ในสังคมสมัยปัจจุบัน ทางแอดมินคอร์ส เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ เห็นว่าผู้อ่านหลายๆท่าน อาจจะต้องทำงานในเมือง และด้วยข้อจำกัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อยากได้ห้องใกล้ที่ทำงาน หรือ อยากให้ที่พักอยู่ติดรถไฟฟ้า เพื่อสะดวกในการเดินทางไปทำงาน
หลายๆคน ที่มาปรึกษากับเว็บ คอร์ส เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ หลายๆคน ต้องทำใจยอมรับกับ บ้านหรือห้องที่แคบ มากกว่าจะใช้อยู่อาศัย อาจจะใช้ได้แค่นอน และ เก็บของแค่นิดหน่อย บางรายอาจจะโชคไม่ดีที่ห้องพักแถวที่ทำงานนั้น ไม่แม้แต่จะมีห้องน้ำในตัวด้วยซ้ำ
ถ้าใครที่กำลังมีปัญหาเรื่องพื้นที่ รู้สึกว่าห้องหรือบ้านที่อยู่นั้น เริ่มเล็กลงเรื่อยๆ เพราะพื้นที่ขนาดเล็กอยู่แล้ว หรือ มีของเข้ามาวาง มาใส่มากขึ้นเรื่อยๆแวะมาทางนี้ วันนี้แอดมินมีเทคนิคเปลี่ยนพื้นที่เล็กๆ ให้กว้างกว่าเดิม จะทำอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกัน
1. แบ่งโซนสำหรับใช้งานแยกเป็นส่วนๆ
ถ้าคุณกิน นอน นั่ง แต่งตัวอยู่ที่มุมเดียวกัน ให้ลองแยกโซนสำหรับแต่ละกิจกรรม ว่าตรงนี้ไว้วางโต๊ะอาหาร ตรงนี้ใช้ทำงานโดยอาจหาผ้าม่าน หรือโต๊ะเก้าอี้ มาวางให้ดูเป็นสัดส่วน จะทำให้ห้องโล่งขึ้น
2. เลือกเฟอร์นิเจอร์แบบมัลติฟังก์ชั่น หรือ พับเก็บได้
แทนที่จะเลือกเฟอร์ตายตัว ตั้งแล้วตั้งเลย ลองเปลี่ยนไปเลือก เฟอร์ฯ ที่กระทัดรัด พับเก็บได้ จะดีกว่า เช่น ตั้งเป็นโต๊ะกินข้าวแล้วเก็บ ตกเย็นค่อยมากางเป็นโต๊ะทำงาน แทนที่จะต้องแบบตายตัวถาวร ซึ่งจะทำให้ห้องของเราที่แคบแล้วยังแคบมากยิ่งขึ้นไปอีกด้วยขนาดของเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้น
3. หลอกตา ด้วยกระจก
ลองใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยกระจกดู จะช่วยหลอกตา ทำให้ห้องดูกว้างขึ้น เพราะแทนที่จะมองไปแล้วทึบๆ เห็นตู้โต๊ะเตียงผนังก็จะมีกระจกช่วยหลอกให้เห็นแต่พื้นที่ของห้องเพิ่มขึ้นจากเงาสะท้อน
4. วัดทุกตารางเมตร / วัดเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้น
ถ้าใครเป็นคนละเอียดหน่อย เวลาไปเลือกเฟอร์นิเจอร์ก็เช็คด้วย ว่าเฟอร์นิเจอร์นี้ต้องใช้พื้นที่วางเท่าไหร่ สูงเท่าไหร่ กว้างเท่าไหร่ ให้นับออกมาเป็นตัวเลขด้วย เพื่อคำนวณว่าเวลาซื้อไปที่บ้านแล้วมันจะจัดเข้ามุม เข้าที่ได้พอดีหรือไม่ เพราะถ้าเราซื้อแล้ว ขนาดมันไม่ได้ มันจะเปลี่ยนลำบาก
5. เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ แต่น้อยชิ้น
ถ้ามีปัญหาเรื่องพื้นที่เล็ก ให้เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ น้อยชิ้น จะให้ความรู้สึกกว้างขวาง และไม่รกเท่าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็กๆ แต่มีมากชิ้น แถมการจัดการทำความสะอาดก็สะดวกกว่าด้วยเพราะถ้าเราใช้ เฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็กๆมาต่อกัน ตามซอกตามมุม ก็จะเต็มไปด้วยฝุ่น พอถึงเวลาทำความสะอาดที่ อาจจะทำทั้งวันก็ไม่เสร็จก็ได้
6. ใช้สีโทนสว่าง ในการตกแต่งห้อง
เคล็ดลับเบสิก ให้เลือกใช้สีห้องโทนสว่างในการตกแต่ง เช่น สีครีม สีขาว สีเหลืองอ่อน จะให้ความรู้สึกว่าห้องกว้างกว่าเดิม
7. สร้างพื้นที่จัดเก็บสิ่งของ
ถ้าห้องหรือบ้านมีของเยอะ ให้ลองหาชั้นวางของจากร้าน มาเพื่อจัดเรียงสิ่งของ ให้เป็นหมวดหมู่ สร้างพื้นที่เก็บของขึ้นมา จะดีกว่าวางกระจายไว้รอบๆ ห้อง
8. ใส่รายละเอียดลงไปในการตกแต่ง
ร้อยเรียง เฟอร์นิเจอร์พื้นห้อง ของตกแต่งให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่นโทนสี ใช้โทนเดียวกัน จะให้ความรู้สึกกว้างขึ้น
9. ใช้พื้นที่แนวตั้งให้เป็นประโยชน์
สำคัญมากห้ามลืม เราอาจจะสร้างพื้นที่จัดเก็บ จัดวางของ ตรงพื้นที่ต่างๆ เช่น ด้านบนของตู้เก็บของ ติดที่แขวนสิ่งของที่บานประตู หรือสร้างที่เก็บของใกล้กับเพดาน แต่ถ้าใช้การติดสิ่งของไว้แขวนบานประตู ต้องอย่าลืมคำนวนเรื่องน้ำหนักและความทนทานด้วย
10. สร้างแนวสายตาให้มากขึ้น
เช่น ทุบกำแพงที่หนาทึบทิ้ง แล้วใช้เป็นบานกระจกใสแทน จะทำให้ดูโปร่งโล่ง น่าอยู่กว่าเดิม หรือ ติดโคมไฟลงมาจากเพดาน จะทำให้โอ่อ่ามากกว่าเดิม แต่อย่าลืมคำนวณ ความสูงของห้องด้วย
11. ไม่ต้องต้องโชว์ทุกอย่าง
บางทีก็เข้าใจว่าบางคนอาจจะมีของสะสม หรือ ข้าวของเครื่องใช้ที่เยอะแยะไปหมด แล้วชอบตั้ง แต่นั้นก็เป็นตัวกลางสำคัญในการทำให้พื้นที่ห้องดูแคบลง เลือกบางชิ้นที่ใช้บ่อยๆ มาตั้งหรือโชว์ก็พอ ใช้ไม่บ่อยเก็บลงกล่องไปก่อน เพื่อไม่ให้ห้องเราดูรก และ เต็มไปด้วยฝุ่นที่ติดตามของโชว์ เหล่านั้น
เพียงแค่นี้ห้องของคุณที่ว่าแคบก็อาจจะดูกว้างขึ้นไปอีก แต่ทั้งนี้การจะตกแต่งห้องในรูปแบบอื่นๆ เช่น การติดตั้งของตามฝาผนัง ถ้าบ้านคุณ หรือ ห้องคุณ เป็นแบบเช่าอยู่ลองดูข้อตกลงกับทางเจ้าของก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่
ทางเว็บ นายหน้าอิสระ อสังหา แนะนำว่า ให้นำไอเดียเหล่านี้ไปใช้กับบ้านหรือห้องที่ตัวเองเป็นเจ้าของจริงๆจะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องอื่นๆที่จะตามมาทีหลัง
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *