การเลือกสีในแบบต่างๆ กับความหมายด้านเสริมดวง จากเว็บ คอร์สอสังหา

การเลือกสีในแบบต่างๆ กับความหมายด้านเสริมดวง จากเว็บ คอร์สอสังหา

สวัสดีทุกท่านวันนี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งกับทีมงาน คอร์สอสังหา ในวันนี้เรามีบทความดีดี เกี่ยวกับสีที่ใช้ตกแต่งบ้านตามหลังฮวงจุ้ยมาให้อ่านกัน

ทางทีมงาน คอร์สอสังหา เห็นว่า หลายๆคน ที่ทำการสร้างบ้าน หรือ รีโนเวทบ้านหรือห้องของตัวเองในปัจจุบัน บางคน ก็เลือกใช้สีในแบบที่ตนเองชอบ

คอร์สอสังหา

ดังนั้นในวันนี้เราจึงมี ข้อมูลทางฮวงจุ้ยของสีในแต่ล่ะแบบมาให้อ่านกัน

สีแดง (ธาตุไฟเข้มข้น)

ทั่วไปมักใช้สีแดงในงานมงคลต่างๆ เพราะมีพลังกระตุ้นสูง เป็นสีแห่งอำนาจ และความทะเยอทะยาน ขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้เกิดโทสะและฉุนเฉียวได้ หรือถ้ามากไปก็จะทำให้รู้สึกอึดอัด หุนหันพลันแล่น และขาดความอดทน เพราะเป็นสีที่กระตุ้นระบบประสาทได้รุนแรงที่สุด

สีชมพู (ธาตุไฟอ่อนๆ)

เป็นพลังแห่งความนุ่มนวล อ่อนโยน อบอุ่นและทะนุถนอม และความรู้สึกสงบลง ทั่วไปมักจะนำมาใช้บำบัดผู้ที่มีอารมณ์โดดเดี่ยว ท้อแท้หรือคนที่มีความรู้สึกเปราะบาง ไม่มั่นคงทางอารมณ์

สีม่วง (ธาตุไฟที่เข้มขรึม)

เป็นสีที่ทรงพลังด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ ช่วยปลอบโยนจิตใจให้สงบและอดทนต่อความโศกเศร้าหรือสูญเสีย กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดแรงบันดาลใจ

สีเขียว (ธาตุไม้)

เป็นพลังแห่งการเจริญเติบโต แผ่ขยาย ฟื้นฟู ความเป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นสีที่สัมพันธ์แนบแน่นกับธรรมชาติ ช่วยให้มีอารมณ์ร่วมกับสิ่งอื่นๆ รอบตัวได้ง่ายให้ความรู้สึกสงบ สบาย ผ่อนคลาย สันโดษ สมดุลย์ และปล่อยวาง

สีเขียวเข้ม (ธาตุไม้)

มีความหมายของการหลุดพ้น ความพอดีและถ่อมตน เป็นสีที่ปฏิเสธต่อความรักและความสนุกสนาน แต่ “สีเหลืองอมเขียว” จัดอยู่ในกลุ่มของความอิจฉาริษยา ขุ่นข้องหมองใจ คับแค้นใจ แสดงถึงความรู้สึกปรารถนาจะครอบครอง

สีเหลือง (ธาตุดิน)

เป็นพลังที่ช่วยยกระดับจิตใจและความสามารถที่ซ่อนอยู่ จึงเป็นสีแห่งอำนาจที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นธาตุดิน ซึ่งเป็นธาตุที่อยู่กึ่งกลางของผังพลังงานในทางฮวงจุ้ย จึงเป็นเหตุผลว่าชุดของจักรพรรดิจีนจึงต้องเป็นสีเหลือง สีเหลืองยังเป็นสีของความสุขเบิกบาน ความคิดสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดีมีอารมณ์ขัน แต่ “สีเหลืองเข้ม” กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของความหวาดกลัว

สีครีม (ธาตุดิน)

เป็นสีที่ดีของสูตรคำนวณทางฮวงจุ้ยในยุคที่ 8 (ปัจจุบัน พ.ศ.2567) เหมาะที่จะใช้ภายใน ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ มั่นคง ผ่อนคลาย

สีส้ม (ธาตุอมไฟ)

ให้ความรู้สึกสง่า สวยงาม จริงจัง น่าฉงนสนเท่ห์ เป็นสีแห่งความสร้างสรรค์ สดใส มีพลัง สติปัญญา ทะเยอทะยาน แต่ก็ระมัดระวังตนอยู่ในที่พลังของสีส้มมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการซึมเศร้า

สีน้ำตาล/สีอิฐ (ธาตุดินที่เข้มขรึม)

เป็นสีแห่งความเรียบง่ายติดดินมั่งคงและสมดุล สีน้ำตาลเป็นสีของแผ่นดินให้ความรู้สึกมั่นคง เติมเต็มความรู้สึก บำบัดจากความเศร้าโศก ความรู้สึกคับอกคับใจ

สีฟ้าและน้ำทะเล (ธาตุน้ำ)

เป็นพลังแห่งความสงบเยือกเย็น เป็นอิสระ โปร่ง สบาย ปลอดภัย ช่วยยกระดับของพลังชีวิตได้

สีน้ำเงิน (ธาตุน้ำ)

เป็นความหมายของความสงบ สุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ เป็นสีที่มีความหมายเกี่ยวโยงกับจิตใจสูงกว่าสีเหลือง มักนำมาบำบัดคนที่นอนไม่หลับ แต่สีน้ำเงินโทนดำหมายถึงความโศกเศร้าสุดขีด จึงควรระวังในการนำไปใช้

สีดำและสีเทา (ธาตุน้ำที่เข้มข้นลึกที่สุด)

เป็นสัญลักษณ์แห่งความเฉลียวฉลาดทรงภูมิปัญญา ลึกลับ มีพลังดึงดูดสูง เป็นสีที่มีความหมายทั้งในแง่ของความสะดวกสบาย การปกป้อง แต่ในบางกรณีหมายถึงพลังชีวิตที่ถดถอยหรืออ่อนล้า หมดพลัง ซ่อนเร้นจากโลกภายนอก

สีทอง สีเงิน สีตะกั่ว (ธาตุทอง)

เป็นสัญลักษณ์ของความสูงส่ง หรูหรา เป็นเลิศการเฉลิมฉลอง และยังหมายถึงการให้ชีวิตใหม่ ให้พลังใหม่ สีทองที่วาวแววจะทรงพลังอย่างยิ่ง ในการดึงให้หลุดพ้นจากความรู้สึกที่ตกต่ำของจิตใจ

อย่างไรก็ตามทีมงาน คอร์สนายหน้าอสังหา อยากจะแนะนำอย่างสุดท้ายว่า การเลือกใช้สีโทนเข้มข้น เช่น ดำ น้ำตาล ม่วง หรือแดง ต้องระมัดระวัง ไม่ให้มากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการกระตุ้นพลังงานจนเสียสมดุล และการเลือกใช้สีแต่ละสีต้องสอดคล้องกับพลังในตัวของแต่ละบุคคลอย่างถูกต้องจากวิธีดูดวงจีนที่เรียกว่า “วิชาโป๊ยหยี่สี่เถียว” คำนวณสมดุลของพลังงานในตัวและนำสีเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างเฉพาะเจาะจง กว่า

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *