คอร์ส อยากเป็นนายหน้าขายที่ดิน แนะนำ ไบโอคอนกรีต คอนกรีต ที่เชื่อมรอยร้าวได้ด้วยตัวเอง

คอร์ส อยากเป็นนายหน้าขายที่ดิน แนะนำ ไบโอคอนกรีต คอนกรีต ที่เชื่อมรอยร้าวได้ด้วยตัวเอง

สวัสดีทุกท่านวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งกับ เว็บ อยากเป็นนายหน้าขายที่ดิน ในวันนี้เรามีบทความดีดี มานำเสนอ ให้ทุกท่านได้อ่านกันอีกครั้งนึง ด้วยเรื่อง ไบโอคอนกรีต

อยากเป็นนายหน้าขายที่ดิน

ไอโอคอนกรีตที่เว็บ อยากเป็นนายหน้าขายที่ดิน นำมาให้อ่านกันในวันนี้ คือ คอนกรีตที่สามารถ เชื่อมรอยร้าวได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้อง หาคอนกรีตอื่นมาโบกทับ หรือ เป็นตัวช่วยประสาน ให้มันเข้ากันได้

โดยปกติแล้วเวลาเราสร้างบ้านนั้น จะเห็นว่า ตัวคอนกรีตที่ใช้เมื่อแห้งแล้วจะเกิดรอยร้าวได้ตลอด จึงต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่างเพื่อป้องกันการร้าว ในภายหลังเช่น การเสริมใยเหล็ก การผสมวัสดุอื่นๆ เพื่อยึดเนื้อคอนกรีต

จากเหตุผลทั้งหมด สองนักวิทยาศาสตร์ Henk Jonkers นักจุลชีววิทยาและ Eric Schlangen ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาคอนกรีต เลยปิ๊งไอเดีย พยายามคิดวัสดุซีเมนต์ทางเลือก สร้างวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ออกมาเป็น Bioconcrete ช่วยลดการผลิตซีเมนต์ที่มาใช้ซ่อมแซมและไม่เป็นอันตรายกับธรรมชาติ

ไบโอคอนกรีต

มันคือก้อนคอนกรีตที่หน้าตาคล้ายๆ เชื้อโรคเวลาเราส่องในกล้องจุลทรรศสมัยเรียน แต่มันเป็นคอนกรีตที่ดูภายนอกก็คล้ายกับคอนกรีตทั่วๆไป แต่ภายในมีส่วนผสมพิเศษเป็นแบคทีเรียหัวใจสำคัญที่เรียกว่า ” Healing Agent “ ใส่ลงไปละลายเป็นส่วนผสมในการสร้างคอนกรีตเพื่อเป็นตัวช่วยในการสมานแผลเยียวยาตัวเอง โดยการฟื้นฟูตัวเองจะเกิดขึ้นได้เมื่อคอนกรีตสัมผัสกับน้ำเข้าไปทำปฏิกิริยาภายใน

วัสดุก่อสร้างที่น่ามหัศจรรย์นี้มันเริ่มขึ้นในระหว่างการทดลอง นักวิทยาศาตร์ทั้งสองได้ลองผสมแบคทีเรียผสมเข้าไปคอนกรีตและหลังจากนั้น 1 เดือนพวกเขาพบว่าสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่ยังคงมีชีวิตอยู่ได้ในคอนกรีต พวกเค้าจึงค้นคว้าลงไปมากขึ้นในการเสาะหาแบคทีเรียมีชีวิตอยู่ได้ในคอนกรีตที่มีความกระด้างอยู่ภายในสูง และมีความสามารถคงทนอยู่ได้นานหลายปี จนมาเจอกับ แบคทีเรีย Bacillus มารับตำแหน่งในการทำภารกิจนี้ แบคทีเรีย Bacillus มีการเจริญเติบโตและสร้างสปอร์ได้อย่างดีในสภาวะด่าง ทั้งยังมีค่าพลังความอึดระดับสูง มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องการอาหารหรือน้ำนานกว่าสิบปี

และเพื่อให้การซ่อมแซมคอนกรีตเกิดขึ้นได้เอง แบคทีเรีย Bacillus จำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อผลิตหินปูนมาใช้เป็นวัสดุช่วยในการคืนสภาพให้กับคอนกรีต แต่เดิมที่แบคทีเรียกินน้ำตาลเป็นอาหารหลัก ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนประเภทเป็นสารอาหารชนิดอื่น เพราะเมื่อน้ำตาลเข้าผสมเข้ากับเนื้อคอนกรีต จะทำให้เนื้อคอนกรีตอ่อนนุ่มลง เปราะ แตกหักได้ง่ายขึ้น แหล่งพลังงานอาหารแบบใหม่สำหรับแบคทีเรียจึงมาตกลงที่ Calcium Lactate ( ส่วนประกอบของนม) ด้วยการจับแบคทีเรีย Bacillus และ Calcium Lactate ทั้งคู่เข้าไปไว้ในแคปซูลพลาสติกที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ กระบวนการเริ่มต้นด้วยการผสมแคปซูลเข้ากับคอนกรีตผสมเปียก แล้วนำไปก่อสร้างอาคารได้ตามปกติ การรักษาซ่อมแซมตัวเองจะเกิดขึ้นเมื่อคอนกรีตมีรอยแตกร้าว เราจะใช้น้ำผ่านแทรกซึมเข้าไปสลายแคปซูลออกให้สารภายในแตกตัว แล้วแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะเริ่มทำงาน ขยายพันธุ์ออกเป็นจำนวนมาก เพื่อทำหน้าที่ในการซ่อมแซมรอยแตกร้าวของคอนกรีตได้ราวกับเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมานแผลตัวเอง

จากการทอลองในห้องปฏิบัติการเล็กๆ เริ่มต้นสมานแผลคอนกรีตแตกร้าวความกว้างแค่ 0.5 มิลลิเมตร ออกมาสู่การทดลองกับสถาปัตยกรรมของจริงกลางแจ้ง ซึ่งก็ได้ผลลัทธ์ที่น่าพอใจ และพวกเค้าสองนักค้นคว้ายังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาเพื่อลดค่าใช้จ่ายราคาแพงจากการต้องเคลือบแคปซูลอนุภาคแบคทีเรีย การลดต้นทุนส่วนนี้ได้จะทำให้สามารถผลิตคอนกรีตชีวะ Bioconcrete เข้าสู่อุตสาหกรรมการก่อสร้างได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น

นี่คือวัสดุที่ผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับวัสดุก่อสร้างเอาไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ด้วยการสร้างคุณสมบัติทางชีวภาพในการรักษาตนเองลงในวัสดุก่อสร้างอย่างคอนกรีต และมันจะเป็นก้าวที่สำคัญสู่ยุคสมัยใหม่ในการนำธรรมชาติมาผนวกรวมกับวิทยาความรู้ใหม่กับ บริษัทนายหน้าขายบ้านและที่ดิน  ในการสร้างอาคารชีวภาพ biological buildings ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *