8 เคล็ดลับแบบทีม เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ แต่งบ้านขนาดเล็กให้สวยและไม่ดูคับแคบ

8 เคล็ดลับแบบทีม เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ แต่งบ้านขนาดเล็กให้สวยและไม่ดูคับแคบ

ขนาดของบ้านก็ใช่ว่าจะเป็นปัญหาเสมอไป โดย เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ หลายๆคนอาจจะมีงบจำกัด ทำให้ซื้อบ้านหลังใหญ่มากไม่ได้ แล้วบางคนก็ชอบมานั่งกลุ้มใจบ่อยๆว่า บ้านหลังเล็กอย่างนี้จะแต่งยังไงให้มันสวยดีนะ แถมแคบอย่างนี้จะจัดข้าวของยังไงไม่ให้มันเกะกะดี

เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ จะบอกว่าไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเรามีเคล็ดลับง่ายๆ 8 ข้อให้คุณนำไปทดลองใช้ โดยจะเป็นเคล็ดลับแนะนำการใช้สอยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ยให้เกิดประโยชน์มากที่สุด รวมถึงเทคนิคการตกแต่งบ้านให้ดูสวย สะดุดตา ไม่แพ้บ้านหลังใหญ่ๆอีกด้วย ไปดูกันเลย

1. ไม่ต้องทำประตูกั้นแต่ละห้อง ปล่อยให้เป็นผนังกับทางเดินโล่งๆพอ
หลายคนพอบอกว่าไม่ต้องทำประตูกั้นห้องแล้วอาจจะตกใจก็ได้ แต่นี่คือคำแนะนำเบื้องต้นของเรา โดยหากบ้านคุณพื้นที่น้อยอยู่เป็นทุนแล้ว และ เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ การสร้างกำแพงกั้นแต่ละห้องเพื่อทำประตูเปิดปิด จะยิ่งทำให้คุณรู้สึกอึดอัดและคับแคบยิ่งกว่าเดิมเสียอีก ฉะนั้น วิธีที่ดีคือ คุณควรเปิดให้แต่ละห้องสามารถเดินถึงกันได้โดยไม่ต้องมีประตู ตัวอย่างเช่นในรุป ห้องกินข้าวกับห้องนั่งเล่นก็ไม่มีประตูกั้น แบบนี้จะให้ความรู้สึกว่าบ้านกว้างได้มากกว่า

2. อย่าจัดวางเรียงเฟอร์นิเจอร์ไว้ติดกันมากสมมุติว่าคุณมีบ้านที่เล็กมาก

เป็นต้นว่าอาจจะเป็นคอนโต หรือห้องเช่าชุดเล็กๆ โซนแต่ละโซน รวมทั้งห้องนอนด้วยก็จะยิ่งถูกเบียดกันมากจนพื้นที่เหลือน้อย เพราะฉะนั้น สิ่งที่ควรทำคือ ทำยังไงก็ได้ให้ที่อยู่อาศัยคุณเหลือที่ทางสำหรับเดินและหายใจให้มากที่สุด ตัวอย่างเช่นในรูป ถึงแม้ว่าห้องจะเล็ก แต่ก็ดูไม่คับแคบอึดอัด เพราะเฟอร์นิเจอร์ถูกออกแบบการจัดวางมาดี เตียงอยู่กลางห้อง ตู้เสื้อผ้าอยู่ข้างหลัง ห้องน้ำอยู่ข้างๆ เห็นอย่างนี้แล้วก็ยังมีที่ให้ขยับเนื้อขยับตัวอีกเหลือเฟือ

3. ใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วให้คุ้มค่า

ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการให้เอาของอะไรก็ได้มากองสุมจนล้นห้อง แต่หมายถึงว่าถ้าคุณเห็นตรงไหนมีที่ว่างในบ้าน ก็ควรจะประยุกต์ใช้มันอย่างชาญฉลาด บ้านจะได้ไม่ดูเกะกะ เช่น ใช้ช่องใต้บันไดทำเป็นที่วางของหรือเก็บของ แบบในรูป เป็นต้น

4. ดัดแปลงผนังห้องให้กลายเป็นชั้นวางของการดัดแปลงผนังห้องให้กลายเป็นชั้นวางของสำหรับเก็บ-โชว์ข้าวของจำนวนมหาศาลของคุณ

ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีเหมือนกัน แต่ช้าก่อน!อย่าเพิ่งตีโพยตีพายไปว่า เฮ้ย ถ้าฉันสร้างชั้นวางของยื่นออกมาจากผนัง อย่างนี้บ้านจะไม่ยิ่งแคบไปกว่าเดิมเหรอ จะบอกว่ามันไม่แคบแน่นอนถ้าคุณเลือกใช้ไอเดียดีๆ ดูตัวอย่างในรูปซึ่งเป็นผลงานของ Melissa Giacchi Architetto d’Interni สถาปนิกจากอิตาลีก็ได้ โดยจะเห็นได้ว่าผนังรอบประตูถูกต่อเติมออกมาเป็นชั้นวางของ ซึ่งมันไม่ได้กินพื้นที่อะไรมากมาย ดีซะอีกที่ไม่ต้องไปซื้อตู้โชว์ขนาดใหญ่ๆมาให้เกะกะ แถมยังได้เก็บของในที่ที่หยิบมาใช้ได้ง่าย ไม่ลับหูลับตา สะดวกกว่ากันเยอะ

5. พยายามหามุมเล็กๆสักมุมทำเป็นที่เก็บของเพิ่ม

บางคนอาจจะมีของเยอะแยะเป็นภูเขาเลากา แต่ไม่อยากเก็บด้วยการเอาออกมาโชว์แบบข้อ 4. นั่นก็ไม่ใช่ปัญหา อีกเคล็ดลับนึงคือ ให้คุณหามุมไหนสักมุมในห้อง แล้วใช้จุดนั้นทำเป็นที่เก็บของธรรมดา แบบไม่ต้องโชว์ความเด่น ตัวอย่างเช่นในรูป ประโยชน์ใช้สอยอยู่ที่ปลายเตียง มีการนำที่นั่งมาวางเอาไว้และใช้พื้นที่ล่างเบาะสำหรับวางรองเท้า ซึ่งถึงจะวางตรงนั้นมันก็ไม่ได้เด่นอะไร คุณก็ยังสามารถเก็บมันได้อย่างเป็นส่วนตัวอยู่ดี

6. เพิ่มลูกเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับเฟอร์นิเจอร์ของคุณ

ไม่จำเป็นว่าจะต้องตกแต่งบ้านตามรูปแบบเดิมๆเสมอไป เช่นข้างเตียงจากปรกติที่ต้องมีโต๊ะขนาดเล็กกับโคมไฟมาวาง ก็ไม่ต้องยึดหลักตามนั้นเป๊ะ แต่ให้พยายามหาทางเพิ่มลูกเล่นและความแปลกมากกว่าเดิม ทั้งเพื่อความสวยงามและเพื่อประหยัดเนื้อที่ด้วย ตัวอย่างเช่นในรูป ข้างเตียงไม่มีโต๊ะ ไม่มีโคมไฟตั้ง แต่มีแผ่นไม้เปิดออกมาจากผนังสำหรับใช้วางของแทนโต๊ะ แล้วปิดเก็บได้ด้วย แบบนี้ก็ไม่ทำให้บ้านแคบลงเลยสักนิด

7. ตกแต่งบันไดให้ดูเก๋ไก๋ และอเนกประสงค์มากขึ้น

บันไดของเดิมอาจจะดูเรียบๆหน่อย คุณก็ลองตกแต่งให้มันมีสีสันขึ้นและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ดูตามตัวอย่างในรูปก็ได้ เอาต้นไม้มาตกแต่งบ้าง หรือไม่ก็เอาเก้าอี้มานั่งทำงานใต้บันไดซะเลย

8. การตกแต่งแบบ นายหน้าอสังหา ก็ช่วยให้บ้านดูกว้างขึ้นมาได้

นายหน้าอสังหา ภาพลวงตา การตกแต่งแบบนี้ เล่นสี เล่นมุม เล่นมิติ ก็จะหลอกสายตาคนทำให้รู้สึกว่าบ้านกว้างขึ้นได้ ดูราวกระจกของบันไดในรูปนี้เป็นตัวอย่าง รู้สึกบ้างไหมว่าห้องมันดูใหญ่ๆ ดูมีมิติ

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * ** * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *