คอร์ส เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ แนะ ไอเดีย จัดสวนในบ้าน เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มุมต่างๆ ได้ง่ายๆ ตอนที่ 1

คอร์ส เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ แนะ ไอเดีย จัดสวนในบ้าน เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มุมต่างๆ ได้ง่ายๆ ตอนที่ 1

สวัสดีทุกท่านวันนี้เรากลับมาพบกันอีกแล้ว กับแอดมินเว็บ เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ ในวันนี้เรามีวิธีแต่งสวนในบ้านของเราด้วยต้นไม้แบบต่างๆ มาให้อ่าน

ทางแฟนเว็บไซด์หลายๆท่าน  ได้ติดต่อสอบถาม กับแอดมินเว็บ เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ มาว่า เราจะมีวิธีจัดสวนเล็กภายในบ้านของเราได้อย่างไรกันบ้าง

เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์

 

อย่างแรกที่เราอยากให้ทุกท่านได้สังเกตก่อนว่าในบ้านของท่านนั้นมีพื้นที่ใช้สอยเหลือมากมายเพียงใด เพราะการจัดสวนในบ้านหรือแม้แต่การเพิ่มมุม สีเขียวเล็กๆภายในบ้านของท่านนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีพื้นที่ว่างเพียงพอประมาณนึง

ถ้าเป็นบ้านอย่างโฮมทาวน์ ที่ไม่มีพื้นที่รอบบ้านนั้นอาจจะจัดยากเสียหน่อย แต่ไม่ใช่หมายถึงว่าจะไม่ได้เลย และยังต้องคำนึงถึงช่วงที่แสงแดดส่องถึงด้วย เพราะว่าต้นไม้นั้น ยังต้องอาศัย ปัจจัยหลายๆอย่างในการที่จะเจิญเติบโตได้

ไม่ว่าจะเป็น อ๊อกซิเย่น คาร์บอนไดอ๊อคไซด์ หรือ แม้แต่แสงแดด ที่เอาไว้สังเคราะห์แสง ไม่ใช่มีแต่น้ำแล้วต้นไม้จะเจริญเติบโตได้

ส่วนจะมีต้นไม้อะไร และ การจัดแบบไหนบ้างไปดูกันเลย

 

การจัดสวนภายในบ้าน (Indoor Garden)

หากรู้สึกว่าห้องที่เราอยู่อาศัยดูโล่งและขาดชีวีตชีวา การมีมุมสีเขียวสักมุมก็ช่วยแก้ปัญหาได้ ในเบื้องต้นเราควรหาทำเลที่วางต้นไม้ ซึ่งต้องได้แสงแดดอย่างน้อยครึ่งวัน เพื่อให้ต้นไม้ยังสามารถสังเคราะห์แสงสำหรับสร้างอาหารได้ และไม่ควรอยู่ใกล้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือที่ปล่อยความร้อนออกมามากเกินไป หากอยู่ภายในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศควรปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นสภาวะที่น่าสบาย ไม่ควรให้อากาศภายในเย็นจนเกินไป เพราะต้นไม้จะปรับตัวลำบากและใบร่วงมาก

ควรศึกษาลักษณะนิสัยต้นไม้ที่เลือกปลูกก่อนว่าปรับตัวได้ในที่ซึ่งมีแสงแดดจำกัดไหม ส่วนมากต้นไม้ที่มีลักษณะใบมันจำพวกไทรและฟิโลเดนดรอนจะทนร่มได้ดี การรดน้ำก็รดปกติในช่วงเช้าและเย็น อาจให้ปุ๋ยละลายช้าเพิ่มเติม เพื่อให้สารอาหารค่อยๆละลายลงดิน

หากเป็นคนไม่ค่อยอยู่บ้านหรือไม่มีเวลาดูแลต้นไม้ การสร้างพื้นที่สีเขียวอาจทดแทนได้ด้วยการสร้างช่องเปิดหรือติดตั้งกระจกแบบโปร่งใสไว้ในบริเวณที่มองออกไปเห็นสวนภายนอก เพื่อช่วยดึงบรรยากาศธรรมชาติเข้ามาสู่ภายในบ้าน อีกทั้งสวนภายนอกบ้านยังดูแลได้ง่ายกว่า เนื่องจากต้นไม้สามารถแตกรากหาอาหารเองได้ และมีแสงแดดเพียงพอ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบให้น้ำอัตโนมัติหรือสปริงเกลอร์ได้อีกด้วย

 

ไม้กระถาง (Potted Plants)

การนำไม้กระถางมาตั้งในมุมใดมุมหนึ่งของบ้านถือเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้ต้องการมีพื้นที่สีเขียวภายในบ้าน กระถางต้นไม้ที่ขายอยู่ในท้องตลาดมีรูปแบบและขนาดให้เลือกอย่างหลากหลาย เจ้าของบ้านสามารถเลือกสรรได้ตามความชอบหรือเข้ากับรูปแบบการตกแต่งภายใน

สำหรับต้นไม้ที่ชื่นชอบแสงแดดทั่วไปสามารถย้ายออกไปตั้งรับแสงแดดข้างนอกได้ทุก 2-3 วัน ตามลักษณะนิสัยของต้นไม้ หากนำมาวางประดับภายในบ้านควรหาถาดมารองก้นกระถางเพื่อป้องกันน้ำล้นแฉะบริเวณพื้นบ้านเป็นคราบสกปรก และควรโรยถ่านที่โคนต้นเพื่อช่วยดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของปุ๋ยหรือดินปลูก  รวมถึงหมั่นทำความสะอาดใบเพื่อกำจัดคราบฝุ่นหรือสิ่งสกปรกที่เกาะบริเวณผิวใบ ทำให้ใบดูมันวาวสวยงามอยู่เสมอ สำหรับผู้ที่มีพื้นที่จำกัดสามารถประยุกต์รูปแบบสวนกระถางเป็นสวนแนวตั้งได้ ปัจจุบันมีแผงกระบะสวนแนวตั้งวางขายในท้องตลาดหรืออาจทำด้วยตัวเองก็ได้

การจัดต้นไม้ในกระถางอีกลักษณะหนึ่งก็คือการนำพรรณไม้หลากหลายชนิดที่มีรูปทรงต่างกันมาปลูกรวมกันคล้ายการจัดดอกไม้ในแจกัน เรียกว่า Container Combinations โดยพรรณไม้ที่จัดอยู่ด้วยกันควรมีลักษณะนิสัยคล้ายกัน เช่น ชอบแสงแดดจัดหรือชอบแสงแดดรำไรเหมือนกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการจัดได้มากยิ่งขึ้น อาจนำไปจัดวางคู่กับไม้กระถางต้นอื่นๆหรือวางเป็นจุดเด่นในมุมต่างๆ

รวมถึงนำไปประยุกต์ใช้กับกระบะต้นไม้ริมหน้าต่างหรือทางเดินด้วยก็ได้ การดูแลโดยทั่วไปก็คล้ายกับไม้กระถางปกติที่ต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอและตัดแต่งต้นไม้ให้มีรูปทรงตามต้องการ ไม่ขึ้นเบียดเสียดกันจนเกินไป

นี่เป็นส่วนนึงที่เว็บ แชร์ค่าที่ฟรีความรู้ นำมาเสนอให้อ่านเท่านั้น ในตอนหน้าเราจะมีไม้แบบอื่นๆที่สามารถนำมาจัดวางในสวนเล็กๆ ในบ้านของท่าน มาให้อ่านกันต่อ ส่วนใครที่มีไอเดียการจัดสวนแล้ว ขอให้อดใจรอนิดนึง เจอกันใหม่บทความหน้า

 

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *