หากพูดถึง ห้องน้ำ ก็คงอดคิดไม่ได้ว่าแท้จริงแล้วห้องน้ำเป็นที่ระบายความทุกข์ได้แบบดีเยื่ยมเลยล่ะ มีใครคิดเหมือนแอดมิน นายหน้าคอนโด ยกมือขึ้น! แต่การที่จะจัดห้องน้ำอย่างไรให้ถูกหลักฮวงจุ้ยนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนต่างก็งงงวยกันไปหมด
เพราะห้องน้ำเป็นแหล่งพลังงานด้านลบจุดหนึ่งภายในบ้าน นายหน้าคอนโด หลักฮวงจุ้ยห้องน้ำที่ถูกต้องมีอะไรกันบ้าง จึงไม่เสียหายถ้าหากคิดจะลองทำตามดู มีอะไรบ้างมาเช็คกันนน..
ห้ามเปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้
เหตุผลสำคัญที่ทำให้ห้องนำ้กลายเป็นแหล่งพลังงานแรง สามารถส่งผลกระทบต่อเรื่องสุขภาพและความร่ำรวยของทุกคนในบ้านได้ ก็เพราะในห้องน้ำทุกห้องจะมีกระแสน้ำไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา ทั้งน้ำในท่อและน้ำที่ไหลวนอยู่ในชักโครก ซึ่งหากคุณเปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้ เผยให้เห็นสุขภัณฑ์และเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นในห้องน้ำอย่างชัดเจน ความแรงของพลังงานก็จะสามารถกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ในบ้านอย่างอิสระ คราวนี้ทุกคนในบ้านก็จะได้รับผลกระทบเป็นความติดขัดในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ตลอดเวลา ฉะนั้นทางที่ดีเราก็ควรปิดประตูห้องน้ำไปซะ เพื่อป้องกันกระแสพลังงานด้านลบไม่ให้รบกวนส่วนต่าง ๆ ในบ้าน ทว่าใครที่กลัวห้องน้ำจะอับชื้น แนะนำให้ติดพัดลมระบายอากาศ หรือทำช่องระบายอากาศไว้ในห้องน้ำแทนคะ
อย่าแต่งห้องน้ำด้วยสีแดงและสีทอง
หลักการแต่งบ้านที่ดีควรต้องแมทช์สีสันในส่วนต่าง ๆ ของบ้านให้เข้ากัน แต่สำหรับห้องน้ำที่อยู่ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นทิศที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์โดยตรง แม้จะอยากตกแต่งให้สวยแค่ไหนก็ไม่ควรใช้สีแดงและสีทอง เนื่องจากทั้งสองสีนี้จะเกื้อหนุนให้พลังงานหยิน (พลังงานน้ำและธาตุ) แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบให้ความรักความสัมพันธ์ไม่ราบรื่น ส่วนคนโสดก็ยากที่จะเจอรักดี ๆ
ห้องน้ำไม่ควรอยู่ใต้บันได
พื้นที่ใต้บันไดไม่ควรจะเป็นที่ตั้งของห้องน้ำ เพราะตำแหน่งนี้จะส่งผลกระทบให้คุณมีบุตรยาก หรือใครที่มีลูกแล้วลูกก็จะซน แถมยังไม่ค่อยเชื่อฟังคำสั่งสอนเท่าไรนัก ฉะนั้นห้องน้ำตรงใต้บันไดจึงเป็นข้อห้ามที่ควรเลี่ยง แต่หากสร้างไปแล้วสามารถแก้เคล็ดได้ด้วยการปิดประตูห้องน้ำตลอดเวลา พร้อมทั้งตกแต่งด้วยสีที่เหมาะสมกับทิศที่ตั้ง
ห้องน้ำไม่ควรอยู่ด้านบนของประตูหน้าบ้าน
สำหรับบ้านที่มี 2 ชั้น ควรระวังไม่ให้ตำแหน่งของห้องน้ำบริเวณชั้นบนอยู่ตรงกับตำแหน่งประตูหน้าบ้านบริเวณชั้นล่าง เพราะห้องน้ำ ณ ตำแหน่งนี้จะคอยดักโชคลาภไม่ให้ผ่านเข้ามาในบ้านเรา แต่หากปรับเปลี่ยนตำแหน่งห้องน้ำไม่ได้แล้ว อย่าลืมปิดประตูห้องน้ำตลอดเวลาด้วยนะจ๊ะ
ห้องน้ำชั้นสองไม่ควรตรงกับห้องครัวชั้นล่าง
นอกจากห้องน้ำที่ชั้นสองจะไม่ควรอยู่ตรงกับประตูหน้าบ้านที่ชั้นล่างแล้ว ส่วนห้องครัวหรือห้องกินข้าวก็ต้องระวังด้วย เพราะหากห้องน้ำชั้นบนอยู่ตรงกับตำแหน่งเตาไฟหรือโต๊ะกินข้าว แน่นอนว่าฮวงจุ้ยลักษณะนี้จะส่งผลกระทบถึงสุขภาพของคนในบ้านอย่างรุนแรงที่สุด ฉะนั้นเลี่ยงได้จะดีกว่านะคะ
ห้องน้ำกับห้องครัวไม่ควรอยู่ติดกัน
ไม่ใช่แค่เพียงห้องน้ำเท่านั้นที่มีพลังงานแรง แต่ห้องครัวก็ร้อนแรงไม่แพ้กัน เนื่องจากมีเตาไฟตั้งอยู่ และด้วยเหตุผลนี้เราจึงไม่ควรใช้ผนังห้องน้ำกับผนังห้องครัวร่วมกัน หรือพูดง่าย ๆ ว่าถ้าเป็นไปได้ห้องน้ำและห้องครัวก็ไม่ควรอยู่ติดกัน แชร์ผนังร่วมกัน เพราะอาจส่งผลกระทบไปถึงสุขภาพของทุกคนในบ้านได้ ทว่าสำหรับบ้านไหนที่โครงสร้างห้องน้ำกับห้องครัวอยู่ติดกันอย่างช่วยไม่ได้จริง ๆ สามารถแก้เคล็ดได้ด้วยการย้ายสุขภัณฑ์ทุกชิ้นให้ไปอยู่ฝั่งตรงข้ามผนังที่ติดกับห้องครัว วิธีนี้จะช่วยลดความแรงของพลังงานได้อีกหน่อย พร้อมทั้งอย่าลืมปิดประตูห้องน้ำไว้ตลอดเวลาด้วยนะคะ
ปลายเตียงต้องไม่หันไปทางห้องน้ำ
สำหรับห้องน้ำที่ห้องนอนควรต้องจัดที่ทางให้เหมาะสม โดยถ้ามองจากเตียงออกมาจะต้องไม่เจอกับห้องน้ำ หรือแม้แต่ปลายเตียงหันหน้าไปหาประตูห้องน้ำก็ไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะในศาสตร์ฮวงจุ้ยถือว่าลักษณะนี้อาจส่งผลกระทบให้คุณมีปัญหาเรื่องการเงิน ถูกโกง มีโอกาสเป็นบุคคลล้มละลาย และมีเกณฑ์เจ็บป่วยถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว แต่หากเลี่ยงไม่ได้ ควรแก้เคล็ดด้วยการหาม่านกั้นมาตั้งระหว่างกลางไว้ และปิดประตูห้องน้ำตลอดเวลา
มาถึงตรงนี้ แอดมิน อาชีพนายหน้า คิดว่าเพื่อนๆก็คงจะคิดทบทวนดูใหม่อีกครั้งกันใช่มั้ยละคะ อย่าลืมนำขอแนะนำที่เราบอกไปปรับใช้ให้เข้ากับห้องน้ำที่บ้านกันดูนะคะ
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *