วันนี้เว็บ เรียนอสังหา มีข้อมูลดีๆนำมาฝากเพื่อนๆกันคับ สำหรับคนรุ่นใหม่ที่เชื่อกันในเรื่องศาสตร์ฮวงจุ้ย ทำให้การเลือกซื้อของตกแต่งบ้านตั้งแต่ต้นใช้ความเชื่อในศาสตร์นี้พิจารณา
ซึ่งต้องมาดูกันว่ามีจุดไหนในบ้านของเราบ้างที่สะท้อนความเชื่อนั้น และแต่ละจุดมีความหมายอย่างไรหรือทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง วันนี้เว็บ เรียนอสังหา ไปรวบรวมข้อมูลมาให้เพื่อนๆแล้ววันนี้มีทั้งหมด 8 จุดในบ้านมาดูกันเลยคับ
1.กระดิ่งหน้าบ้าน หาซื้อนานมากกว่าจะได้แบบที่ถูกใจ กระดิ่งเป็นตัวแทนเรื่องชื่อเสียง เมื่อเราทำงานอยู่ในวงการบันเทิง เรื่องของชื่อเสียงเป็นสิ่งสำคัญ อย่างน้อยควรให้มันมีเสียงดัง
2.รูปม้า 8 ตัว ตั้งประดับอยู่ตรงบริเวณบันได ม้าหมายถึงพละกำลังที่ดี กำลังวิ่งไปข้างหน้า ส่วนเลข 8 หมายถึงไม่รู้จักจบสิ้น
3.ต้นไผ่ เจ้าของบ้านเลือกปลูกต้นไผ่ไว้ข้างบ้าน ซึ่งไผ่ตามความเชื่อแล้วถือเป็นไม้มงคลส่งเสริมในเรื่องสติปัญญา
4.บ้านเลขที่ 111 เริ่มจากการมาดูบ้านตั้งแต่แรก แล้วบ้านหลังนี้สร้างทิ้งไว้ยังไม่เรียบร้อย ตอนแรกมีคนมาดูแต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ เมื่อเห็นเลขที่บ้านตรงใจ เลขสวย จึงตัดสินใจเลือกบ้านหลังนี้ทันที ซึ่งเป็นตัวเลขที่เหมาะกับเจ้าของบ้าน เพียงแต่ว่าบ้านหลังนี้ซื้อไว้แต่เจ้าของอาจจะไม่ได้อยู่ต้องเดินทางไปนั่นมานี่ตลอด
5.ปลา มีน้ำก็ต้องมีปลา
6.ต้นรักแรกพบ ไม้มงคลอีก 1 ชนิดที่เจ้าของบ้านเลือกปลูกเนื่องจากส่งเสริมเรื่องความรักความเอ็นดูที่ใครเห็นใครก็ชอบ เหมาะมากสำหรับการทำงานเป็นศิลปิน หรือดารา
7.เต่าหงายท้อง เป็นคำแนะนำที่ซินแสบอกว่าดวงในช่วง 3-4 ปีนี้กำลังดี ถ้าไม่อยากให้อะไรติดขัดให้หารูปปั้นเต่ามาวางหงายท้องไว้ตรงบานพับประตูห้องนอนโดยให้นอนหงายอยู่อย่างนั้นจนถึงปลายปีนี้ บางคนเข้ามาเห็นนึกว่าวางผิด พยายามพลิกให้ จนเจ้าของห้องต้องเอาสก็อตเทปมาแปะยึดไว้กับพื้น
8.บ่อน้ำที่มีน้ำไหลตลอดเวลา ช่วยส่งเสริมเรื่องธุรกิจให้มีการไหลเวียนของเงินที่ดี ราบรื่น ไม่ติดขัด
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *