พื้นที่ทางเข้าหน้าบ้านนั้นเรียกได้ว่าเป็นเสมือนหน้าตาของบ้านที่ทีม สัมมนานายหน้าอสังหา บอกซึ่งจะสื่อความหมายของรสนิยมความชอบของเจ้าบ้าน และหากเปรียบราวกับบ้านเป็นหนังสือ พื้นที่ส่วนนี้ก็ถือเป็นหน้าปกและบทนำที่จะเป็นส่วนนำผู้อ่านหรือผู้มาเยี่ยมเยือนให้เกิดความรู้สึกและความพร้อมก่อนจะเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ภายใน การออกแบบพื้นที่ทางเข้าหน้าบ้านที่ดีจึงไม่เป็นเพียงการยกระดับหน้าตาและความสวยงามเพียงเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการทำหน้าที่เป็นส่วนปรับและเปลี่ยนถ่ายอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้งานทั้งก่อนที่จะเข้าไปยังพื้นที่ภายใน และก่อนที่จะออกมาพบกับพื้นที่ภายนอกบ้าน
ในเมื่อพื้นที่หน้าบ้านมีความสำคัญต่อผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยี่ยมเยือนมากขนาดนี้ทีม สัมมนานายหน้าอสังหา จึงไม่รอช้าที่จะสรรหาไอเดียการออกแบบตกแต่งพื้นที่ทางเข้าหน้าบ้านของคุณให้มีคุณภาพที่ดีทั้งด้านความงามและการใช้งาน โดยครั้งนี้เรารวบรวมไอเดียมาให้คุณๆผู้อ่านได้เลือกสรรไอเดียที่ถูกใจสำหรับนำไปปรับใช้กับบ้านของคุณมากถึง 25 ไอเดีย ซึ่งแต่ละไอเดียจะมีความโดดเด่นและสวยถูกใจขนาดไหนนั้น คงต้องไปชมกันด้วยตาคุณเองเสียแล้ว
- พืชพรรณไม้เลื้อยสร้างความเป็นธรรมชาติ
หากพื้นที่หน้าบ้านคุณมีขนาดที่ไม่กว้างขวางมากนัก งานภูมิทัศน์เล็กๆน้อยๆอย่างเช่นพืชพรรณจำพวกไม้เลื้อยและไม้พุ่ม เป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยให้หน้าบ้านของคุณมีบรรยากาศที่ไม่แข็งกระด้าง และดูสดชื่นเป็นธรรมชาติมากขึ้น
- นำความรู้สึกด้วยบันไดไปสู่ประตูบ้าน
ขั้นบันไดเล็กๆช่วยให้พื้นที่มีการนำความรู้สึกก่อนจะเข้าไปยังตัวบ้านได้เป็นอย่างดี วัสดุที่นักออกแบบส่วนใหญ่เลือกใช้ก็มักจะเป็นวัสดุจำพวกหินซึ่งทนทานต่อการใช้งานและสภาพแวดล้อม ตกแต่งสองข้างทางเข้าด้วยสนามหญ้าหรือพืชพรรณสีเขียว ก็ช่วยปรับความรู้สึกของผู้ใช้งานได้อย่างดี
- แผ่นทางเดินไม้ สัมผัสอบอุ่นแบบบ้านชนบท
ทำบรรยากาศหน้าบ้านของคุณให้ดูอบอุ่นเป็นกันเองราวกับเป็นบ้านชนบทได้ง่ายๆด้วยแผ่นทางเดินไม้ ลองใช้วิธีการปูแผ่นทางเดินแบบเว้นช่องว่างระหว่างก้าวแต่ละก้าว เติมช่องว่างด้วยพืชพรรณไม้คลุมดิน ทำให้หน้าบ้านมีบรรยากาศเป็นมิตรราวกับเป็นบ้านชนบทที่มีบรรยากาศอันอบอุ่น
- สัมผัสของพื้นผิวกรุผนังที่แตกต่าง สร้างความน่าสนใจ
สังเกตการเลือกใช้วัสดุกรุพื้นผิวผนังนอกบ้าน และวัสดุที่ใช้กับรั้วและพื้นทางเดินซึ่งเน้นการใช้วัสดุโทนสีเทาดำ ทั้งหินกาบ หินแกรนิตและไม้สีดำ ซึ่งให้บรรยากาศแบบดิบเท่และสร้างมิติด้านมุมมองให้ดูหน้าบ้านดูสวยแบบบ้านโมเดิร์น
- ทางเข้าบ้านลึกแต่ไม่ลับ มีชั้นเชิงด้วยการหลบมุม
เว้นพื้นที่สำหรับทางเข้าหน้าบ้านสักนิดเพื่อไม่ให้ปะทะกับพื้นที่ทางเดินหรือบริเวณลานจอดรถมากเกินไป การหลบมุมประตูทางเข้าบ้านไม่ให้มองเห็นได้ชัดเจนถือเป็นผลดีที่ทำให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
- โถงทางเดินโปร่งนำไปสู่ทางเข้า
ก่อนจะเข้าไปยังประตูเข้าบ้าน พื้นที่ส่วนเชื่อมต่อที่ออกแบบเป็นโถงทางเดินโปร่งที่สามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่สวนและสนามหญ้า และตกแต่งส่วนกำบังแดดฝนด้วยไม้ เป็นกลวิธีที่ช่วยให้เกิดความดึงดูดให้นำไปยังตัวบ้านภายใน ทั้งยังเป็นการปรับความรู้สึกก่าอนที่จะเข้าไปยังตัวบ้านด้วย
- ไม้ วัสดุสวยช่วยสร้างความอบอุ่นให้รูปลักษณ์
การเลือกใช้ไม้ในการเป็นวัสดุสำหรับกรุพื้นผิวผนังนอกบ้านเป็นการช่วยสร้างรูปลักษณ์ของบ้านให้มีความอบอุ่นและดูเป็นมิตรกับผู้มาเยือนราวกับเป็นบ้านชนบทเรียบง่าย ซึ่งวัสดุไม้นี้สามารถเข้ากันได้ดีกับวัสดุอื่นๆทั้งหินหรือคอนกรีตซึ่งเป็นวัสดุสมัยใหม่ โดยเจ้าบ้านสามารถเลือกสรรทั้งตัววัสดุและวิธีการตกแต่งผนังหน้าบ้านได้อย่างหลากหลายตามใจชอบ ทั้งยังมีราคาค่าก่อสร้างที่ไม่แพงอย่างที่คิด
- กรอบมุมให้กับบริเวณประตูทางเข้า เพื่อเน้นความสำคัญ
บริเวณทางเข้าหน้าบ้านอาจแลดูเรียบๆไม่มีมิติหากไม่มีการกรอบล้อมพื้นที่โดยรอบ ทั้งนี้การกรอบพื้นที่ลักษณะนี้ยังเป็นผลดีด้านการใช้งานโดยเป็นส่วนปกคลุมกันแดดและฝน เป็นพื้นที่ปรับความรู้สึกและคั่นกลางป้องกันการปะทะกันของตัวบ้านและพื้นที่ภายนอกได้เป็นอย่างดี การเลือกใช้วัสดุอาจเลือกใช้หินซึ่งเป็นวัสดุที่ทนทานและให้รูปลักษณ์สัมผัสที่เป็นธรรมชาติ
- ไฟส่องสว่าง สร้างบรรยากาศและเน้นสัมผัสวัสดุให้น่าสนใจ
เทคนิคการใช้ไฟในการส่องไปยังพื้นผิววัสดุนั้นถือเป็นเทคนิคที่เป็นที่นิยมในการช่วยให้บ้านแลดูใส่ใจในความงามและรูปลักษณ์ในยามค่ำคืน นอกจากความสวยงามของพื้นผิวที่ผ่านแสงไฟให้เห็นเป็นแสงเงาสวยงามแล้วนั้น ยังช่วยในเรื่องของความปลอดภัยของตัวบ้านในยามค่ำคืนอีกด้วย
- ใส่ใจรายละเอียดของพืชพรรณบริเวณทางเดินให้มากขึ้น
จากภาพจะเห็นได้ชัดเจนถึงรายละเอียดของการใช้พืชพรรณกับทางเดินที่นำไปสู่ทางเข้าบ้าน ตั้งแต่แผ่นหินทางเท้าที่มีการวางเว้นร่องสำหรับปลูกพืชคลุมดินจำพวกหญ้าขึ้นระหว่างแผ่นหิน ส่วนสองข้างทางเดินใช้ไม้พุ่มขนาดเล็กเรียงตัวไปตามแนวทางเดิน ช่วยสร้างความสดชื่นให้กับการใช้งานได้อย่างง่ายๆ
- ประตูไม้และแผงกันแดด ความงามอบอุ่นที่ผสานความโมเดิร์น
สำหรับบ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัวแต่ไม่ต้องการความรู้สึกอึดอัดทึบตันนั้น ทางเข้าบ้านที่ออกแบบให้ใช้วัสดุไม้เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้ความแข็งกระด้างนั้นถูกลดลง และให้ความรู้สึกอบอุ่นมากขึ้น เพิ่มคุณภาพการใช้งานด้วยแผงกันแดดระแนงไม้ ทำให้การใช้งานและภาพลักษณ์มีความโมเดิร์นยิ่งขึ้น
- หลังคาเหลื่อมซ้อน เน้นความสำคัญและกำบังแดดฝน
การออกแบบให้พื้นที่ทางเข้าตัวบ้านมีหลังคาเหลื่อมซ้อนออกมาจากตัวหลังคาที่ปกคลุมตัวบ้านในอีกระดับ เป็นการสร้างความสำคัญในมุมมองที่มองจากหน้าบ้าน ซึ่งจากภาพบ้านตัวอย่างจะเห็นได้ถึงตัวหลังคาบริเวณทางเข้าที่ถูกออกแบบให้แยกจากหลังคาบ้านในอีกระดับที่ต่ำกว่า นอกจากลักษณะทางเข้าที่ดูโดดเด่นขึ้นแล้ว ยังเป็นผลดีต่อการใช้งานในการป้องกันกำบังแดดฝน เหมาะสำหรับบ้านที่ตั้งในพื้นที่ฝนชุกอย่างประเทศไทยเรา
- ขั้นบันไดยกระดับ นำความรู้สึกดูสำคัญ
โถงทางเดินพร้อมขั้นบันไดที่ยกระดับขึ้นมาเหนือระดับพื้นนอกบ้านซึ่งทำหน้าที่นำผู้มาเยือนไปยังตัวบ้านภายใน ถือเป็นการปรับอารมณ์และความรู้สึกก่อนเข้าไปยังตัวบ้านได้เป็นอย่างดี ทั้งระดับที่ต่างกันนี้จะช่วยให้เรารู้สึกว่าตัวบ้านนั้นมีลำดับความสำคัญ และด้วยการเลือกใช้วัสดุไม้กับการจัดแสงมาใช้กับตัวทางเดินและบันได ก็ช่วยเรื่องของบรรยากาศที่ดูอบอุ่นและผ่อนคลาย
- แนวทางเดินที่กลืนไปกับงานภูมิทัศน์
ดูเผินๆอาจดูปกติธรรมดาสำหรับทางเดินผ่านสวนที่นำไปสู่ตัวบ้านหลังนี้ แต่ความพิเศษคือการออกแบบให้แนวทางเดินนั้นฝังตัวกลมกลืนไปกับเนินดิน เป็นการใช้สอยที่เป็นส่วนหนึ่งกับงานภูมิทัศน์ ข้อดีของการออกแบบด้วยวิธีการนี้คือทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและพืชพรรณที่รายรอบก่อนจะเข้าไปยังตัวบ้าน ไม่เพียงแต่เป็นสวนซึ่งมีไว้มองดูเพียงอย่างเดียว
- เพิ่มลูกเล่นความโมเดิร์นด้วยรูปทรงคอนกรีตที่ซับซ้อน
สังเกตได้ในทันทีเลยว่าบ้านหลังนี้มีการออกแบบรูปทรงของตัวบ้านอย่างละเอียด โดยเฉพาะการออกแบบระนาบของผนังให้มีการซ้อนทับและเสียบประกบเข้าด้วยกันราวกับเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นเหมือนบ้านของเล่น ระนาบที่อยู่ในแนวต่างกันนี้ได้ก่อให้เกิดความน่าสนใจของรูปทรงและการใช้งานบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน ทำให้แลดูโดดเด่นต่างจากแบบบ้านทั่วไป นี่แหละคือเอกลักษณ์ของบ้านแบบโมเดิร์นซึ่งไม่ยึดติดกับกรอบหรือรูปแบบเดิมๆ
- หินอ่อนโทนสีเทา เสน่ห์เงียบขรึมที่น่าค้นหา
โทนสีโดยรวมของบ้านหลังนี้คือใช้โทนสีขาวของตัวบ้านและการเลือกใช้โทนสีเทาที่บริเวณทางเข้าหน้าบ้าน โดยมีการเลือกใช้วัสดุหินอ่อนสีเทาและประตูทางเข้าบ้านไม้สีเข้ม ทำให้ตัวบ้านเกิดมิติด้านมุมมองที่ดูแล้วไม่ราบเรียบไร้สีสัน
- จัดแสงอย่างชาญฉลาด เน้นจุดสนใจและกระจายแสงทั่วถึง
หากปราศจากการจัดแสงให้กับพื้นผิวผนังบ้านหลังนี้แล้ว คงแลดูราบเรียบและไม่สวยงามเท่าที่เห็นนี้อย่างแน่นอน การออกแบบการจัดแสงนั้น เจ้าบ้านสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญนักออกแบบระบบแสงไฟในการวางจุดและเลือกใช้ชนิดของดวงไฟซึ่งแต่ละจุดนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงความสำคัญและจุดที่เหมาะสม สังเกตบ้านหลังนี้ในการจัดแสงซึ่งมีการเลือกใช้ไฟทั้งแบบส่องขึ้นที่บริเวณมุมของผนัง และแบบส่องลงที่บริเวณแผงระแนงเหนือทางเข้าบ้าน ดูแล้วช่วยลดภาพความราบเรียบของตัวบ้านลงไปได้เยอะ
- ผืนน้ำ องค์ประกอบสร้างความสดชื่นและความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง
น้ำคือองค์ประกอบสำคัญหนึ่งที่ภูมิสถาปนิกนิยมหยิบยกมาเป็นองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ที่ช่วยในเรื่องของการสร้างความรู้สึกสดชื่นแก่พื้นที่ ทั้งยังก่อให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง วึ่งจากงานวิจัยพบว่าเพียงเราได้ยินเสียงน้ำไหลก็ช่วยให้จิตใจเราสงบและผ่อนคลายได้อย่างดี จึงไม่แปลกใจที่การนำน้ำเข้ามาใช้กับการออกแบบทางเดินเข้าบ้านนั้นจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ นอกเหนือไปจากการใช้พืชพรรณสีเขียวเพียงอย่างเดียว
- เพิ่มความสวยเด่นด้วยแผงกันแดดระแนงไม้สีดำ
ด้วยตัวบ้านที่ใช้โทนสีขาวสะอาดตาเป็นหลักนี้ ทางเข้าจึงต้องการความสวยเด่นสะดุดตาเสียหน่อย ทั้งนี้ทางเดินที่ปูแผ่นหินสีดำและพืชพรรณที่ปลูกอยู่รายรอบทางเดินนี้อาจจะดูไม่โดดเด่นพอ แผงหลังคากันแดดระแนงไม้จึงเป็นทางเลือกสำหรับเติมเต็มการใช้งานและรูปลักษณ์ให้สมบูรณ์ ผลลัพธ์คือความลงตัวกันขององค์ประกอบภายในพื้นที่ ทั้งทางเดิน พืชพรรณ โทนสี และการใช้งาน
- เพิ่มฉากหลังให้กับพืชพรรณในร่ม
พืชพรรณในร่มที่มีการเลือกใช้ในการตกแต่งพื้นที่ทางเข้าบ้านหลังนี้คือพืชพรรณจำพวกเฟิร์น ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามากนัก ทั้งยังสามารถปลูกได้ในที่ร่มอย่างสวยงาม เพิ่มความสวยงามให้ตัวพืชพรรณดูโดดเด่นสดชื่นขึ้นด้วยผนังฉากหลังหินอ่อนสีขาว รับรองว่าจะทำให้ทางเข้าหน้าบ้านคุณดูดีขึ้นมาได้แบบมินิมัลสุดๆ
- อิฐบล็อคคอนกรีตแบบโปร่ง กรองสายตาแบบไม่อับทึบ
อีกหนึ่งวัสดุที่มีความโดดเด่นของรูปลักษณ์ที่มีความโปร่งด้วยลวดลายฉลุตามแบบพิมพ์ ซึ่งวัสดุชิ้นนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ต้องการการปกปิดในแบบที่ยังแลดูโปร่งไม่ดูทึบตัน ผนังบริเวณพื้นที่หน้าบ้านเองก็สามารถนำเอาอิฐบล็อคคอนกรีตแบบโปร่งมาใช้ได้โดยเป็นส่วนกรองสายตาและความเป็นส่วนตัว ทั้งยังสามารถให้แสงส่องผ่านและอากาศยังคงสามารถถ่ายเทได้ ทั้งยังให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติตามแบบวัสดุดิบเท่
- สร้างความแตกต่างด้วยโทนสีและคุณภาพแสง
องค์ประกอบของวัสดุ โทนสีและรูปทรงที่แตกต่าง ก่อให้เกิดการเปรียบต่างกันระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่านั้น ทั้งยังทำให้เกิดความชัดเจนของแต่ละส่วน ดังเช่นในภาพบ้านตัวอย่างหลังนี้ที่มีการออกแบบให้รูปทรงของพื้นที่บ้านชั้นล่างและชั้นบนมีความเหลื่อมกันของรูปทรงก่อให้เกิดมิติของมุมมอง และทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ถึงการใช้งาน การใช้องค์ประกอบของแสงก็มีส่วนช่วยให้เกิดความแตกต่างโดดเด่นขึ้นมาได้
- พื้นหินอ่อนแบบขัดเงา อีกระดับของความหรูหรา
แค่ทางเดินที่ปูด้วยหินอ่อนนั้นเราต่างก็มองว่าสวยหรูแล้ว แต่ลองยกระดับความงามขึ้นอีกขั้นด้วยการเลือกใช้หินอ่อนขัดเงาซึ่งให้ผิวสัมผัสที่ดูประณีตและดูดีกว่าแบบเรียบด้านเป็นไหนๆ ทั้งนี้อาจต้องระวังและดูแลรักษาเรื่องของความสะอาดและความลื่นในช่วงที่ฝนตกหรือเปียกน้ำเป็นพิเศษ แค่นี้ก็ได้ความสวยงามมีระดับมาเคียงคู่บ้านของเราแล้ว
- อิฐและไม้ ความสวยคลาสสิคแบบคันทรี่โฮม
เป็นการจับคู่วัสดุซึ่งให้ความรู้สึกคลาสสิคสุดแสนอมตะนิรันดร์กาล เรียกได้ว่าไม้และอิฐนั้นหากได้มาเจอกันทีไรย่อมไม่ทำให้เจ้าบ้านและผู้พบเห็นผิดหวัง ด้วยความที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติและยังเป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกสัมผัสทางสายตาที่อบอุ่นแก่พื้นที่บ้านทีม เรียนนายหน้าอสังหา จึงไม่แปลกใจที่ใครๆต่างก็หลงรักการแมตช์กันของคู่หูคู่นี้ ดูอย่างบ้านตัวอย่างหลังนี้ที่มีการนำอิฐมาใช้ตกแต่งเป็นผนังกรุผิวนอกบ้าน และตัวไม้เคลือบเงาโทนสีธรรมชาติที่ใช้เป็นบานประตู ดูแล้วให้ความรู้สึกเป็นบ้านที่มีกลิ่นอายชนบทและวัฒนธรรมอันอบอุ่นสุดๆ
- ใส่ใจงานภูมิทัศน์ด้วยการออกแบบอย่างผสมผสานน่าสนใจ
ทีม เรียนนายหน้าอสังหา บอกสิ่งที่เราอยากจะบอกคือการจัดสวนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเสียทีเดียว และโดยพื้นฐานของคนไทยที่ชื่นชอบต้นไม้และมีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดภูมิทัศน์แบบผสมผสานนั้นผู้ออกแบบอาจต้องใส่ใจในรายละเอียดของพืชพรรณกันสักนิด ทั้งเรื่องของรูปทรงพุ่ม ขนาด รวมไปถึงโทนสีและการจัดองค์ประกอบ ลองดูตัวอย่างของสวนหน้าทางเข้าบ้านของบ้านหลังนี้ ซึ่งมีการจัดวางพืชพรรณเรียงตามลำดับของความสูงและขนาด จากไม้คลุมดิน ไม้พุ่มขนาดเล็ก ไม้พุ่มขนาดกลาง ไปจนถึงไม้พุ่มขนาดใหญ่ การเลือกพืชพรรณที่มีสีที่ต่างกันรวมไปถึงรูปทรงของการจัดวางที่เป็นรูปโค้งทนำสายตามายังพื้นที่ขั้นบันได เหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่สื่อถึงแนวคิดและการออกแบบที่ใส่ใจอันก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สวยงามและเป็นที่พึงพอใจกับผู้ที่พบเห็น
สัมมนานายหน้าอสังหา
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *