8 ฮวงจุ้ยห้องนั่งเล่นแบบ นายหน้าที่ดิน ครอบครัวมีสุข

8 ฮวงจุ้ยห้องนั่งเล่นแบบ นายหน้าที่ดิน ครอบครัวมีสุข

ห้องในบ้านที่มีความสำคัญ 3 อันดับต้นๆโดยทีม นายหน้าที่ดิน คือ ห้องครัว ห้องนอน และห้องนั่งเล่น (ห้องทำงานบางบ้านไม่มี) บางคนถามว่าทำไมไม่มีห้องน้ำ เพราะห้องน้ำ เราเข้าไปเพียงวันละไม่กี่นาทีต่อวันจึงสำคัญน้อยสุด
ห้องนั่งเล่นเป็นห้องที่ใช้พักผ่อนสำหรับทุกคนในครอบครัวแบบทีม นายหน้าที่ดิน ซึ่งถือว่าเป็นห้องที่ใช้งานมากในการทำกิจกรรมต่างๆ สำหรับหลายๆ คน ซึ่งสำหรับทางฮวงจุ้ยจะมีผลมากกับผู้ที่อยู่และใช้สถานที่หรือบริเวณห้องนั้นๆ เป็นประจำอยู่เสมอ
จึงสรุปได้ว่าฮวงจุ้ยของห้องนั่งเล่นนั้นมีผลอย่างมากกับทุกสมาชิกในครอบครัว

1) ตำแหน่งของห้องนั่งเล่น (ที่สำคัญสุด)
1.1 ควรตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของบ้าน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ใช้สอย
1.2 ควรจัดให้อยู่ในบริเวณที่เห็นได้เด่นชัด เนื่องจากจะบ่งบอกว่าท่านยินดีต้อนรับผู้มาเยือนด้วยความเต็มใจ
1.3 ไม่ควรอยู่ชิดประตูทางเข้าหลักของบ้านมากเกินไป ควรมีโถงเล็กๆ จากประตูหน้าบ้านมาก่อนถึงห้องนั่งเล่น เนื่องจากเราต้องการพื้นที่สะสม ”กระแสอากาศ” หรือ ”ฮวง” ที่ผ่านมาจากประตูหน้าบ้านที่มากพอ
1.4 ควรที่จะตั้งอยู่ก่อนหน้าห้องนอน ไม่ควรตั้งอยู่หลังห้องนอน
1.5 ควรที่จะเป็นห้องที่มีอากาศถ่ายเท ความสว่างสดใส แต่ระวังมุมที่แดดแรงเกินไป
1.6 ไม่ควรอยู่ในมุมหรือบริเวณบ้านที่มีสภาพมืดและอับ จนเกินไป
1.7 ทางเข้าของห้องนั่งเล่นไม่ควรจะมีประตู ควรหลีกเลี่ยงการนำฉากมาตั้งไว้ตรงประตูทางเข้า
1.8 ไม่ควรเห็นห้องครัว และห้องน้ำอย่างชัดเจน หรือไม่ควรเห็นทางเดิน โดยเฉพาะทางบันได
2) ไม่ควรมีคานหรือฝ้าหลุม (ฝ้าเป็นชั้นๆ)
เมื่อกระแสอากาศไหลเวียนที่ปะทะกับคานจะโดนคานบังคับให้กระแสกดต่ำลงมาใต้คาน ทำให้บริเวณใต้คานนั้นมีกระแสกดทับลงมา เป็นสาเหตุให้คนที่นั่งหรือนอนใต้คานนั้นเจ็บป่วยหรือหงุดหงิดได้ง่าย

3) ตำแหน่งเครื่องปรับอากาศไม่ควรอยู่เหนือบริเวณที่นั่ง
โดยเครื่องปรับอากาศที่ติดผนังนั้นเปรียบเสมือนสภาพคานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน จึงไม่ควรไปนั่งหรือนอนอยู่ใต้เครื่องปรับอากาศเนื่องจากกระแสอากาศไหลเวียนที่ปะทะกับเครื่องปรับอากาศจะโดนเครื่องปรับอากาศบังคับให้กระแสอากาศกดต่ำลง มากเป็นพิเศษ
4) เฟอร์นิเจอร์ในห้องนั่งเล่นนั้นควรมีสภาพโปร่งไม่ทึบ
เน้นโซฟาที่มีขาลอยตัวจากพื้นห้อง โต๊ะกลางโซฟาที่มีสภาพโปร่งๆ ทำให้กระแสไหล อากาศไหลเวียนใต้โซฟาได้ง่าย รวมไปถึงยังสามารถกวาดถูทำความสะอาดใต้โซฟาหรือโต๊ะได้ง่าย และที่สำคัญ หลักการที่ว่าเจ้าของขาดธาตุใด หรือต้องการเสริมธาตุใดก็ควรวางโซฟาไว้ในทิศทางนั้น ๆ ด้วย เนื่องจากการจัดวางตู้โชว์และโซฟา เปรียบเสมือนภูเขาที่รับลมจากน้ำ และเป็นพลังหยิน คือความนิ่งนั่นเอง จะบ่งบอกถึงความมั่นคงหนักแน่นที่จะช่วยเสริมบารมีให้แก่เจ้าของบ้านได้
5) ต้องไม่มีสิ่งของวางไม่เป็นระเบียบ หรือมีสิ่งของเกะกะหรือสกปรกในห้อง
เนื่องจากการที่มีสิ่งของรกหรือสกปรกนั้นทำให้กระแสอากาศหมุนเวียนไม่ได้ดี หากมีห้องมีสภาพรกสกปรกก็จะส่งผลให้ต่อจิตใจคนให้ไม่สะอาดหรือมีจิตใจที่ไม่ ใสสะอาดผุดผ่องไปด้วย

6) สำหรับท่านที่ชอบเลี้ยงปลาสวยงาม อาจตกแต่งห้องรับแขกด้วยตู้ปลา แต่ควรระมัดระวังเรื่องตำแหน่งของที่ตั้งตู้ปลาด้วย เนื่องจากในทางฮวงจุ้ย ตู้ปลาเปรียบเสมือน “น้ำ” และ “น้ำ” ในทางฮวงจุ้ยมีบทบาทสำคัญในการเก็บกักกระแสชี่ หรือกระแสมงคล
7) ห้องนั่งเล่นที่มีการยกระดับให้สูงขึ้นกว่าพื้นภายในบ้านส่วนอื่นๆ มาก จะทำให้ส่วนห้องนั่งเล่นนั้นไม่สามารถสะสมกระแสอากาศได้ เป็นที่มาของการทำให้สมาชิกในครอบครัวอาจไร้โชคลาภ บารมี หรือ ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดี
8) การเลือกโทนสีการตกแต่งให้เป็นโทนสีที่สมาชิกภายในครอบครัวชอบโดยทีม อบรมนายหน้า หากเราเลือกสีสันที่เราชอบจะเป็นผลดีในเชิงจิตใจของเรามากกว่า
เพราะสีสันนั้นถือเป็นพลังงานที่มีผลกระทบกับเราน้อยกว่ากระแสอากาศ หรือ ชี่
ห้องรับแขกควรอยู่ในตำแหน่งและทิศทางที่รุ่งเรือง ซึ่งจะต้องสมพงษ์กับพื้นดวงของเจ้าบ้าน ถ้าห้องนั่งเล่นมีฮวงจุ้ยที่ดีสภาพแวดล้อมดีก็ทำให้เราอยากจะใช้ห้องนั้นในการพักผ่อนโดยทีม อบรมนายหน้า และส่งเสริมทำกิจกรรมร่วมกันในห้องสำหรับครอบครัวอีกด้วย ทั้งนี้การจัดฮวงจุ้ยห้องนั่งเล่นที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงหลักการของวิชาฮวงจุ้ยชัยภูมิเท่านั้น โดยแท้จริงแล้วควรจัดให้สอดคล้องกับหลักวิชาที่เกี่ยวกับการ “คำนวณทิศทาง” อีกด้วยว่าเป็นทิศที่ดีหรือไม่ และถ้าให้ดีควรเป็นทิศทางที่มีพลังในความหมายที่ดี ซึ่งการจัดห้องให้สอดคล้องตามหลักนี้จะต้องปรึกษาทางซินแสที่มีประสบการณ์ จึงจะทำให้ห้องนั่งเล่นนั้นเป็นห้องที่ดีมากๆได้

 

นายหน้าที่ดิน

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *