ประตูโรงรถ
ทีม คอร์สนายหน้าอสังหา พูดถึงประตูเป็นเหมือนหน้าตาของบ้าน ด้วยเป็นปราการด่านแรก ก่อนที่จะเข้าสู่ภายในบ้าน ประตูเลยเป็นสิ่งแรกที่ต้องเน้นให้ตอบรับทุกการออกแบบ และสะดวกสบายง่ายต่อการใช้งาย เพื่อให้เป็นภาพลักษณ์ที่ดึงดูดตาตั้งแต่แรกสัมผัส ประตูโรงรถเองก็เช่นเดียว
ประเภทของประตูโรงรถ
ประตูโรงรถแบบบานเปิด เป็นลักษณะของประตูที่มีทั้งบานเปิดเดี่ยวและบานเปิดคู่ ขึ้นอยู่กับขนาดและข้อจำกัดของพื้นที่ใช้สอย สามารถเลือกเปิดเข้าหรือออกฝั่งใดฝั่งหนึ่งก็ได้ เป็นการเปิดที่กินเนื้อที่พอสมควร เลยต้องเผื่อพื้นที่สำหรับการเปิดประตูด้วย ประตูลักษณะนี้สามารถเลือกใช้วัสดุได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไม้ อะลูมิเนียม เหล็ก ไฟเบอร์กลาส หรือนำวัสดุต่างชนิดมาผสมกัน
ประตูโรงรถแบบบานเฟี้ยมโดยทีม คอร์สนายหน้าอสังหา บอกเป็นประตูที่นำประตูบานเล็ก ๆ มาต่อกันด้วยบานพับ และพับทบสลับกันไปรวมที่ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน เลยเปิดได้กว้างกว่าประตูแบบอื่น และเปิดได้สุดไม่กินพื้นที่ นิยมนำมาตกแต่งใช้สอยได้ดี สวยงาม และเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย ที่พบเห็นบ่อยสุดคือ ไม้ เนื่องจากสวยงามและเข้ากันดีไซน์ประตูแบบนี้
ประตูโรงรถแบบบานเลื่อน เป็นประตูเลื่อนไปด้านข้างมีทั้งแบบรางเลื่อนบนและรางเลื่อนล่าง มีทั้งแบบบานเลื่อนเดี่ยว บานเลื่อนคู่ และบานเลื่อนสาม ข้อดีคือ ประหยัดพื้นที่ และสามารถติดตั้งระบบปิด-เปิดอัตโนมัติได้ ส่วนใหญ่นิยมใช้กระจกเป็นวัสดุหลัก ควบคู่กับเหล็กหรืออะลูมิเนียม
ประตูโรงรถแบบม้วนระบบไฟฟ้า เป็นระบบประตูอัตโนมัติที่กำลังนิยมกันแพร่หลายเพราะทันสมัย โดยสามารถควบคุมการใช้งานได้ทั้งระบบมอเตอร และการควบคุมด้วยมืออาศัยพลังของสปริงในการปิด-เปิด หรือติดตั้งปุ่มปิด-เปิดติดผนัง หรือใช้รีโมทคอนโทรล ซึ่งสามารถใช้ได้ในระยะ 40 เมตร ประตูม้วนระบบไฟฟ้าจะต้องมีความกว้างไม่เกิน 10.00 เมตร และสูงไม่เกิน 6.00 เมตร ส่วนวัสดุที่พบมากที่สุดคือ อะลูมิเนียม
ขนาดประตูโรงรถมาตรฐาน
โดยปกติแล้ว ตามกฎหมายได้มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับพื้นที่ที่จอดรถที่จะต้องใช้ในการออกแบบอยู่ที่ 2.40 x 5.00 เมตร และจะต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร สำหรับจอดรถยนต์ 1 คัน แต่สำหรับการจอดรถยนต์มากกว่า 1 คัน ก็ควรที่จะเผื่อพื้นที่ไว้ด้วย
ประมาณการค่าใช้จ่าย
สำหรับค่าใช้จ่ายของประตูโรงรถ แน่นอนว่าจะต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบ และประเภทของวัสดุที่เลือกใช้ รวมถึงหากมีการนำเอาระบบอัตโนมัติมาใช้ด้วย ก็จะต้องเผื่อค่าใช้จ่ายไว้ โดยปกติหากเป็นประตูโรงจอดรถอย่างเดียวรวมติดตั้ง จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอยู่ที่ตารางเมตรละ 1,800-2,400 บาท ซึ่งปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการติดตั้ง ให้คำแนะนำ หรือปรึกษาเรื่องประตูโรงรถอยู่มากมาย สามารถเลือกพูดคุยก่อนจะตัดสินใจให้ผู้เชี่ยวชาญที่คุณไว้วางใจมากที่สุด เป็นผู้ดูแลติดตั้งประตูโรงรถให้กับคุณ
เทคโนโลยีประตูโรงรถกับระบบรักษาความปลอดภัย
ปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีหลากหลายเข้ามาเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน และเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับรถ รวมถึงผู้ใช้งาน และคนในครอบครัวมากขึ้น อย่างการนำเอาระบบเซ็นเซอร์ของประตูม้วนเข้ามาใช้ เพื่อการทำงานของประตูหากมีสิ่งกีดขวาง โดยที่ประตูจะไม่สัมผัสกับวัตถุ ซึ่งเหมาะมากกับบ้านที่มีเด็กเล็ก หรือการนำเอาระบบรักษาความปลอดภัยมาตรฐานของมอเตอร์มาทำงานร่วมกันกับประตูโรงรถ เพื่อให้ช่วยป้องกันก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คุณสมบัติของประตูโรงรถที่ดี
การเลือกผู้เชี่ยวชาญที่จะให้มาช่วยดูแลในเรื่องการติดตั้งประตูโรงรถ โดยเฉพาะประตูโรงรถแบบเปิด-ปิดอัตโนมัติ นอกจากจะต้องไว้วางใจได้แล้ว ประตูโรงรถที่ดีก็จะต้องมีคุณสมบัติมากมาย ลองเช็คลิสต์ก่อนว่า ประตูโรงรถที่คุณเลือกมีสิ่งเหล่านี้หรือไม่
- ความแข็งแรง ที่ทีม ตัวแทนอสังหา มีความสามารถรองรับการใช้งานเปิด-ปิดบ่อยครั้งได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเสากลาง และต้องได้มาตรฐานตรงตามที่กฎหมายกำหนด และสามารถจอดรถได้ตามที่คุณต้องการ
- ต้องสามารถนำรถเข้าจอดได้อย่างสะดวกสบาย ง่ายต่อ การจอดรถ และต้องสามารถเดินเข้า-ออกได้ด้วย
- ประตูโรงรถที่ดีจะต้องซ่อนฝ้า ไม้ระแนง หรือเก็บบานม้วนได้อย่างมิดชิด และต้องปลอดภัยต่อรถยนต์คันโปรด
- ประตูโรงรถที่ดีควรออกแบบให้มีฉลุ หรือช่องระบายอากา เพื่อให้ลมจากภายนอกผ่านเข้า-ออกได้พอประมาณ
- ควรมีระบบป้องกัน หรือหยุดแบบอัตโนมัติเมื่อมีสิ่งกีดขวาง โดยทีม ตัวแทนอสังหา มีการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ เพื่อให้สามารถ ป้องกันการตกกระแทกตัวถังรถ หรือผู้ใช้งาน รวมถึงสมาชิกภายในครอบครัว
คอร์สนายหน้าอสังหา
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *