3 หลักการ แบ่งคอมมิชชันยังไงให้ win-win ฉบับสัมมนานายหน้า “จับมือทำ”

3 หลักการ แบ่งคอมมิชชันยังไงให้ win-win ฉบับสัมมนานายหน้า “จับมือทำ”

เคยไหม ? เคสไม่จบเถียงกันแทบตายเพื่อให้ได้เงินแค่หลักพัน…
เสียเพื่อน สัมมนานายหน้า มากมาย เพราะแบ่งคอมกันไม่ได้…
กลัวโดนโกง กลัวเสียเปรียบ กลัวจนไม่สามารถทำงานร่วมกับใครได้
แม้จะสร้างคอนเนคชัน หรือเข้าร่วม สัมมนานายหน้า แทบตาย แต่สุดท้ายก็ไม่เหลือใครให้ทำงานด้วย !!!

มาฟังวิธีคิดและประสบการณ์การทำงานของพวกเรากันครับ ว่าเราจัดการเรื่องนี้กันยังไง

1. คุณต้องมี Mindset ที่อยากจะ “ให้” ก่อน

ที่จริงแล้วนายหน้าอสังหาเป็นอาชีพที่ทำเองเพียงคนเดียวได้ แต่หากวันนึงงานเราเริ่มเยอะจนทำคนเดียวไม่ไหว หรือเจอเคสใหญ่หลัก 10 ล้าน 100 ล้านขึ้นไป อาจต้องเลือกแล้วล่ะว่า จะอยู่คนเดียวแล้วทิ้งโอกาสไป หรือหาวิธีใหม่ที่ร่วมมือกับคนอื่นได้โดยไม่ถูกโกง !!!

การที่คุณให้โอกาสคนอื่นได้ร่วมงานกับคุณ และจัดสรรผลประโยชน์ให้อย่างเหมาะสม รู้หรือไม่ว่า มันสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการในการทำเงินให้กับทั้งสองฝ่าย หลายคนพอได้เริ่มร่วมงานกันคนอื่นหลายๆ ครั้ง ก็เจอคนที่ใช่ในระดับ “คู่บุญ” จับมือกันเสริมจุดแข็ง อุดจุดอ่อนเติบโตก้าวกระโดดอย่างทวีคูณเลยทีเดียว

2. ลองใช้ธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปเป็นบรรทัดฐาน

โดยปกติแล้วนายหน้าจะแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายใหญ่ๆ คือฝ่ายทรัพย์ ฝ่ายทุน และฝ่ายประสาน
โดยทั่วไปก็จะแบ่งกันง่ายๆ คือคอมมิชชัน 3% ก็แบ่งง่ายๆ
กรณีมี 2 ฝ่าย : ฝ่ายทรัพย์ 1.5% ฝ่ายทุน 1.5%
กรณีมี 3 ฝ่าย : ฝ่ายทรัพย์ 1% ฝ่ายทุน 1% และฝ่ายประสาน 1%

ถ้าเจอเคสที่เป็นไปตามขนบธรรมเนียมอะไรๆ มันก็ง่ายจริงไหมครับ แต่ถ้าเจอกรณีแหวกแนวกว่านี้ล่ะก็ถามตอบกันไม่หวาดไม่ไหว แนะนำให้ลองใช้แนวคิดในข้อ 3 ครับ

3. คิดแบบเจ้าของกิจการ

หลายครั้งเรามักจะเจอการร่วมงานในแบบแปลกๆ เช่น
เพื่อนเราแนะนำเจ้าของทรัพย์มาให้ ไม่ได้ทำงานอะไร แล้วขอแบ่งค่าคอมบ้าง…
ทั้งทรัพย์และทุนเป็นของเรา แต่เพื่อนเราเป็นคนปิดการขายบ้าง…
เคสเหล่านี้มันยิบย่อยซะจนไม่มีหลักการใดที่จะครอบคลุมทุกเคส จนกว่าคุณจะกล้าเริ่มที่จะ “รับผิดชอบเอง” ในระดับของเจ้าของกิจการครับ

สิ่งที่เจ้าของกิจการเค้าทำกันก็คือ “เอาใจเขาใส่ใจเรา คิดในมุมมองทุกฝ่าย แล้วกล้าที่จะสร้างข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้”

มีเคสจริงที่เพื่อนๆ ผมได้ทดลองทำกันเอามาแบ่งปันดังนี้ครับ

เพื่อนผมคนหนึ่งชื่อคุณเอ๋เป็นคนที่ติดนายทุนใหญ่หลายเจ้า เค้าเป็นคนที่ต้องการให้มีคนส่งทรัพย์ให้เขาเยอะๆ เพื่อไปเสนอนายทุน เขาเลยสร้างข้อเสนอขึ้นมาว่า

“ใครแนะนำเจ้าของทรัพย์ให้เขา หากจบเคส เขาจะให้ค่าแนะนำ 10% ของคอมมิชชัน”

ปรากฎว่าคนส่งทรัพย์ให้นางบานเลยครับ คอมมิชชันของนางจึงพุ่งทะยานเอามากๆ ปิดเคสหลัก 10 ล้าน 100 ล้านเป็นว่าเล่น

เพื่อนผมอีกคนหนึ่งชื่อคุณบุ้งเป็นคนที่ทำงานประจำไปด้วยทำนายหน้าไปด้วย เขาเป็นคนที่ขายเก่งมาก แต่ปัญหาของเขาคือไม่มีเวลาพาลูกค้าชมทรัพย์เพราะติดงานประจำ เขาเลยสร้างข้อเสนอขึ้นมาว่า เขาหาทรัพย์ และทุนด้วยตัวเองแล้วกัน แต่

“หากใครสละเวลาไปปิดการขายให้เขา เขายินดีแบ่งให้ 20% ของคอมมิชชัน”

นายหน้าที่มีปัญหาเรื่องการหาลูกค้า เลยมาวิ่งงานให้เพียบ เขาสามารถสร้างรายได้หลักแสนต่อเดือนได้ โดยไม่ต้องเจอหน้าเจ้าของทรัพย์และลูกค้าด้วยซ้ำ ที่สำคัญ พาร์ทเนอร์ของเขา ยังมีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 3 หมื่นกว่าบาทโดยไม่ต้องหาลูกค้าเลยซักคน

คือเรื่องราวเหล่านี้ทั้งหมดมันไม่ได้เกิดจากใครบางคนโชคดีกว่าคนอื่น ที่ได้เพื่อนร่วมงานดีๆ แต่หากมันเกิดจากใครบางคน ต้องการจะทะลวงข้อจำกัดของตัวเอง จึงเริ่มคิดแบบเจ้าของบริษัท และรับผิดชอบผลลัพธ์ 100%  คนเหล่านี้รับได้ว่าอาจจะต้อง “ลอง” ร่วมงานกับคนหลายคน กว่าจะเจอคนที่ใช่ และรับได้หากจะต้องผิดหวังบ้างกับใครบางคน

และนี่คือ 3 หลักการง่ายๆ เพื่อให้คุณนำไปใช้สร้างธุรกิจชนายหน้าของคุณให้เติบโตได้ครับ แต่ไม่ว่าหลักการที่มีจะดีแค่ไหน แต่สิ่งที่ดีกว่าคือ การที่คุณแคร์ และตรงไปตรงมากับหุ้นส่วนของคุณ ในการทำงานของผมไม่ว่าเพื่อนร่วมงานของผมจะช่วยผมในส่วนใดก็ตาม งานชิ้นนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ผมมองเขาเป็นหุ้นส่วนเสมอครับ มันจึงทำให้ผมและเพื่อนๆ เติบโตไปพร้อมกันได้อย่างยั่งยืน ขอให้คุณลองนำหลักการนี้ไปใช้และเจอคนที่ใช่ไวๆ เช่นกันครับ

ติดตามความรู้ดีๆ ได้ที่ เพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ และถ้าเรื่องราวนี้มีประโยชน์ ฝากกดไลค์ แชร์ให้เพื่อนๆ ของคุณด้วยนะครับ

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *