แนะนำ 7 วิธี รับมือเมื่อเกิด Brand Crisis ควรทำอย่างไร

คอร์ส อบรม seo แนะนำ 7 วิธี รับมือเมื่อเกิด Brand Crisis ควรทำอย่างไร

สวัสดีทุกท่าน ในวันนี้ คอร์ส อบรม seo จะมาแนะนำเทคนิคเคล็ดลับดีดี กันอีก ครั้ง โดยในปัจจุบัน โลกออนไลน์มีอิทธิพลอย่างมาก  ที่ทำให้ผู้บริโภคมีพลังในการสื่อสารด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่า freedom of speech เสรีภาพในการพูด การแสดงออก ไม่ว่าถูกหรือผิด เป็นการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่าน Digital ในหลายๆ ช่องทาง ซึ่งช่องทางทั้งหมดออกแบบมาเพื่อผู้บริโภคมากกว่าแบรนด์ ทำให้คนที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากแบรนด์มารวมตัวกัน  ซึ่งเราวัดมูลค่าความเสียหายไม่ได้เลย

แต่ถ้าจะวัดจากการเข้าใจจากคอร์ส  อบรม seo ว่าจะรู้ถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ไหม  ถ้าเป็นสมัยก่อน  เมื่อแบรนด์ได้รับผลกระทบจากการออกสื่อทางทีวี  อาจจะใช้วิธีแก้ข่าว  แต่พอถึงยุคสมัยปัจจุบัน  มีความเสียหายที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย  เราวัดระดับความเสียหายไว้หลายๆ ระดับ แต่ระดับสูงสุดคือ การเสิร์ชติดบนกูเกิ้ล  มีคำที่ทำให้แบรนด์เสียหายปรากฎขึ้นในหน้าแรก Google

คนที่ทำออนไลน์จะรู้ว่า ถ้าข้อความแบบนี้ ปรากฎใน Google แล้วมันจะเอาลงยากมาก หรืออาจจะต้องใช้กำลังทรัพย์สูงมาก ในฐานนะคนทำแบรนด์จึงต้องชี้แจงกระบวนการนำส่งข้อเท็จจริง  ให้กับผู้บริโภครับทราบ ตอกย้ำความเชื่อมั่น และเชื่อถือในแบรนด์  ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องยากและไม่มีสูตรสำเร็จ

อบรม seo

 

เมื่อวิกฤตเกิดขึ้น สิ่งที่ควรมีในการจัดการวิกฤตินั้น เราจะรับมือกันอย่างไร

1.การเตรียมแผนล่วงหน้าที่ชัดเจน

ทุกแผนต้องมาจากเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ได้รับข้อมูลอยู่เสมอ  มีการลงรายละเอียดในระดับปฏิบัติการเอาไว้ชัดเจน เพื่อให้นำไปใช้ได้ทันทีที่เกิดวิกฤติขึ้น

2.เตรียมผู้ที่จะชี้แจงรายละเอียดไว้เสมอ

เพื่อให้องค์กรสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็ควรจะระบุตัวคนที่จะเป็นตัวแทนขององค์กรในการให้ข่าว ตอบคำถามสื่อ ให้สัมภาษณ์

3.ซื่อสัตย์ จริงใจ เปิดใจ

            ยิ่งมีกระแสแรงเท่าไหร่  ยิ่งทำให้เร้าความสนใจของสื่อได้มากเท่านั้น ปัจจุบันนี้พวกนักสืบออนไลน์ทำงาน 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว โอกาสที่จะรอดจากการบิดเบือน ปิดบังมักที่จะเป็นเรื่องยาก เมื่อยิ่งถูกจับโกหกได้ ก็จะยิ่งตีข่าวไปเรื่อยๆ  ทั้งโดยสื่อและกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้น แบรนด์ควรจะเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความจริงให้มากที่สุด  เท่าที่จะเปิดเผยได้ในทุกๆ ช่องทางการสื่อสาร เช่น การให้สัมภาษณ์กับสื่อ โซเชียลมีเดีย และการสื่อสารภายในองค์กร

4.แจ้งให้พนักงานทราบถึงเรื่องที่เกิดขึ้น

ในระหว่างที่แบรนด์เกิดวิกฤต ต้องให้ข่าวแบบรายชั่วโมง การสื่อสารกับพนักงานก็เป็นเรื่องสำคัญจะทำให้ธุรกิจขององค์กร ดำเนินไปได้อย่างปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระจายข่าวลือภายใน  ที่อาจจะทำให้พวกเขาไปโพสต์ อะไรให้องค์กรเสียหายหนักเข้าไปอีก  ดังนั้นอย่าปล่อยให้เป็นเรื่องที่รู้กันเฉพาะระดับหัวแถวขององค์กรเท่านั้น เพราะพนักงานทุกคน คือตัวแทนแบรนด์

5.สื่อสารกับลูกค้าหรือซับพลายเออร์

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่พวกเขาจำเป็นต้องรู้ควรจะมาจากองค์กรของเราเป็นที่แรก ส่วนสำคัญของแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤติต้องรวมไปถึงความถี่และข้อมูลที่จะสื่อสารกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ด้วย

6.อัปเดตสม่ำเสมอและรวดเร็ว

การสื่อสารให้มากย่อมดีกว่าปล่อยให้ข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่ว เราอยู่กันในยุคที่ข้อมูลข่าวสารถูกรับ-ส่งกันตลอด 24 ชั่วโมง แผนจัดการวิกฤติของแบรนด์ บทสรุปจากผู้บริหาร แผนการรับมือและป้องกัน แผนการฟื้นฟู  สิ่งเหล่านี้ควรจะถูกอัปเดตให้บ่อยและเร่งด่วนที่สุด

7.ใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือ

เป็นช่องทางที่มีการสื่อสารมากที่สุด คนเราใช้อินเตอร์เน็ตตลอด 24ชั่วโมง เมื่อเกิดวิกฤตแบรนด์ควรที่จะตั้งทีมดูแลโซเชียลมีเดีย เพื่อโพสต์หรือคุยโต้ตอบกับผู้คนและลูกค้าที่อยู่ในโลกออนไลน์

ดังนั้น คอร์ส  สัมมนาการตลาดออนไลน์ อยากจะบอกทุกคนว่า ถ้าเกิดวิกฤติแต่ไม่ได้รับการจัดการที่ดี อาจจะทำลายชื่อเสียงที่แบรนด์สั่งสมมานานภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง  แต่หากองค์กรสามารถรับมือรับวิกฤตินั้นได้ดี มันจะเป็นข้อพิสูจน์ว่าองค์กรมีความสามารถที่จะยืนหยัดและพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต   อ่านแล้วลองนำไปปรับใช้กับแผนขององค์กรของคุณ เพื่อเตรียมพร้อมกับปรากฏการณ์ Brand Crisis ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่อย่าให้ไปถึงจุดนั้นเลยจะดีกว่า

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *