นายหน้าที่ดิน รู้ไว้ก่อน..ข้อดีและข้อเสีย ของบ้านน็อคดาวน์ คุ้มหรือไม่?

นายหน้าที่ดิน รู้ไว้ก่อน..ข้อดีและข้อเสีย ของบ้านน็อคดาวน์ คุ้มหรือไม่?

ปัจจุบันหากจะพูดถึงบ้านน็อคดาวน์หรือบ้านสำเร็จรูป แอดมิน นายหน้าที่ดิน คิดว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก บ้านน็อคดาวน์ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในช่วงปี2018นี้ อีกทั้งยังมีการออกแบบที่หลายหลายไปจากเดิม

โดยส่วนใหญ่แล้ว หากเป็นบ้านน็อคดาวน์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย มักนิยมใช้วัสดุไม้ วัสดุสังเคราะห์ โครงสร้างเหล็กขนาดเล็กๆ ตั้งแต่ 1-3ห้องนอน มีทั้งลักษณะบ้านที่เสร็จสมบูรณ์ สร้างเสร็จจากโรงงานพร้อมขนย้ายได้ทั้งหลัง สำหรับเพื่อนๆคนไหนที่กำลังจะตัดสินใจ มีบ้านเป็นของตนเอง และมีบ้านน็อคดาวน์หรือบ้านสำเร็จรูปอยู่ในตัวเลือกแล้ว วันนี้ แอด นายหน้าที่ดิน ยกข้อดีและข้อเสีย มาให้พิจารณากันอีกครั้งคะ

นายหน้าที่ดิน

ข้อดี บ้านน็อคดาวน์ สำเร็จรูป

1. ระยะเวลาในการสร้าง รวดเร็ว ทันใจ เร็วสุด ใช้เวลาในการประกอบ ติดตั้งภายใน 1-2 วัน และระยะเวลา 1-3 เดือน สำหรับบ้านสำเร็จรูป ที่อาจต้องรอสั่งทำขึ้นมาใหม่ ซึ่งหากเทียบจากบ้านทั่วไปนั้น อาจต้องใช้เวลานานถึง 5 เดือนขึ้นไป
2. ลดภาระเรื่องแบบบ้าน เนื่องจากบ้านสำเร็จรูป มีให้เลือกเฉพาะ แบบบ้านที่บริษัทได้ออกแบบไว้ ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการออกแบบบ้าน สามารถเลือกแบบต่างๆ ที่มีได้เลย
3. งบไม่บาน บ้านสำเร็จรูป ลักษณะการซื้อขาย เช่นเดียวกับสินค้าทั่วไป ราคาปกติแล้วจะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกันกับบริษัท มักเป็นราคากลางที่ทางบริษัทผู้จำหน่ายได้กำหนดไว้แล้ว อาจมีความแตกต่างเล็กน้อย หากพื้นที่ดังกล่าวนั้น เข้าไปติดตั้งยากลำบาก หรือมีระยะทางในการขนส่งที่ไกลกว่าปกติ
4. มีตัวอย่างให้ชม ปัจจุบันผู้ประกอบการบ้านน็อคดาวน์สำเร็จรูปหลายบริษัท นิยมสร้างบ้านตัวอย่างไว้โชว์ เพื่อให้ผู้สนใจเข้าชมผลงาน หรือบางบริษัทใช้บ้านน็อคดาวน์ทำเป็นรีสอร์ท เปิดให้เข้าพักได้ จุดนี้จะเป็นข้อดีทั้งผู้ประกอบการและผู้ซื้อ เพราะบ้านตัวอย่าง สามารถทำกำไรด้านค่าเช่าพักได้ ส่วนผู้ที่ต้องการซื้อ สามารถเช่าพักค้างคืนได้ ทำให้เกิดความมั่นใจในการอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น
5. ระบบไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล พร้อมติดตั้งมาให้อย่างเป็นระเบียบแล้ว ผู้อยู่อาศัยไม่ต้องหาช่างมาทำใหม่ สามารถใช้งานได้โดยทันที
6. เคลื่อนย้ายสะดวก โดยเฉพาะบ้านน็อคดาวน์ สำเร็จรูป หรือที่หลายท่านเรียกว่า บ้านโมบาย สามารถขนย้ายได้เลย

ข้อเสีย บ้านน็อคดาวน์ สำเร็จรูป

1. วัสดุก่อสร้าง ปกติแล้ววัสดุที่นำมาใช้สร้างบ้านน็อคดาวน์ ทางบริษัทรับสร้างได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานแล้ว ผู้ซื้อไม่สามารถกำหนดวัสดุตามต้องการได้ อาจได้บ้างเพียงแค่สีสัน หรือปรับเปลี่ยนเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่โดยโครงสร้างหลักแล้ว เป็นไปตามที่บริษัทผู้รับสร้างได้ออกแบบไว้ และอาจมีบางบริษัท ที่ไม่ได้สร้างตามแบบที่ได้โชว์ไว้ ตรงส่วนนี้ แนะนำให้สืบค้นประวัติ หรือสอบถามรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนทำสัญญาสั่งซื้อ
2. ข้อจำกัดด้านขนาด เนื่องจากบ้านน็อคดาวน์ จำเป็นต้องเน้นโครงสร้างที่รับน้ำหนักได้อย่างจำกัด การออกแบบ ก่อสร้าง จึงทำได้เพียงบ้านขนาดเล็ก หากต้องการหลังใหญ่ บ้านประเภทดังกล่าวนี้ จะไม่เหมาะสมเท่าไหร่นัก
3. การต่อเติมที่ทำได้ยาก เนื่องจากการออกแบบโครงสร้างบ้านส่วนต่างๆ ทำมาเพื่อรองรับกับแบบสำเร็จรูปดั้งเดิม การต่อเติมหรือดัดแปรงจึงทำได้ยาก
4. มีแบบบ้านอย่างจำกัด โดยปกติแล้วแต่ละบริษัท จะออกแบบมาให้ลูกค้าได้เลือกไม่มากนัก จึงอาจไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 100%
5. อายุการใช้งาน หากเทียบการใช้งานกับบ้านทั่วไปแล้ว บ้านน็อคดาวน์มีอายุการใช้งานที่น้อยกว่า ส่วนใหญ่จึงนิยมประยุกต์ไว้ใช้ทำรีสอร์ทขนาดเล็ก บ้านพักในสวน บ้านหลังเล็กสำหรับแยกอยู่อาศัยจากบ้านหลัก แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความรวมว่าจะเป็นเช่นนี้ทั้งหมด เพราะปัจจุบันบางบริษัท ได้มีการควบคุมการก่อสร้างและวัสดุคุณภาพ รวมถึงการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ทำให้บ้านน็อคดาวน์สำเร็จรูปบางแบบ มีอายุการใช้งานสูงขึ้น ยาวนาน 40-50 ปี ก็มีคะ

โดยสรุปนั้นบ้าน็อคดาวน์ เป็นอีกรูปแบบบ้านเพื่อใช้ในการอยู่อาศัยหรือประยุกต์ทำรีสอร์ท ออฟฟิศชั่วคราว แอด อบรมนายหน้าขายที่ดิน ว่าเหมาะกับผู้ต้องการความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ประหยัดงบประมาณ และเสร็จเร็วทันใจ แต่จะไม่เหมาะสมนักหากต้องการนำมาใช้เป็นบ้านถาวร ระยะยาว ซึ่งจะดูแลรักษาได้ยากกว่าบ้านทั่วไป แต่สิ่งที่ได้มาทดแทนคือราคาต้นทุนในการสร้าง ที่ต่ำกว่าบ้านทั่วไปมากเช่นกัน

 

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *