เว็บ ตัวแทนขายบ้านและที่ดิน แนะนำ ฮวงจุ้ยเป็นเรื่องสำคัญมากๆในชีวิตเพราะมีความเกี่ยวข้องกับพลังต่างๆ ที่ไหลเวียนภายในบริเวณบ้านนั้น ไม่เว้นแม้แต่โต๊ะทานข้าว
เพราะที่สำหรับคนที่ใส่ใจเรื่องเหล่านี้การเลือกโต๊ะทานข้าวยังช่วยส่งผลพลังให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นพื้นที่แห่งความสุข ใันวันนี้เว็บ ตัวแทนขายบ้านและที่ดิน จะมาแนะนำให้ดูกันว่ามันมีเคล็ดลับอะไรกันบ้าง
1.เรื่องของแสงและกระจก แสงภายในห้องทานข้าวนั้นควรเป็นแสงสีอ่อนที่ให้ความรู้สึกสงบ ส่วนโคมไฟนั้นควรเป็นโคมไฟที่สามารถปรับระดับแสดงขึ้น-ลงได้
สำหรับการเลือกระจกมาประดับภายในห้องทานข้าวนั้นควรเลือกกระจกแบบที่มีกรอบ ยิ่งถ้าเป็นกระจกกรอบใหญ่มาประดับจะช่วยสะท้อนพลังแห่งความมั่งคั่งบนโต๊ะอาหารได้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า แต่ไม่ควรให้กระจกนั้นสะท้อนให้เห็นห้องครัวหรือห้องน้ำ
2.สีแห่งความสงบ พลังชี่เป็นพลังที่จำเป็นในห้องทานข้าวมากกว่าพลังหยาง เพราะเป็นพลังที่ช่วยในเรื่องการผ่อนคลาย หากอยากต้องการสร้างหรือส่งเสริมให้เกิดพลังชี่ควรตกแต่งห้องทานอาหารด้วยสีพาสเทลแบบกลางๆ
อย่างผนังที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ให้เลือกใช้สีเพียงสีเดียว รวมถึงสามารถใช้ของตกแต่งต่างๆ นำมาตกแต่งได้ อย่างเช่นรูปภาพ พยายามหลีกเลี่ยงวอลล์เปเปอร์ที่มีลวดลายเพราะมันจะทำให้พลังชี่กระจาย แต่ถ้าห้องทานข้าวเดิมของคุณมีปัญหานี้อยู่แล้วให้นำภาพวาด งานศิลปะสไตล์นามธรรมมาวางตกแต่งไว้บนผนังนั้น
3.พลังงานเพื่อความโชคดี รอบๆ โต๊ะถ้าต้องการให้มีพลังงานแห่งความโชคดี อาจเพิ่มการปลูกต้นไม้เข้าไป หรือจะประดับภาพที่ให้ความรู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวามาตกแต่งผนังเพื่อส่งเสริมให้เกิดพลังงานแห่งความโชคดีก็ได้เช่นกัน
อีกสิ่งหนึ่งที่อยากให้นำออกจากห้องทานข้าวเลยคืออุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเพราะสิ่งเหล่านี้มีพลังหยางมากเกินไป รวมไปถึงให้นำนาฬิกาออกมาจากห้องทานข้าวด้วยเพราะนาฬิกาเป็นอุปกรณ์ที่คอยเตือนเรื่องเวลาซึ่งไม่เหมาะสมที่จะนำมาติดไว้ในห้องอาหาร เพราะในห้องอาหารควรมีสิ่งที่สื่อถึงความเป็นนิรันดรมากกว่าการหยุดชะงักเรื่องเวลา
4.การเลือกโต๊ะและตำแหน่งที่ตั้ง โต๊ะทานข้าวที่คุณเลือกควรเป็นโต๊ะขนาดใหญ่แต่ต้องเหมาะสำหรับห้อง ส่วนรูปทรงของโต๊ะทานข้าวที่เหมาะสมที่สุดคือโต๊ะรูปวงกลมหรือวงรี
แต่ถ้าโต๊ะทานข้าวของคุณเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็สามารถหาพรมมาเสริมเรื่องฮวงจุ้ยแทนได้ สำหรับตำแหน่งการตั้งโต๊ะทานข้าวที่ดีที่สุดคือกลางห้อง และหันมุมของโต๊ะเล็กน้อยไปที่ผนังห้อง เพื่อให้พลังไหลเวียนไปตามเส้นโค้ง ถ้าวางโต๊ะขนานกับผนังห้องการไหลเวียนของพลังชี่จะไม่ดี
5.ดิสเพลย์บนโต๊ะอาหาร ชามทรงกลมใส่ผลไม้ทรงกลมวางไว้กลางโต๊ะอาหารถือเป็นพลังที่ดี เพราะมันจะทำให้มีพลังที่ดีขึ้น นอกจากนั้นจำนวนของผลไม้ยังทรงผลต่อพลังฮวงจุ้ยอีกด้วย
สำหรับผลไม้ที่แนะนำเช่นผลแอปเปิ้ล ลูกแพร์ หรือส้มเพื่อเพิ่มเรื่องความมั่งคั่ง ร่ำรวย และสุขภาพที่แข็งแรง นอกจากนั้นคุณอาจเติมผลไม้ที่คุณชอบเข้าไป
รวมทั้งใช้ดอกไม้มาตกแต่งให้ความสดชื่นบนโต๊ะทานข้าว โดยเฉพาะดอกไม้สีเหลืองจะช่วยเรื่องการสื่อสารการเจรจา หรือจะใช้ดอกไม้ผ้า ดอกไม้พลาสติกแทนก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ดอกไม้แห้งเพราะแสดงถึงความเหนื่อยล้า
6.น้ำ พลังแห่งชีวิต น้ำไหลเป็นสัญลักษณ์แห่งโชค และความมีชีวิตชีวา ดังนั้นจึงแนะนำว่าควรหาสัญลักษณ์ของน้ำจำนวน 1 หรือ 2 ชิ้นมาประดับตกแต่งในห้องทานข้าว
เช่นหอย หรือภาพของน้ำ แต่ไม่ควรให้สัญลักษณ์ของน้ำอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือหรือตะวันตกเฉียงใต้เพราะจะปะทะกับพลังชี่ สำหรับปลาทองเป็นสัตว์เลี้ยงที่แนะนำจำนวนที่เหมาะสมอาจจะเป็น 3 หรือ 9 ตัว ที่ถือเป็นเลขมงคล
ส่วนปลาสีดำนั้นยังเป็นสัญลักษณ์ของการปกป้อง ป้องกันอันตรายต่างๆ อีกด้วย
7.การจัดที่นั่ง ตำแหน่งที่นั่งที่ดีของคนสำคัญที่สุดภายในบ้านคือตำแหน่งที่นั่งในโต๊ะอาหารที่ห่างจากประตู และด้านหลังควรเป็นผนังทึบ ส่วนที่นั่งอื่นๆ
คือไม่ควรมีประตูบานใหญ่ หรือหน้าต่างบานใหญ่อยู่ด้านหลังเพราะตำแหน่งที่นั่งนั้นเข้าสู่ตำแหน่งอ่อนแอ ทำให้ผู้ที่นั่งในตำแหน่งนั้นรู้สึกไม่มั่นคง
8.การจัดโต๊ะทานข้าว โดยทั่วไปแล้วสีและรูปร่างโต๊ะเรียบง่ายเป็นการเสริมพลังที่สงบและดีให้กับคุณอยู่แล้ว แต่ถ้าจะเลือกสีโต๊ะอาหารควรเลือกสีอยู่ที่ประมาณ 1 หรือ 2 สีเท่านั้น
สำหรับลวดลายนั้นเส้นแนวตั้งเป็นลายที่แนะนำเพราะเป็นเส้นที่สื่อถึงพลังสูง ดีกว่าการเลือกลวดลายที่สลับซับซ้อน นอกจากนั้นอุปกรณ์บนโต๊ะทานข้าวยังควรเลือกถ้วย ชาม ช้อนที่อยู่ในสภาพที่ดี
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *