สำหรับเพื่อนๆชาวเว็บ สัมมนาอสังหา คนไหนที่สนใจเรื่อง “ฮวงจุ้ย” คงพอจะรู้ว่า “ห้องครัว” เป็นห้องที่มีความสำคัญไม่แพ้ห้องใดๆ ในบ้าน เนื่องจาก “ห้องครัว” เปรียบเสมือนปากท้องของสมาชิกทุกคนในบ้าน
แล้วรู้ไหมว่าการปรับตามหลักฮวงจุ้ยนั้น ในห้องครัวมีการตกแต่งสารพัด แต่จะมี 10 อันดับเหล่านั้น ที่คนทั่วไปนิยมใช้เป็นวิธีปรับแก้ฮวงจุ้ยมากที่สุดซึ่งวันนี้เว็บ สัมมนาอสังหา จะมาแนะนำให้อ่านกัน
1.ตกแต่งห้องครัวด้วยงานศิลปะ
งานศิลปะเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่ง สุขภาพดี
2.จัดเรียงตู้หรือชั้นเก็บของให้เป็นระเบียบ
แยกหมวดหมู่ของใช้ภายในตู้หรือลิ้นชักให้ชัดเจน
3.ตรวจตราดูว่าพลังชี่ไหลเวียนได้ดีไหม
โดยพิจารณาว่าของใช้ภายในห้องครัวแต่ละชิ้นใช้งานได้สมบูรณ์แบบไหม มีชิ้นไหน หัก พังหรือชำรุดก็ให้ซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่
4.ทำความสะอาดเคาน์เตอร์
เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวหรือเคาน์เตอร์ภายในห้องครัวให้สะอาดทุกจุด
5.ปรับชั้นวางให้เก็บของได้มากขึ้น
6.ทำความสะอาดของทั้งภายในและภายนอก
เช่นการทำความสะอาดลิ้นชัก ตู้ เครื่องใช้ติดผนัง ฯลฯ โดยต้องเช็ดทำความสะอาดทั้งด้านนอกและด้านในของเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้น
7.จัดห้องครัวให้มีความสมดุล
ด้วยธาตุดิน น้ำ ไฟ โลหะ และไม้ โดยธาตุไม้อาจใช้ชามไม้เล็กๆ วางเพื่อสร้างความสมดุลให้กับห้องครัว
8.จัดวางของที่จำเป็นให้เข้าที่
บางครั้งสาเหตุที่ทำให้ห้องครัวของคุณรก ไม่เป็นระเบียบ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคุณหยิบข้าวของทุกชิ้นออกมาใช้งานพร้อมๆ กัน หรือวางของใช้ต่างๆ ไม่เป็นระเบียบ ดังนั้นให้ดูว่าของชิ้นไหนไม่ได้ใช้ก็ให้เก็บไว้ลึกๆ
9.เตาต้องสะอาด
เตาถือเป็นหัวใจสำคัญของบ้าน ดังนั้นควรหมั่นทำความสะอาดเตาของคุณ
10.ใช้กระจกสร้างความมั่งคั่ง
เตาเป็นสัญลักษณ์ของการเผาผลาญความมั่งคั่ง ดังนั้นการติดกระจกติดไว้ด้านหลังเตาจะช่วยสะท้อนพลังเผาผลาญเหล่านี้ออกไป
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *