วิธีการออกแบบ เรียนนายหน้าอสังหาฟรี โดยการออกแบบสระว่ยน้ำ แบบบนดิน ( ฐานราก / เสาเข็ม เป็นอย่างไร) และ บนดาดฟ้า รวมทั้งข้อกำหนด ของ วสท.
โดยทั่วไปสามารถออกแบบslab ก้นสระเป็น 2 แบบ
1. เป็นแบบ beam – slab ทั่วไป โดยคิดน้ำหนักบรรทุก เท่ากับความดันน้ำ ถ้าน้ำลึก 2 ม. ก็ =2,000 กก/ตร.ม ก็จะได้โครงสร้างเหมือนเสาคานอาคารทั่วไปโดยทีม เรียนนายหน้าอสังหาฟรี แต่ ขนาดใหญ่กว่า สามารถใช้กับสระบนดินและสระบนอาคารได้
2. ใช้ตอกเสาเข็มถี่ๆ ประมาณ @ 1.0-2.5 ม และออกแบบพื้นเป็น Flat slab (หนาประมาณ 0.2-0.25 ม.) และ ที่ฐานรากจะทำเป็นหลุม drop panel วิธีนี้นิยมกับสระบนดินเพราะทำงานได้ง่ายและเร็ว ปัญหารั่วน้อย มีข้อควรระวังหน่อยตรงที่ว่า อย่าลืมคิด uplifting force จาก แรงดันของน้ำใต้ดิน เวลาที่สูบน้ำหมดสระ load จะกลับทิศยกขึ้น จึงทำให้ต้องเสริมเหล็กทั้งผิวบนและผิวล่าง หลายคนตกม้าหน้าแตกมาแล้วครับ เวลาสูบน้ำออก สระ crack ทั้งสระเลย
ส่วนกำแพงสระก็ออกแบบเป็นslab ที่มีlaod กระทำเป็นรูปสามเหลี่ยม
สระบนอาคาร หรือบนดาดฟ้า (Reflective pool)แบบแรกนั้นหากความลึกของสระเท่ากันตลอดก็ง่ายหน่อย แต่ปกติมักแปรผันความลึก คือมีzone ตื้น แล้วค่อย ๆ ลาดลึกลงไป การคำนวณออกแบบใช้หลัการเดิม ข้อยุ่งยากและพึงระวังคือ
1. รางระบายน้ำล้นรอบ ๆ สระ จะทำอย่างไร (ต้องหากลอุบายที่แยบยล บ่อย ๆ ครั้งต้องเจาะช่องทะลุคานที่พุ่งมาเสียบ หรือฝากกับผนังสระ (เพื่อรองรับแผ่นพื้นรอบ ๆ สระ)
2. ต้องเป็น double floor คือมีพื้นใต้ พื้นสระอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันน้ำรั่วไหลจากสระหยดลงไปยังห้องข้างล่าง และขณะเดียวกัน ก็ได้อาศัยวางระบบที่เกี่ยวกับสระน้ำเช่น สูบ ท่อ วาล์ว ถังเติมคลอรีน หรืออื่น ๆ (เช่น เครื่องทำน้ำวน ไงครับ)
อนึ่ง วิศวกร ควรทำความเข้าใจกับระบบ (การไหลเวียน) ของน้ำในสระ (มีนิยมใช้ไม่กี่ระบบหรอก) จะได้ทราบว่า ระบบต้องมีอะไรบ้าง ขนาดเท่าใด วางตรงไหน
ตัวอย่างเช่น Surge tank ควรอยู่ตรงไหน ขนาดเท่าไหร่ดี สระน้ำฝังใต้ดิน เวลาไม่มีน้ำ แรงดันดินกระทำด้านนอก จะทำให้ผนังยุบ กลับกัน ตอนสร้างเสร็จใหม่ ๆ ลองใส่น้ำทดสอบรอยรั่ว (ยังไม่ถมดินกลับ) มีแรงดันน้ำ ทำให้ผนังแบะออก แต่ตอนใช้งาน แรงดันดินและน้ำหักล้างกันไปได้พอควร หากยกสระให้โผล่เหนือดินสักหน่อย (เดินขึ้นบันไดสัก 3- 4 ขั้น) แรงดันดินก็ลดลง (เพราะใต้นั้นอาจไม่ต้องถมดิน แต่เลี่ยงไปใช้ผนังก่อปิด หรือแผงคสล.) ก็จะยิ่งทำให้แรงดันดินและน้ำหักล้างกันเกือบหมด เหลือแต่แรงดันของคนในสระน้ำที่ลงไปในสระนั่นเอง
อ้างอิงข้อมูลจากท่าน 2 อาจารย์คือ อาจารย์สุทัศน์ และ อาจารย์ สถาพร โภคา
ข้อพึงระวังสระว่ายน้ำบริเวณเชื่อมต่อ High Zone – Low Zone
High Zone – Low Zone คือส่วนของอาคารที่มีความสูงต่างกัน ซึ่งจะมีระดับการทรุดตัวของอาคารแตกต่างกัน ในการทำ
โครงสร้างก็มักจะแยกกันโดยทีม นายหน้าขายบ้าน หรือหากจะเชื่อมกันก็จะแยกการก่อสร้างกัน
คนละทีแล้วจึงมาเชื่อมกันภายหลัง หลายคนออกแบบให้
มีอาคารเตี้ย (Podium) ด้านหน้าและมีอาคารสูง (Tower) ด้านหลังและวางสระว่ายน้ำอยู่บนชั้นสูงสุดของ Podium
ข้อควรคำนึงก็คือ …อย่าวางสระว่ายน้ำ (รวมถึงอุปกรณ์เกี่ยวเนื่อง) คร่อมระหว่างพื้นที่ของ High Zone – Low Zone เพราะอาจเกิดปัญหาภายหลังเรื่องการรั่วซึม โดย นายหน้าขายบ้าน หรือระบบการทำงานของสระว่ายน้ำไม่มีประสิทธิภาพภายหลัง
เรียนนายหน้าอสังหาฟรี
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *