นายหน้าขายบ้าน ทริคเล็กๆ ที่ส่วนใหญ่เข้าใจผิดในการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม

นายหน้าขายบ้าน ทริคเล็กๆ ที่ส่วนใหญ่เข้าใจผิดในการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม

นอกจากน้ำยาซักผ้าแล้ว “น้ำยาปรับผ้านุ่ม” ก็ถือเป็นไอเทมยอดฮิตที่เหล่าแม่บ้านมักจะขาดไปไม่ได้เหมือนกัน รวมถึงแอดมิน นายหน้าขายบ้าน ด้วยเช่นกัน กลิ่นหอมนุ่ม ติดทนนานซะขนาดนั้น จะไม่ให้เหล่าแม่บ้านชอบอกชอบใจ ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มในการซักผ้าทุกครั้งได้อย่างไร

อ๊ะ ๆ  แต่รู้ไหมคะว่าแท้จริงแล้วน้ำยาปรับผ้านุ่มก็มีข้อห้าม นายหน้าขายบ้าน ข้อควรระวัง แถมยังไม่สามารถใช้ได้กับเสื้อผ้าทุกชนิดและเป็นอันตรายต่อเนื้อผ้าด้วยนะ เอาเป็นว่าวิธีการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

นายหน้าขายบ้านไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มซักผ้ากับผ้าเช็ดตัว

แน่นอนว่าไม่มีใครชอบการเช็ดตัวกับผ้าขนหนูแข็ง ๆ หลังอาบน้ำเสร็จ ดังนั้นเวลาซักผ้าขนหนูแต่ละครั้ง ก็มักจะใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มลงไปด้วยเสมอ แต่ช้าก่อนค่ะ รู้ไหมคะว่าการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มมาก ๆ หรือบ่อย ๆ สามารถลดประสิทธิภาพการดูดซึมของผ้าขนหนูลงได้ คราวนี้ก็จะส่งผลให้เราเช็ดตัวให้แห้งได้ยากขึ้นด้วย ฉะนั้นทางที่ดีเราควรลดการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม แล้วเปลี่ยนมาซักด้วยน้ำส้มสายชูหนึ่งถ้วยตวงแทนจะดีกว่า อ้อ แล้วในระหว่างที่ซักก็อย่าลืมเติมเบกกิ้งโซดาตามลงไปสักครึ่งถ้วยตวงด้วยนะคะ รับรองเลยว่าผ้าขนหนูของคุณจะนุ่มนิ่มน่าใช้เหมือนซักด้วยน้ำยาปรับผ้านุ่ม แต่ที่สำคัญปลอดภัยกว่า ช่วยถนอมใยผ้า และสามารถคงประสิทธิภาพได้เท่าที่ควรจะเป็นเลย

ไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มกับเนื้อผ้าชนิดพิเศษ

เนื่องจากส่วนผสมของน้ำยาปรับผ้านุ่มเป็นสารเคมี จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มกับเสื้อผ้าชนิดพิเศษต่าง ๆ ได้แก่ ผ้าไมโครไฟเบอร์ เพราะจะลดประสิทธิภาพการดูดซึมน้ำลง ผ้าเส้นใยสังเคราะห์ เพราะจะทิ้งสารเคมีตกค้างและกระตุ้นให้เกิดแบคทีเรีย ชุดออกกำลังกาย เพราะจะทำลายการดูดซับเหงื่อและลดความเย็น รวมถึงเสื้อผ้าเด็กหรือเสื้อผ้าที่ออกแบบมาให้กันน้ำ ทนไฟ เพราะน้ำยาปรับผ้านุ่มจะไปกำจัดคุณสมบัติต่าง ๆ ของเสื้อผ้าออกไปนั่นเอง

ไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มกับเสื้อผ้าเด็ก

ผิวของเด็กมีความอ่อนโยนมากเป็นพิเศษ ฉะนั้นคุณพ่อ-คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม ซึ่งมีสารเคมีผสมปนเปื้อนอยู่ เพราะนอกจากน้ำยาปรับผ้านุ่มจะทำให้ผิวของเด็กระคายเคืองได้แล้ว ยังทำลายคุณสมบัติไม่ติดไฟของเสื้อผ้าเด็กอีกต่างหาก อ้อ และถ้าหากคุณพ่อ-คุณแม่คนไหนสงสัยว่าแล้วจะซักเสื้อผ้าเด็กด้วยอะไรดี ขอแอบกระซิบเลยว่าแค่น้ำส้มสายชูก็เอาอยู่แล้วค่ะ

ไม่ควรเทน้ำยาปรับผ้านุ่มลงบนเสื้อผ้าโดยตรง

คนที่ชอบใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มกับเสื้อผ้าโดยตรงเคยสังเกตไหมคะว่ามักจะมีคราบเกาะอยู่บนเสื้อผ้าประจำ ไม่งั้นก็จะมีความลื่น ความมันแปลก ๆ ที่ยากจะกำจัดออกได้ ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะน้ำยาปรับผ้านุ่มที่ใส่ลงไปตกค้างและล้างออกไม่หมดนั่นเอง อ๊ะ ๆ แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะวิธีแก้ไม่ยากเพียงแค่ใส่ปริมาณเสื้อผ้าให้พอเหมาะและเทลงไปในช่องใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มโดยเฉพาะ จากนั้นก็ซักผ้าแบบปกติ เท่านี้เครื่องซักผ้าก็จะปั่นและกระจายน้ำยาปรับผ้านุ่มได้พอดี ไม่มีคราบตกค้างบนเสื้อผ้าอีกแล้ว

น้ำยาปรับผ้านุ่มกับสารเคมีอันตราย

แม้น้ำยาปรับผ้านุ่มจะดูไม่มีพิษ ไม่มีภัย และไม่เป็นอันตราย แต่ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) และองค์กรเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารและครัวเรือนสหรัฐอเมริกา (Environmental Working Group) ได้เปิดเผยว่า ในน้ำยาปรับผ้านุ่มหลายยี่ห้อมีสารเคมีอันตรายปนเปื้อน ซึ่งสารเคมีเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ตั้งแต่กระตุ้นอาการหอบหืดและภูมิแพ้ ไปจนถึงทำให้ผิวหนังระคายเคืองเลยทีเดียว

 

น้ำยาปรับผ้านุ่มกับผลกระทบต่อเครื่องซักผ้าและท่อน้ำ

ส่วนผสมของน้ำยาปรับผ้านุ่มบางแบรนด์มีทั้งสารเคมีและไขมันสัตว์ในปริมาณมาก ฉะนั้นจึงเสี่ยงต่อการอุดตันท่อน้ำและเครื่องซักผ้าได้ง่าย นอกจากนี้ก็ยังกระตุ้นให้เกิดเชื้อราในเครื่องซักผ้าได้อีกด้วย เพราะเมื่อไขมันในน้ำยาปรับผ้านุ่มอยู่กับอากาศและความชื้น ก็จะเป็นการเพาะพันธุ์เชื้อแบคทีเรียชั้นดี ยิ่งไปกว่านั้นน้ำยาปรับผ้านุ่มบางยี่ห้อยังเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตเคมีหรือผลิตจากปิโตรเลียมอีก ซึ่งก็แน่นอนว่าย่อยสลายยาก และเป็นพิษต่อสัตว์น้ำหากทิ้งลงในท่อระบายน้ำหรือคูคลองด้วย

 

แม้จะช่วยให้ผ้าหอม ผ้านุ่มสักแค่ไหน แต่อย่างไรน้ำยาปรับผ้านุ่มก็มีอันตรายแอบแฝงอยู่ อย่างที่แอดมิน อบรมนายหน้าอสังหาฟรี บอกไว้ ฉะนั้นถ้าหากไม่อยากทำร้ายและทำลายเสื้อผ้าชิ้นโปรดของคุณ ก็อย่าลืมนำวิธีใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มเหล่านี้ไปปรับให้เหมาสมกับการซักผ้าครั้งต่อไปนะคะ

 

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *