มุงหลังคาบ้านด้วยทีม นายหน้าอิสระ กระเบื้องลอนคู่ หรือ เมทัลชีท แบบไหน ทนกว่า กันน้ำรั่วดีกว่า และแพงกว่ากัน

มุงหลังคาบ้านด้วยทีม นายหน้าอิสระ กระเบื้องลอนคู่ หรือ เมทัลชีท แบบไหน ทนกว่า กันน้ำรั่วดีกว่า และแพงกว่ากัน

หากพูดถึงกระเบื้องลอนคู่ โดยทีม นายหน้าอิสระ หลายคนก็คงรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะว่ากระเบื้องลอนคู่จัดว่าเป็นกระเบื้องที่นิยมใช้มุงหลังคาบ้านสูงสุดอีกตัวหนึ่งก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นกระเบื้องที่มีราคาถูก และมีสีสันให้เลือกมากมาย เลยไม่น่าแปลกใจที่มีคนใช้เยอะขนาดนี้

แต่ปัจจุบันก็มีวัสดุที่ใช้สำหรับการมุงหลังคาหลากหลายยิ่งขึ้น โดยวัสดุแต่ละตัวก็จะมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันออกไป “เมทัลชีท(Metal sheet)” ก็เป็นอีกหนึ่งในวัสดุที่นิยมนำมามุงหลังคาบ้านอีกตัวหนึ่งที่ปัจจุบันมีบ้านเป็นจำนวนมากได้หันมามุงหลังคากันด้วยวัสดุชนิดนี้ทีม นายหน้าอิสระ ทีนี้ก็เลยเกิดคำถามที่น่าสนใจขึ้นมาว่า หากเราต้องการมุงหลังคา หรือเปลี่ยนหลังคาบ้านของเรามาเป็นหลังคาเมทัลชีทบ้างมันจะดีหรือเปล่า? มันจะทนมั๊ย? ราคาแพงหรือเปล่า? แล้วเรื่องการรั่วซึมล่ะจะเป็นยังไง? หากต้องนำมาเปรียบเทียบกับหลังคาลอนคู่

วันนี้ Homeenrich ก็เลยนำเอาข้อสงสัย และคำถามในแต่ละข้อโดยเปรียบเทียบระหว่างหลังคาลอนคู่ และหลังคาเมทัลชีท มุงหลังคาบ้านแบบไหนดีกว่ากัน มาให้ผู้อ่านลองอ่านกันดู แต่ขอบอกไว้ก่อนเลยนะครับว่า ที่เขียนมานี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวล้วนๆนะครับ

หลังคาลอนคู่ VS หลังคาเมทัลชีท แบบไหนถูกใจบ้านที่สุด

น้ำหนักและโครงหลังคา

หากพูดถึงเรื่องน้ำหนักกันแล้ว กระเบื้องลอนคู่นั้นจะมีน้ำหนักมากกว่าเมทัลชีทหลายเท่า กระเบื้องลอนคู่แผ่นหนึ่งน้ำหนักประมาณ 6-7 กิโลกรัม/แผ่น ในขณะที่เมทัลชีทนั้นเป็นแผ่นเหล็กที่ถูกรีดออกมาให้มีความบางมากๆ ทำให้มีน้ำหนักเบา หากเทียบกับการปูหลังคาบ้านในพื้นที่ที่เท่ากันแล้ว กระเบื้องลอนคู่จะมีน้ำหนักมากกว่าอยู่แล้ว เมื่อมีน้ำหนักที่มากกว่า ทำให้โครงหลังคาที่ใช้ ก็ต้องมีความแข็งแรงมากว่าด้วยเช่นกัน เพื่อใช้แบบรับน้ำหนักของกระเบื้องเป็น 100 แผ่น ทำให้ต้องเสียค่าวัสดุสำหรับโครงสร้างหลังคามากกว่าเมทัลชีทอย่างไม่ต้องสงสัย

ความรวดเร็วในการปูหลังคา

ความรวดเร็วในการปูหลังคานั้น การปูหลังคาด้วยเมทัลชีทจะรวดเร็วกว่ามาก เพราะเราแค่เอาแผ่นเมทัลชีทที่เป็นแผ่นยาวและใหญ่มาปู และยิงติดกับโครงหลังคา ใช้เวลาแป๊บเดียวก็เสร็จแล้ว เทียบกับการปูหลังคาบ้านด้วยกระเบื้องลอนคู่ที่ต้องวางซ้อนกันทีละแผ่น แถมบางทียังต้องมาเสียเวลาตัดมุมกระเบื้องเพื่อกันน้ำไหลย้อนขึ้นมาอีก ก็ทำให้ใช้เวลาการปูที่มากกว่าเมทัลชีทอย่างแน่นอน

การรั่วซึมของหลังคา

ความจริงแล้วเรื่องการรั่วซึมของน้ำเวลาที่ฝนตกนั้น ก็มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้เท่าๆกัน ขึ้นอยู่กับการปูของช่างมากกว่า ว่าจะเอาใจใส่ และระเอียดรอบคอบมากน้อยแค่ไหน ถ้าเจอช่างที่ทำงานแบบชุ่ยๆ ไม่ว่าจะลอนคู่หรือเมทัลชีท เจอฝนตกหนักๆก็รั่วก็ซึมได้เหมือนกัน แต่ถ้าจะให้คะแนนในกรณีที่ช่างทำงานออกมาได้ดีเท่ากัน ขอให้เมทัลชีทเป็นผู้ชนะก็แล้วกัน เพราะการปูหลังคาบ้านด้วยเมทัลชีทนั้นจะมีรอยต่อที่น้อยกว่าการปูหลังคาบ้านด้วยกระเบื้องลอนคู่ ที่ต้องปูซ้อนกันเป็นแผ่นๆไป ความผิดพลาดในการปูจึงมีมากกว่าโอกาสการรั่วซึมของกระเบื้องลอนคู่จึงมีมากกว่านั่นเอง

ความทนทาน อายุการใช้งาน

ความทนทาน หรืออายุการใช้งานระหว่างหลังคาลอนคู่กับหลังคาเมทัลชีทนั้น ถ้าตามปกติแล้วหลังคาที่ปูด้วยกระเบื้องลอนคู่จะมีความทนทาน และอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่ามาก ถ้าไม่มีใครไปเดินเหยียบ หรือมีของอะไรหนักๆตกลงมาใส่ หลังคาจากกระเบื้องลอนคู่ก็คงอยู่ได้นานเป็น 30-40 ปี แต่ที่จะไปก่อนน่าจะเป็นโครงหลังคาซะมากกว่า ส่วนหลังคาเมทัลชีทนั้นอายุการใช้งานจะสั้นกว่ากระเบื้องลอนคู่ หากสารที่เคลือบอยู่ที่ผิวโลหะเกิดหลุดล่อนออกมา ความคงทน และคุณสมบัติต่างๆ เช่น การสะท้อนความร้อน ของเมทัลชีทก็จะลดน้อยลงไปเยอะ แต่ก็ไม่ต้องห่วงถึงจะบอกว่าน้อยกว่าลอนคู่ แต่การใช้งานก็เป็น 10 ปีขึ้นไป ซึ่งก็จัดว่านานพอสมควร

การป้องกันความร้อน

ในความรู้สึกของผม ผมว่าหลังเมทัลชีทจะทำให้บ้านร้อนมากกว่าหลังคากระเบื้องลอนคู่ จากการที่ได้ลองสัมผัสมา เพราะเมทัลชีทนั้นจะจัดการเร่องความร้อนด้วยการสะท้อนความร้อนกลับไป ซึ่งก็สะท้อนไปได้บางส่วน ส่วนความร้อนที่เหลือก็จะทะลุลงมาภายในบ้าน ซึ่งความร้อนที่เหลือๆมาก็ไม่ใช่เล่นๆ แต่ก็มีวิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ก็คือ การติดฉนวนกันความร้อนเพิ่มเข้าไปอีกชั้น ซึ่งก็จะช่วยลดความร้อนไปได้มาก แต่สำหรับกระเบื้องลอนคู่นั้นมันก็จะดูดซับความร้อนไว้ในตัวกระเบื้องบางส่วน และก็จะแผ่ความร้อนเข้ามายังตัวบ้านเหมือนกัน ซึ่งก็จะร้อนน้อยกว่าเมทัลชีทแบบไม่ใส่ฉนวน แต่เดี๋ยวนี้เค้ามีกระเบื้องที่เคลือบสารสะท้อนแสงแดด ซึ่งสามารถช่วยสะท้อนความร้อนออกไปได้ส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นหลังคาลอนคู่แบบนี้จะทำให้บ้านเย็นกว่าแน่นอน

ความดังเวลาฝนตก

เรื่องนี้เมทัลชีทนั้นชนะขาดแน่นอนครับ เพราะเมทัลชีททำมาจากโลหะ เวลาฝนตกหนักๆแรงๆ เสียงย่อมดังกว่ากระเบื้องลองคู่อยู่แล้วครับ แต่เค้าก็แก้ปัญหาด้วยการใส่ฉนวนกันความร้อนเข้าไปอีกชั้น ก็สามารถช่วยลดการเกิดเสียงดังภายในบ้านได้ในระดับหนึ่ง แต่ข้างนอกบ้านก็ยังดังอยู่ดีครับ แอบเป็นห่วงเพื่อนบ้าน กลัวเค้ารำคาญเอาได้

ราคาหลังคากระเบื้องลอนคู่ กับ เมทัลชีทใครถูกแพงกว่ากัน

ถ้านับกันเฉพาะตัวกระเบื้องนั้น ลอนคู่ถูกกว่าเมทัลชีทแน่นอน เพราะข้อดีของกระเบื้องก็คือเรื่องราคานี่แหละ แผ่นหนึ่งประมาณ 50-60 บาทก็มี แต่ถ้าเทียบเหมารวมทั้งหมด ทั้งค่าวัสดุ ค่ากระเบื้อง ค่าแรง แล้วล่ะก็ราคาถือว่าพอๆกัน เมทัลชีทอาจจะสูงกว่านิดหน่อย แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญอะไรเท่าไร ราคาก็ตกอยู่ที่ 400-600 บาท/ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับรูปแบบจองหลังคา และความยากกง่ายในการทำด้วยครับ

ความลาดชัน(สโลป)ของหลังคา
กระบื้องลอนคู่ต้องทำสโลปไม่น้อยกว่า 15 องศา ขึ้นไป ไม่อย่างนั้นจะมีปัญหาเรื่องน้ำไหลย้อน แต่เมทัลชีทสามารถทำสโลปได้น้อยกว่าคือที่ 5 องศาโดยทีม สัมมนาอสังหา ถ้าพูดถึงเรื่องรูปแบบการดีไซน์แล้ว เมทัลชีทค่อนข้างจะยืดหยุ่นกว่า จะทำเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ก็อยู่ที่การดัดในตอนแรก แล้วก็เอามาแปะๆยิงๆเข้าไปแค่นี้ก็เสร็จแล้ว

ก็ลองเปรียบเทียบกันดูระหว่างข้อดีและข้อเสียของกระเบื้องลอนคู่ซึ่งทีม สัมมนาอสังหา กับเมทัลชีทว่าอันไหนดียังไง ด้อยยังไง แต่โดยส่วนตัวแล้วถ้าต้องเอามามุงหลังคาหรือเอามาปูหลังคาบ้าน ผมขอเลือกเป็นกระเบื้องลอนคู่ดีกว่าครับ ผมชอบทั้งในเรื่องของราคา ความสวยงาม และรูปแบบสีสันที่หลากหลายกว่า ในความรู้สึกเหมือนเมทัลชีทจะเหมาะกับการทำหลังคาโรงงานซะมากกว่า ยังไงนี่ก็เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ หากผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

นายหน้าอิสระ

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *