ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างบ้าน แอดมิน นายหน้าที่ดิน ว่าเจ้าของบ้านส่วนใหญ่มักนิยมถมที่ดินรอไว้ เพื่อให้บ้านสูงกว่าระดับที่ดินทั่วไป จุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันน้ำท่วมรวมทั้งช่วยให้บ้านของเราดูสวยงามมากขึ้น
“การถมดิน” เป็นเสมือนงานด่านแรกที่เกือบทุกบ้านจำเป็นต้องพบเจอ แอดมิน นายหน้าที่ดิน ขอรวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับการถมดิน เพื่อให้การดำเนินงานถมดินเป็นไปอย่างราบรื่น
จำเป็นแค่ไหนต้องถมดิน
แม้บ้านส่วนมากที่สร้างขึ้นใหม่ในทุกวันนี้จะต้องถมดินก่อนก่อสร้าง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุก ๆ การก่อสร้างจำเป็นต้องถมดินเสมอไป สำหรับสถานที่ที่ไม่ได้ต่ำกว่าระดับถนนมากนัก หรือมีพื้นที่ลาดชันลักษณะภูเขา การถมดินอาจไม่ได้จำเป็นสำหรับพื้นที่ดังกล่าว การถมดินเหมาะสำหรับพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมขัง ผู้อ่านจำเป็นต้องสำรวจประวัติน้ำท่วมในพื้นที่ดังกล่าว อาจลองสอบถามเพื่อนบ้านใกล้เคียงว่า น้ำเคยท่วมหรือไม่ หากเคยท่วม สูงประมาณเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสั่งดินมาถมได้อย่างเหมาะสมลงตัว
ส่วนพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าถนนมาก หากต้องถมดินจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ผู้เขียนเองเคยคิดจะซื้อที่ดินหนึ่งผืน ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินนาราคาไม่สูงมากนัก เมื่อคำนวณค่าถมดินแล้วกลับมีราคาสูงกว่าราคาที่ดินจึงไม่คุ้มที่จะซื้อ แต่หากท่านใดคิดจะซื้อที่ดินในลักษณะดังกล่าว นอกจากการถมดินแล้ว การออกแบบบ้านให้มีโครงสร้างยกสูงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดต้นทุนการถมดินได้ดี
ถมดินสูงแค่ไหนถึงจะดี
ตามหลักฮวงจุ้ย บ้านที่ดีไม่ควรต่ำกว่าถนนแต่ในขณะเดียวกันไม่ควรสูงโจ่งจนเกินไป สำหรับบ้านทั่ว ๆ ไป ที่ไม่ได้ต่ำกว่าถนนเดิมมากนัก ควรถมดินให้สูงกว่าถนนประมาณ 0.5 – 1 เมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่และดีไซน์ของบ้านแต่ละหลัง นอกจากค่าเฉลี่ยดังกล่าวแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรวจที่ดินใกล้เคียง เพื่อนบ้านที่ดีไม่ควรถมดินให้สูงกว่าบ้านข้าง ๆ ควรให้อยู่ในระดับเดียวกับเพื่อนบ้าน มิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาภายหลังได้
เผื่อเอาไว้หน่อย กันดินยุบตัว
ทุก ๆ การถมดินแต่ละครั้ง แม้ผู้รับเหมาถมดินจะบดหน้าดินให้แน่น หลังจากเวลาผ่านไปสักระยะดินจะทรุดตัวเสมอ การถมดินที่ดีจึงจำเป็นต้องถมเผื่อไว้ เช่น ต้องการปรับระดับให้สูงกว่าที่ดินเดิม 60 เซนติเมตร ควรถมดินไว้ที่ 80 เซนติเมตรเพื่อเผื่อระยะการยุบตัวของดิน
ถมดินช่วงเดือนไหนถึงจะดี
โดยปกติการสร้างบ้านจะมีฤกษ์งามยามดี คนโบราณไม่นิยมเริ่มสร้างบ้านเดือน 5 ถึงเดือน 8 ผู้เขียนเองไม่ทราบเหตุผลอันแท้จริงในอดีต แต่หากให้วิเคราะห์เบื้องต้นน่าจะเป็นเหตุผลเรื่องฝนฟ้าอากาศ เพราะช่วงดังกล่าวเป็นเดือนที่ติดฤดูฝน หากเริ่มสร้างบ้านในช่วงนี้อาจไม่สะดวกต่อการทำงานและเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิม
ส่วนการถมดินก็เช่นเดียวกัน หากให้ดีที่สุดควรถมดินก่อนฤดูฝน เพราะหากติดฤดูฝนไปแล้ว รถตักดินไม่สามารถลงบ่อดินได้ รถบรรทุกที่มาถมดินยากลำบากต่อการทำงาน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อค่าจ้างถมดินที่สูงขึ้น แต่หากถมดินให้เสร็จก่อนหน้าฝน เมื่อถึงฤดูฝน ฝนจะช่วยปรับให้ดินแน่นขึ้น ระยะนี้เองจะเห็นการยุบตัวของดินได้อย่างชัดเจน หลังหมดฤดูฝนไปแล้วจึงค่อยเริ่มสร้างบ้านซึ่งพอเหมาะกับดินที่แข็งตัว แต่ทั้งนี้ฤดูกาลมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ จึงอาจดูความเหมาะสมในช่วงนั้น ๆ ด้วย..นับว่าดี
ดินลูกรัง หรือ ดินดำ
หากไม่ได้แจ้งผู้รับเหมาถมดินไว้ล่วงหน้า โดยปกติผู้รับเหมาจะนำดินลูกรังมาถมให้ เป็นดินที่ได้จากการขุดดินภูเขา ดินเหล่านี้เหมาะกับการนำมาเป็นฐานในการสร้างบ้านแต่ไม่เหมาะกับการปลูกต้นไม้ กรณีที่ต้องการปลูกต้นไม้ด้วยให้ผู้อ่านกำหนดขอบเขตของพื้นที่สวนให้ชัดเจน จากนั้นแจ้งผู้รับเหมาถมดินได้ทราบถึงตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ดินดำ (หน้าดิน) โดยดินดำที่ได้มานี้อาจเป็นดินนาหรือดินเก่าจากสถานที่ใด ๆ ที่เจ้าของดินเดิมต้องการขุดสระ, ขุดบ่อเพื่อใช้ในการเกษตร ดินเหล่านี้จะสมบูรณ์กว่าดินลูกรัง เหมาะกับการจัดสวนและโดยปกติจะมีราคาที่สูงกว่าดินลูกรัง
เรื่องของการถมดิน ยังไม่จบเพียงเท่านี้ บทความหน้าแอดมิน นายหน้าขายที่ดิน จะมาต่อตอนที่2 ของการถมที่ดินแบบสรุป ความสำคัญก่อนที่เราจะตัดสินใจพลาดครั้งใหญ่ อย่าติดตามอ่านนะคะเพื่อนๆ
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *