ลาออกจากงานประจำมาแล้ว 2 อาทิตย์ กลายเป็นนักธุรกิจเต็มตัวโดยอาศัยคอร์ส 7 ขั้นปั้นอันดับ Website บริหารบริษัทตัวเองด้วยเงินเก็บจากธุรกิจเดิมความรู้สึกมันยิ่งกว่าการย้ายงาน จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง แต่นี้ต่างออกไป
การย้ายจากโลกของมนุษย์เงินเดือน ไปสู่โลกของคนทำธุรกิจส่วนตัว ที่แข่งขันกันอย่างเข้มข้นและรุนแรงกว่า ซึ่งคุณสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านี้ได้ด้วย 7 ขั้นปั้นอันดับ Website ที่จะพาคุณไปถึงฝั่งฝันของการทำธุรกิจได้ง่ายยิ่งขึ้น
3 เทคนิคของการทำธุรกิจ
- เร็ว : ลงมือทำได้เร็ว
- แรง : Passion รุนแรง
- เปลี่ยนแปลงแบบสุดขั้ว : พัฒนาตัวเองทุกเรื่อง
ประโยชน์ของเทคนิคนี้ ช่วยประหยัดต้นทุนได้มาก Focus ที่การสร้างผลงานที่ดี โพสลงเว็บไซต์และ Fanpage ค่อยๆสร้างฐานแฟนเพจ และไต่อันดับ Google SEO ด้วยการให้ความรู้ควบคู่กัน
ข้อดี งานประจำ กับ ธุรกิจส่วนตัว
ข้อดีของงานประจำ
1 ในทีมงานขอบริษัท ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เองอย่างดี และรับผิดชอบงานตัวเองได้ดีเยี่ยม
- มั่นคงกว่า และเสี่ยงน้อยกว่า
- ไม่ต้องกำหนดเป้าหมายระยะยาว เพราะมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารค่อยกำหนดทิศทาง
- หากพลาด ก็มีทีมงานหรือแผนกอื่นทำให้ธุรกิจไปต่อได้
- เงินเดือนคาดการณ์ได้
- มีเวลาวางแผนระยะยาวเรื่องเงินได้ดี
ข้อดีของธุรกิจส่วนตัว
ธุรกิจส่วนตัว ต้องกำหนดทิศทางและวางแผลกลยุทธ์ระยะยาว จะอยู่รอด หรือล้มเหลวก็ขึ้นกับวิสัยทัศน์เป็นสำคัญ
- รายได้เกิดจากยอดขาย ไม่ใช่ฐานเงินเดือนร่วมกับคนอื่น
- กำหนดทิศทางทั้งตัวเอง และบริษัทที่รับผิดชอบในระยะยาว
- มีอำนาจเต็มที่ในการตัดสินใจ ทั้งเรื่องเวลาและเงินทอง
- มีอิสระภาพในการคิดและการทำได้ 100%
- ปลุกศักยภาพของตัวเองได้ถึงขีดสุด
โดยปกติธุรกิจส่วนตัวนั้นจะต้องอาศัย การตลาดเป็นหลัก เพราะ คุณอาจจะต้องทำงานเองคนเดียว ถ้าต้่นทุนการทำธุรกิจไม่ได้มากเหมือนบริษัทใหญ่ๆ และ ต้องลองเสี่ยงด้วยตัวเอง ถ้าธุรกิจไปได้ดี ผลประกอบการก็จะมากตาม แต่ถ้า เป็นงานประจำ เราไม่ต้องกังวลในจุดนี้มากนักเพราะว่า เรามีทีมงานแบ่งหน้าที่กันทำ ถ้าพลาดอย่างน้องก็โดนตำหนิ โดนใบเตือน โดนหักเงินเดือนซึ่งมีโอกาศแก้ตัวอยู่เสมอ
เส้นทางของการทำธุรกิจส่วนตัว ต้อง Start ที่เป้าหมายของชีวิต แรงบันดาลใจ, พลังในการขับเคลื่อน และต้องใช้ความเข็มแข็งทางจิตใจที่มากกว่าตอนทำงานประจำมาก เพราะต้องรับผิดชอบบางสิ่งบางอย่าง ที่ไม่ได้เรียนรู้มาเลยในชิวิตงานประจำและมหาลัย นั้นคือ การวางกลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาวที่สามารถทำให้อยู่รอดและเข้มแข็งได้
ในงานประจำ สิ่งที่ต้องสู้ คือการพัฒนาตัวเอง และรับผิดชอบงานให้ลุล่วงด้วยดี ตัวเราเป็นฟันเฟืองหนึงในธุรกิจ หากเราไม่เก่งพอ ก็ยังมีคนในทีมอื่นๆหนุนหลังให้ธุรกิจไปต่อได้ แต่ในหนทางของธุรกิจส่วนตัว เราเป็นแกนกลางของธุรกิจ เราต้องสู้กับคู่แข่งอย่างน้อยๆทั่วประเทศไทย และต่างประเทศในอนาคต ฉะนั้นเราต้องพัฒนาตัวเองให้ดีเยี่ยมในระดับของประเทศ
เมื่อพลาดในงานประจำ กับ ธุรกิจส่วนตัว
ทำธุรกิจส่วนตัวหากพลาดติดต่อกันหลายๆครั้ง รายได้จะหาย ต้นทุนจะเพิ่ม ล้มเหลวถึงขั้นเจ๊งได้ ไม่เหมือนงานประจำ ถ้าพลาดอย่างมากคือโดนด่า หักเงินเดือน มีโอกาสแก้ไขแต่รายได้ไม่หายไป
ความเสี่ยง มาคู่กับผลตอบแทนที่งดงาม
เหมือนการลงทุนซื้อหุ้น หรือ เล่นการพนัน การทำธุรกิจก็เช่นกัน ถ้ามีความเสี่ยงแต่คุณสามารถโฟกัส ไม่ให้ความเสี่ยงนั้นทำให้ธุรกิจของคุณเสียหายหรือพลาดพลั้ง ผลตอบแทนที่ได้ อาจจะงดงามพอๆ กับการถูกหวยเลยก็ได้
คนที่มีความสามารถในการรับมือกับปัญหาที่ยิ่งใหญ่, ใช้สติ, การควบคุมอารมณ์ที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี มักจะได้ทำงานที่ท้าทาย และได้ค่าตอบแทนงดงามกว่างานธรรมดาทั่วไป
นั้นก็เพราะเขาเป็นคนกลุ่มน้อยที่ควรค่ากับการได้รับค่าตอบแทนนี้เอง เงิน, โอกาส และความสุข จะวิ่งเข้าหาคนที่มีความสามารถและบอกให้โลกรู้ว่า ความสามารถของเขาช่วยเหลือคนอื่นได้อย่างไร ?
สรุป
เมือทำธุรกิจส่วนตัวเต็มเวลาครั้งแรก ร่างกายยังไม่ปรับตัวให้ชิน และกิจวัตรประจำวันการทำงานไม่ค่อยเป็นเวลา ไม่มีใครกำกับเวลาเข้างานและออกงาน ชีวิตมีทั้งแบบอิสระและสะเปะสะปะปนไปหากเป็นแบบนี้ต่อไป ร่างกายจะไม่สมดุล ส่งผลร้ายในภายหลัง โดยเฉพาะวิสัยทัศน์ ก็ยังได้รับการปิดเบือน และอาจตามึดบอดมองไม่เห็นอนาคต หนทางข้างหน้าธุรกิจลำบากแน่นอน หากสนใจพัฒนาตัวเองสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เว็บ สอน seo ขั้นเทพ
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *