เรียนนายหน้าอสังหา “ฮวงจุ้ยห้องครัว” เรื่องที่คนซื้อบ้านควรรู้

เรียนนายหน้าอสังหา “ฮวงจุ้ยห้องครัว” เรื่องที่คนซื้อบ้านควรรู้

เมื่อครัวเปรียบเสมือน คลังสมบัติหรือหัวใจของบ้าน ดังนั้นแอดมินว่า เรียนนายหน้าอสังหา คนที่เพิ่งซื้อบ้านจึงควรให้ความใส่ใจกับการตกแต่งห้องครัว

ทั้งส่วนของตำแหน่งห้องครัว เฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า เรียนนายหน้าอสังหา ให้ถูกต้องกับฮวงจุ้ยห้องครัว เพื่อให้สมาชิกในบ้านพบเจอแต่ความสงบสุข สุขภาพดี และหนุนนำเรื่องความมั่งคั่งมาสู่คนในบ้าน

ตำแหน่งห้องครัว หนุนเงิน

ตำแหน่งของห้องครัว ถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮวงจุ้ยห้องครัว เนื่องจากห้องครัวเปรียบเสมือนแหล่งรวมพลังงานธาตุไฟ ดังนั้นหากจะให้ถูกหลักฮวงจุ้ยห้องครัว จึงควรอยู่ในตำแหน่งที่ถ่ายเทอากาศสะดวก เพราะตามศาสตร์ความเชื่อของฮวงจุ้ย เป็นการไหลเวียนพลังงานไม่ดีออกสู่ตัวบ้าน ประกอบกับในเชิงของสถาปัตยกรรม หากออกแบบห้องครัวให้มีช่องระบายอากาศ หรืออยู่ในตำแหน่งที่สามารถถ่ายเทอากาศได้สะดวก ก็จะทำให้บ้านหลังนั้น ไม่ต้องเผชิญกับกลิ่นอาหารเข้าบ้านอีกทั้งโดยปกติแล้ว ปัญหาเหล่านี้ไม่ค่อยพบในกลุ่มผู้อยู่อาศัยแนวราบ อย่างทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว หรือทาวน์โฮม แต่กลุ่มที่อยู่คอนโด อาจจะต้องเจอกับการปรับแก้ตำแหน่งของห้องครัวให้ถูกหลักฮวงจุ้ยห้องครัว เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วแปลนห้องชุดมักถูกออกแบบให้มีพื้นที่ประกอบอาหารในลักษณะครัวเปิด บริเวณทางเข้าห้อง หรืออยู่ในตำแหน่งติดกับห้องน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งที่ไม่ดี เนื่องจากห้องน้ำเปรียบเสมือนแหล่งสะสมความสกปรก ส่วนห้องครัวเปรียบเสมือนคลังสมบัติหรือหัวใจของบ้าน

ห้องครัวอยู่ติดห้องน้ำ

ตามศาสตร์ฮวงจุ้ยห้องครัวเชื่อสิ่งไม่ดีที่อยู่ในห้องน้ำจะเข้ามาอยู่ในครัว ผลที่ตามมาคือจะทำให้สมาชิกในบ้านเจ็บป่วย มีปัญหาสุขภาพ ดังนั้นวิธีแก้ของคนที่อยู่คอนโดฯ แน่นอนว่าไม่สามารถจะโยกย้ายห้องน้ำหรือห้องครัวออกไปที่อื่นได้ ดังนั้นอาจใช้วิธีทำประตูบานเลื่อนบังประตูห้องน้ำอีกที เพื่อไม่ให้พลังงานไม่ดีในห้องน้ำรั่วไหลออกมา ประกอบกับยังมีความเชื่อว่าช่วยให้เงินทองในบ้านไม่รั่วไหลอีกด้วย

“เครื่องใช้ไฟฟ้า” อีกหนึ่งประเด็นสำคัญของฮวงจุ้ยห้องครัว

นอกจากจะต้องคำนึงถึงเรื่องตำแหน่งของห้องครัว ให้ถูกต้องตามศาสตร์ฮวงจุ้ยห้องครัวแล้ว องค์ประกอบอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้ายังถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ ที่คนซื้อบ้านควรรู้ เพื่อจะได้ช้อปปิ้งเครื่องใช้ไฟฟ้ามาวางใสนตำแหน่งที่ถูกต้อง ทั้งนี้ตำแหน่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกหลักตามศาสตร์

ฮวงจุ้ยห้องครัว นั่นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. สำหรับคนที่เพิ่งซื้อบ้าน แล้วอยู่ในช่วงของการตกแต่งห้องครัว แนะนำว่าไม่ควรออกแบบให้พื้นที่ทำอาหารอย่างเตาไฟฟ้า นั้นอยู่ใกล้กับอ่างล้างจาน เนื่องจากตามหลักการฮวงจุ้ยห้องครัว ว่ากันว่าจะทำให้ธาตุไฟกับธาตุน้ำปะทะกัน จึงส่งผลต่อสุขภาพของสมาชิกภายในบ้าน ดังนั้นวิธีการแก้จึงควรตั้งให้ห่างกันประมาณ 1 เมตร แต่ถ้าหากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ สามารถนำของตกแต่งมาวางกั้นระหว่างเตาไฟฟ้าและอ่างล้างจานได้

2. การวางเตาไฟฟ้าสำหรับประกอบอาหาร บางบ้านที่ต้องการแต่งห้องครัวให้เป็นลักษณะครัวเปิด จะนิยมให้มีเตาไฟฟ้าอยู่บริเวณตรงกลางของห้องครัว แน่นอนว่าอาจจะได้ความสวย ทันสมัย แต่ในทางหลักการฮวงจุ้ยห้องครัว เชื่อกันว่าหากมีเตาตั้งอยู่กลางห้อง หรือกลางบ้าน จะทำให้สมาชิกในบ้านร้อนรุ่ม
3. บ้านไหนที่นิยมนำโต๊ะกินข้าวไว้บริเวณห้องครัว ให้คำนึงถึงตำแหน่งของโต๊ะกินข้าวที่ถูกต้องตามศาสตร์ฮวงจุ้ยห้องครัว ซึ่งไม่ควรนำไปติดตั้งบริเวณใต้คาน เพราะจะทำให้สมาชิกในบ้านมีปัญหาสุขภาพเช่นเดียวกัน

การจัดห้องครัวตามศาสตร์ฮวงจุ้ยห้องครัว

นอกจากเรื่องตำแหน่งของห้องครัวและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควรรู้แล้ว ยังมีเคล็ดลับการจัดห้องครัวให้ส่งเสริมเรื่องเงิน และสุขภาพของสมาชิกในบ้านดังนี้
1. ลักษณะของห้องครัวที่ดีควรมีแสงสว่างที่เหมาะสม เพื่อดึงดูดพลังงานดีเข้ามาในบ้าน
2. ตามศาสตร์ฮวงจุ้ยห้องครัวเชื่อว่า จาน ชาม สีขาวที่ถูกเลือกมาใช้ในห้องครัว เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ของคนในบ้าน
3. ตามหลักฮวงจุ้ยห้องครัวสีที่ถูกโฉลกกับห้องนี้ จะเป็นโทนสีเย็น อย่างน้ำตาลหรือเขียวอ่อน เพราะสามารถช่วยลดความร้อนในครัวได้

ใครที่เพิ่งซื้อบ้านหรือคอนโด อบรมนายหน้าอสังหาฟรี นอกจากจะต้องใส่ใจเรื่องตำแหน่งทิศทางของบ้านให้ถูกหลักฮวงจุ้ยแล้ว ห้องครัวก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งของบ้านที่ควรคำนึงถึง เพื่อที่จะจัดวางตำแหน่งของครัวหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกหลักศาสตร์ฮวงจุ้ยห้องครัว

 

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *