สวัสดีคะ ณ. ปัจจุบันนี้เคาน์เตอร์ครัวนั้นมีหลากหลายรูปแบบมาก คอร์สนายหน้าอสังหา ให้เหล่าคนที่เพิ่งตัดสินใจซื้อบ้านหลังใหม่ วันนี้แอดมิน คอร์สนายหน้าอสังหา จึงได้รวบรวมเหล่าเคาน์เตอร์ดีไซน์สวยเก๋มาช่วยในการตัดสินใจได้เร็วขึ้น
ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้วัสดุอย่างหินอ่อน หินแกรนิต หรืออลูมิเนียม เนื่องจากสวยและแข็งแรง แต่ทุกวันนี้ แอดมิน คอร์สนายหน้าอสังหา คิดว่าเหล่าเคาน์เตอร์ครัวที่ถูกสรรสร้างขึ้นจากวัสดุดังกล่าวจะมีอยู่เกลื่อนมาก จนทำให้คนที่กำลังคิดแต่งครัวเลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียว
สำหรับเคาน์เตอร์ครัวแบบแรก เน้นรูปแบบสไตล์โมเดิร์น โดยใช้พื้นผิวหน้าบานเป็นแบบกลอส นอกจากจะเพิ่มความสวยงามให้กับครัวแล้ว ยังง่ายต่อทำความสะอาดด้วย ดังนั้นเรื่องของโทนสีอย่างขาว-เทา จึงไม่ใช่ปัญหาของคนชอบทำอาหารอีกต่อไป
เคาน์เตอร์ครัวสไตล์โมเดิร์น เน้นโทนสีขาวสะอาดตา
เนื่องจากด้วยพื้นผิวที่มันวาว ดังนั้นเมื่อสกปรกจึงสามารถใช้ผ้าเช็ดได้ทันที ทั้งนี้อีกหนึ่งจุดเด่นของเคาน์เตอร์ครัวนี้คือ บริเวณ Island ที่ใช้พื้นผิวเป็นหินอ่อน แน่นอนว่าได้ทั้งความคงทนและสวยงาม ซึ่งสำหรับรูปแบบดังกล่าวบริเวณ Island นี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำครัวอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างสรรคพื้นที่ใช้สอยให้กลายเป็นโต๊ะกินข้าวได้อย่างลงตัว
เคาน์เตอร์ผสมผสานระหว่างความวินเทจและโมเดิร์น สำหรับผู้มีปัญหาเรื่องพื้นที่จำกัด
มาถึงเคาน์เตอร์ครัวสำหรับคนที่กำลังมีปัญหาเรื่องพื้นที่จำกัด โดยเฉพาะคนที่อยู่คอนโดฯ หรือทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งจะเห็นว่ารูปแบบของเคาน์เตอร์ครัวเป็นการผสมผสานกันระหว่างวัสดุสองชนิด นั่นคือ ไม้ ที่ให้ความรู้สึกวินเทจและแกรนนิตโต้ ส่วนใหญ่มักพบในรูปแบบของเคาน์เตอร์ครัวโมเดิร์นเข้าด้วยกัน โดยลักษณะของเคาน์เตอร์ครัวรูปแบบนี้จะเป็นตัว U ที่หลายคนคิดว่าใช้พื้นที่เยอะ แท้จริงแล้วสามารถนำส่วนของครัวและโต๊ะกินข้าว พร้อมพื้นที่รับแขกมาไว้รวมกันได้ โดยจะเห็นบางมุมของเคาน์เตอร์ครัวมีการดีไซน์ไว้สำหรับเป็นพื้นที่นั่งอ่านหนังสือด้วย ทั้งนี้สามารถทำได้ หากบริเวณพื้นที่ที่จัดสรรมีช่องแสงเพียงพอ โดยครัวรูปแบบนี้ส่วนใหญ่มักพบในลักษณะครัวเปิด เรียกได้ว่าเป็นเคาน์เตอร์ครัวอเนกประสงค์ ที่ตอบโจทย์คนชอบทำอาหารที่มีพื้นที่จำกัดอย่างแท้จริง
เคาน์เตอร์ครัวสุดหรู ครบทุกเครื่องครัว ตอบโจทย์คนชอบทำอาหาร
ปรับเปลี่ยนบรรยากาศมาดูเคาน์เตอร์ครัวสุดหรูกันบ้าง โดยเคาน์เตอร์ครัวรูปแบบนี้จะติดตั้งได้กับบ้านที่มีเนื้อที่ค่อนข้างมากหน่อย เนื่องจากมีการแบ่งส่วนประกอบอาหารออกเป็นสองฝั่ง จากรูปจะเห็นว่าฝั่งด้านซ้ายเป็นส่วนของพื้นที่เตาทำอาหาร ด้านขวาเป็นพื้นที่ติดตั้งเตาอบ ไมโคเวฟ และพื้นที่ไว้สำหรับวางเครื่องครัวต่างๆ ส่วนบริเวณ Island ถูกจัดวางให้เป็นโต๊ะกินข้าวในลักษณะบาร์ พร้อมซิงค์ล้างจานดังรูป ส่วนวัสดุของพื้นผิวเคาน์เตอร์ครัวนั้นจะใช้เป็นหินเทียม ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถให้ผิวสัมผัสทดแทนได้เทียบเท่ากับหินธรรมชาติ ไม่มีรูพรุนจึงไม่ดูดซึมน้ำ แต่อาจพบรอยขีดขวนได้ง่ายกว่าหินอ่อน ซึ่งปัจจุบันมีหินเทียมหลายเกรดให้เลือกสรร
เคาน์เตอร์ครัวโทนสีอบอุ่นน้ำตาล ใช้วัสดุอย่างหน้าบานไม้เป็นหลัก
มาดูอีกหนึ่งเคาน์เตอร์ครัวที่สามารถสร้างบรรยากาศอบอุ่นภายในบ้านได้ นั่นคือ เคาน์เตอร์ครัวที่ใช้วัสดุไม้และหินอ่อนมาผสมผสานกันอย่างลงตัว โดยจะเห็นว่าการติดตั้งเคาน์เตอร์ครัวรูปแบบนี้ จะถูกชิดไปบริเวณมุมหนึ่งของบ้าน ทั้งนี้เพื่อเป็นประหยัดเนื้อที่ พร้อมทั้งสรรสร้างโต๊ะสำหรับนั่งกินข้าวในลักษณะบาร์ได้อีกด้วย ซึ่งจะเห็นว่าส่วนของหน้าบานจะเป็นหินแกรนิตโต้ ซึ่งข้อดีของแกรนิตโต้คือ หากเกิดรอยขีดขวนสามารถขัดสีได้ทันที
เคาน์เตอร์ครัวแบบจัดเต็ม ตอบโจทย์คนมีเนื้อที่
ปิดท้ายเคาน์เตอร์ครัวที่เรียกว่าสาวกแม่ครัว พ่อครัว เห็นแล้วเป็นต้องร้องกรี้ดอยากได้ขึ้นมา เนื่องจากมีการติดตั้งเคาน์เตอร์ครัวในลักษระยาว ชนิดสามารถนำเตาอบหรืออุปกรณ์ต่างๆ มาวางได้อย่างเต็มที่ ยิ่งไปกว่านั้นส่วนของพื้นที่ประกอบอาหาร ยังมีเตาให้ถึง 4 หัว พร้อมด้วย Island ขนาดใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นเคาน์เตอร์ครัวที่เห็นแล้ว อยากจะขลุกตัวอยู่แต่ในห้องครัวไปตลอดวัน
เมื่อยลโฉม 5 แบบเคาน์เตอร์ครัวดีไซน์สวยกันไปแล้ว อบรมนายหน้าอสังหา เชื่อว่าคนที่เพิ่งซื้อบ้านอยู่ คงอยู่ไม่ติดกันแล้วใช่ไหมอยากลุกขึ้นปฏิวัติห้องครัวอย่างเร่งด่วยอย่างแน่นอน
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *