นายหน้าอสังหาริมทรัยพ์ คอร์ดอสังหา ถือว่ามีส่วนสำคัญในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาโดยตลอด จุดประสงค์ที่จำเป็นต้องมีนายหน้าหลักๆ นั้นเพื่อให้การซื้อ-ขายเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ราบรื่นและรวดเร็ว
ซึ่งอาชีพนี้ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ สามารถเป็นได้ทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม คอร์ดอสังหา มีทั้งรูปแบบรายบุคคลและรูปแบบบริษัท นายหน้าด้านอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็นมืออาชีพที่ผ่านการอบรมเรียนรู้การทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์มาเป็นอย่างดี ซึ่งการให้มืออาชีพมาช่วยในการขายนั้นย่อมต้องดีกว่าการที่จะขายบ้านเองโดยขาดประสบการณ์ วันนี้ทางเราจึงรวบรวมเคล็ดลับและวิธีการเลือกนายหน้าอสังหาริมทรัพย์อย่างมืออาชีพรายละเอียดจะเป็นอย่างไรมาติดตามกันเลยค่ะ
ประสบการณ์การทำงาน
การเลือกนายหน้า สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งก็คือประสบการณ์ในการทำงาน ถ้าหากเป็นรายบุคคลควรดูจากระยะเวลาที่ทำงานรวมถึงผลงานการขายบ้านที่ผ่านๆ มาว่าขายได้จริงหรือไม่ และมีความรู้ความสามารถในด้านอสังหาริมทรัพย์มากน้อยเพียงใด แต่ถ้าหากเลือกเป็นประเภทบริษัทควรเลือกบริษัทขนาดใหญ่ที่น่าเชื่อถือและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในแวดวงอสังหาฯ เพราะบริษัทเหล่านี้จะมีบุคลากรจำนวนมากพอที่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มที่ รวมถึงมีงบประมาณและช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อช่วยในการขายได้เป็นอย่างดี
พื้นที่บริการ
นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ มักเป็นคนในพื้นที่ ที่รู้ราคาและรายละเอียดต่าง ๆ ของพื้นที่นั้น ๆ เป็นอย่างดี เพราะหนึ่งในหน้าที่ของนายหน้าคือการพาลูกค้าเข้าดูบ้าน ซึ่งถ้าหากบ้านที่คุณต้องการขายอยู่ไกลจากพื้นที่บริการหรือพื้นที่ ที่นายหน้าทำงานอยู่ จะทำให้เสียเวลา เสียค่าเดินทาง รวมไปถึงความรู้และความเข้าใจในพื้นที่นั้น ๆ อาจน้อยกว่านายหน้าเจ้าของพื้นที่ แต่ถ้าหากคุณเลือกนายหน้าในรูปแบบบริษัทก็จะมีเครือข่ายนายหน้าประจำอยู่ในแต่ละพื้นที่ แต่ต้องศึกษาวิธีการ รายละเอียดการทำงาน การให้คำแนะนำ รวมทั้งการดูแลเข้าถึงว่ามีมากน้อยเพียงใด
ฐานลูกค้า
ควรเลือกนายหน้าที่ได้รับการแนะนำจากบรรดาเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือคนในพื้นที่จะดีกว่า เพราะนายหน้าเจ้าของพื้นที่โดยส่วนใหญ่ จะมีฐานข้อมูลลูกค้าทั้งเก่าและใหม่อยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่นั้น ๆ และมีช่องทางฝากขาย ประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง นั่นจึงเป็นผลดีในการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก
เงื่อนไขในการทำงาน
ก่อนที่จะทำการตกลงตัดสินใจเลือกใช้บริการจากนายหน้าควรที่จะเช็คเงื่อนไขในการทำงานอย่างละเอียดรอบคอบว่าการทำงานเป็นอย่างไร ทำหน้าที่อะไรตรงไหนบ้าง สัญญานายหน้าระบุไว้อย่างไร เป็นสัญญาแบบเปิดหรือแบบปิด ระยะเวลาของสัญญากำหนดถึงเมื่อไร เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาขึ้นภายหลัง
มีเทคนิคการขายเชิงรุก
นายหน้าอสังหาฯ ที่ดีต้องมีวิธีการเข้าถึงลูกค้า ดึงดูดใจลูกค้า คอยติดตามนำเสนอทรัพย์ที่มีลักษณะตรงตามที่ลูกค้าต้องการเพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุด บริการด้านต่างๆ พร้อมสรรพหรือมองหาช่องทางเพื่อหาลูกค้ารายใหม่ๆ ที่จะทำให้การขายประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
อัตราค่าบริการ
อัตราค่าบริการของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์โดยปกติทั่วไปอยู่ที่ 2-5% ของราคาที่ขายได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องทำการตกลงราคาให้เสร็จสรรพเรียบร้อยก่อนที่จะทำการเซ็นสัญญา เพราะอย่าลืมว่าเพียงแค่ 1% ของราคาบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ใช่เงินจำนวนเล็กน้อย
มีทักษะการสื่อสารที่ดี
การที่เราจะทำการซื้อขายต้องอาศัยการพูดคุยติดต่อสื่อสารกัน คงไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ถ้าคุณได้ตกลงทำสัญญาจ้างนายหน้าขายบ้านที่ไม่มีทักษะการสื่อสารที่ดี เพราะอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง การซื้อขายต้องผ่านการพูดคุย ตกลงทำสัญญาและมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย ดังนั้นการมีทักษะการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การซื้อขายเป็นไปอย่างราบรื่น
กรอบเวลาในการทำงาน
การรักษากรอบเวลาเป็นลักษณะที่ดีของนายหน้าขายบ้าน เพราะในการซื้อ-ขายบ้านอาจมีเหตุจำเป็นที่ต้องติดต่อกันนอกเวลาทำงาน หรือถ้าหากลูกค้าเร่งรีบในการขายบ้านเขาต้องสามารถปรับแผนการทำงานรวมถึงระยะเวลาทำงานเพื่อให้ดำเนินการขายได้ตามที่ลูกค้าคาดหวัง แต่ถ้าหากลูกค้าไม่รีบร้อนที่จะขายเขาก็สามารถจัดสรรเวลาเพื่อให้ลูกค้าได้ผลประโยชน์ที่ดีที่สุดนั่นเอง
ทั้งหมดที่เราหยิบยกมานำเสนอในวันนี้เป็นเพียงเคล็ดลับส่วนหนึ่งของการเลือก คอร์ดอสังหา นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่ดี จะเห็นได้ว่านายหน้าเป็นตัวช่วยและที่ปรึกษาที่ดีในการเพิ่มโอกาสที่จะพบกับกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่และทำให้เราสามารถขายบ้านได้ง่ายยิ่งขึ้นค่ะ
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *