กว่าจะได้ บ้านใหม่ มาสักหลัง แอดมิน นายหน้าขายบ้าน คงไม่ใช่เรื่องง่ายกันเลยใช่ไหมละคะ คิดว่า เพื่อนๆที่อ่านบทความนี้ ก็น่าจะเข้าใจเป็นอย่างดี บางคนอาจเก็บเงินเป็นปีๆ เพราะบ้าน มูลค่าไม่ได้แค่หลักหมื่นหลักพัน แต่เป็นหลักแสนหลักล้านกัน
เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะรับบ้านจริงๆ ควรต้องตรวจเช็ครายละเอียดขั้นพื้นฐานต่างๆ ให้ดีเสียก่อน โดยปกติแล้ว บ้านส่วนใหญ่ มีประกันการสร้าง ขั้นต่ำ 1 ปี แต่ก็ไม่ควรชะล่าใจไปได้ แอด นายหน้าขายบ้าน แนะนำว่าควรสละเวลาอีกนิดเพื่อที่จะได้งานที่มีคุณภาพและไม่ต้องไปกลุ้มใจในภายหลัง
ตรวจรับบ้านกันอย่างไร ให้ครบถ้วน
ทั้งนี้ ก่อนที่จะไปตรวจรับบ้านกัน เราควรพกกระดาษและปากกา เพื่อเอาไว้สำหรับจดรายละเอียด เมื่อเจอจุดพกพร่อง ชอล์คสี ไว้สำหรับแต้มจุดบกพร่องต่างๆ ของบ้าน ที่เราได้พบเจอ และไขควงตรวจสอบไฟ โดยพื้นฐานการตรวจสอบ
ตรวจประตู หน้าต่าง บานเกร็ด ว่าติดตั้งเรียบร้อยหรือไม่
สามารถเปิดปิด ล็อคได้ปกติมั้ย รวมทั้งการตรวจสอบ ลูกบิด มือจับ กลอน กุญแจ ว่าใช้งานได้ดีและไม่เป็นสนิม
ตรวจเช็คพื้นบ้าน โดยเฉพาะระหว่างจุดเชื่อมต่อระหว่างวัสดุ
เช่น พื้นปูนกับขอบไม้ ปาร์เกต์ อาจจำเป็นต้องลองเดินดูให้ทั่วๆ ว่ามีส่วนใดติดตั้งไม่เรียบร้อยหรือไม่
ตรวจเช็คผนัง
ความเรียบร้อยของการทาสี ปูนฉาบผนัง หากมีตำหนิ หรือปัญหาจุดใด ให้ใช้ชอล์คทำสัญลักษณ์ไว้
ตรวจเช็คเพดาน
ทุกห้องชั้นบน ดูว่ามีรอยรั่วจากหลังคาหรือไม่ ตรงส่วนนี้อาจตรวจสอบได้ยากกว่าส่วนอื่นๆ เพราะมักจะเจอปัญหาก็เมื่อฝนตกลงมาจริงๆ
ตรวจเช็คระบบไฟฟ้า
ทำการเปิดไฟทุกดวงในบ้าน เช็คว่าสามารถเปิดปิด ได้ปกติทุกดวงหรือไม่ และใช้ไขควงในการตรวจสอบปลั๊กไฟทุกจุด ว่าไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่ เมื่อตรวจเช็คด้วยการเปิดปิดไฟเสร็จแล้ว ต่อมาให้ทำการปิดให้ และทำการเช็คมาตรวัดไฟ ว่ายังหมุนหรือไม่ หากทำการปิดสวิทต์หมดแล้ว แต่ยังหมุนอยู่ ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน อาจมีส่วนที่ไฟรั่ว ซึ่งส่งผลให้ค่าไฟฟ้าบานปลายในอนาคตได้
ตรวจเช็คระบบน้ำ
ทำการทดสอบเปิดก๊อกน้ำทุกจุด และปิดให้หมดทุกจุด จากนั้นทำการตรวจเช็คที่มาตรวัดน้ำ ว่ายังหมุนหรือหยุดนิ่ง หากยังหมุนปกติ นั่นอาจหมายถึงระบบท่อภายในบ้านแตกรั่วได้
ตรวจสอบพื้น ในตำแหน่งที่ต้องรองรับน้ำ
เช่น ห้องน้ำ ระเบียงบ้าน ลานซักล้าง หรือจุดอื่นๆ ทำการเทน้ำราดลงพื้น แล้วสังเกตว่า น้ำไหลปกติไม่ท่วมขังหรือไม่
ตรวจสอบความเรียบร้อยของห้องน้ำ
ตรวจสอบรอยคราบ มีส่วนที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้หรือไม่ ตรวจดูการปูพื้นและบุผนัง ว่ามีรอยบิ่นหรือแตกหักหรือไม่
ตรวจสอบรอยร้าวบนผนัง
สังเกตให้ดีก่อนว่า เป็นรอยร้าวที่สามารถแก้ไขได้หรือไม่ รอยร้าวปกติจะมี 2 แบบ นั่นคือรอยร้าวจากการก่ออิฐที่ไม่ได้คุณภาพ รอยร้าวจากการฉาบปูนไม่เกาะกับอิฐ รอยร้าวจำพวกนี้ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียมากนัก สามารถซ่อมเพิ่มเติมได้อย่างสะดวก
ส่วนรอยร้าวอีกประเภท
ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายรวมถึงอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย คือ รอยร้าวที่เกิดจากโครงสร้าง ราฐาน เสา คาน และพื้นบ้าน ซึ่งเกิดจากการออกแบบที่ผิดพลาด ก่อสร้างบกพร่อง เกิดการทรุดตัวที่ต่างกันของโครงสร้าง หรือเกิดจากปัญหาอื่นๆ หากพบรอยร้าวประเภทดังกล่าว ควรให้วิศวกรรมตรวจสอบ มาตรวจดูอีกครั้ง
เมื่อใดที่เราพบจุดบกพร่อง ให้ทำการจดบนทึกไว้อย่างละเอียด แล้วทำรายการที่ต้องแก้ไขหรือซอมแซมไปให้กับผู้รับเหมา หรือเจ้าของ โครงการบ้าน หมู่บ้านจัดสรร เพื่อดำเนินการแก้ไขใหม่และนัดตรวจรับงานกันอีกครั้ง ลองทำตามที่แอดมิน นายหน้าขายที่ดิน บอกดูสิ รับรองเลยว่าได้บ้านใหม่ที่สวยกริ๊งแน่นอนคะ
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *