ขอเจาะลึกลงไปสู่พื้นที่ที่เป็นหัวใจสำคัญของบ้าน โดยทีม อบรมนายหน้าอสังหา นั่นก็คือ Living Area หรือพื้นที่ใดก็ได้ที่เป็นศูนย์รวมของสมาชิกทุกคนในบ้าน
ไม่ว่าจะพักผ่อนรีแล็กซ์ ดูทีวี ทำงาน อ่านหนังสือ จัดปาร์ตี้รับแขก หรือเล่นเกม การออกแบบภายในของส่วนนี้จึงมีรายละเอียดที่น่ารู้ก่อนออกแบบมากมาย เพื่อออกแบบให้เกิดพื้นที่ Living ที่เหมาะสมสำหรับทุก ๆ ครอบครัว มาดูกันว่า อบรมนายหน้าอสังหา ต้องเริ่มลงมือกับส่วนใดก่อน
LIVING WITH COLOR
Living Room จำเป็นต้องมีบรรยากาศที่เป็นมิตร อบอุ่นและอยู่สบาย โดยเลือกใช้กลุ่มสีที่ดูเข้ากันง่ายและสบายตา มาดูเทรนด์การใช้สีสันใน Living Room ของปีนี้กันดีกว่าค่ะ
Seaside Harmony กลุ่มสีที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสีของทะเลในวันฟ้าเปิด โดยทีม อบรมนายหน้าอสังหา ดูยังไงก็สบายตาอยู่แล้ว ประกอบด้วยสี Sea Grass Green, Ocean Blue, Aqua, Warm White Beach Sand
สีในกลุ่มโทนเย็นแบบนี้เมื่อนำมาใช้ภายในห้องแล้วเลือกใช้สีคู่ตรงข้ามในกลุ่มสีโทนร้อนมาตัดเป็นจุดเด่น จะเพิ่มความน่าสนใจขึ้นได้อีกเยอะเลย
Urban Alternative กลุ่มสีที่ใช้มากในบ้านที่มีการตกแต่งในสไตล์ที่เน้นความเป็นธรรมชาติ โชว์สัจจะของวัสดุ จนไปถึงความเป็นอินดัสเทรียลนิด ๆ ประกอบด้วยสี Dark Olive, Chalky Brown, Industrial Grey, White, Burnt Orange สีกลุ่มนี้จะให้บรรยากาศที่ดูดิบเท่ไร้กาลเวลา เหมาะกับคนรุ่นใหม่
Natural Avocation กลุ่มสีที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิทยาศาสตร์ที่พยายามหาความลับของธรรมชาติ ตั้งแต่พืชศาสตร์ภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ ตลอดจนความลับของสัตว์และแมลง
ศาสตร์แขนงเหล่านี้ได้ตีความออกมาเป็นกลุ่มสีที่ประกอบด้วย Jungle Green, Barked Earth Brown, Yellow, Deep Blue, Grass Green สีกลุ่มนี้กำลังได้รับความนิยมไม่เฉพาะในการตกแต่งบ้านเท่านั้น
แต่ในงานแฟชั่นและศิลปะก็ได้นำสีกลุ่มนีไปใช้อย่างกว้างขวาง
ความจริงแล้ว Living Room นั้นเป็นห้องที่เปิดกว้างสำหรับทุกไอเดียการออกแบบ ตามความต้องการของแต่ละบ้านที่จะให้เป็นแบบใดก็ได้ เพียงแต่ขอให้เป็นพื้นที่ที่เกิดความสุขและเกิดกิจกรรมร่วมกันได้เท่านั้น
เพื่อให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทุก ๆ คนในบ้านอย่างแท้จริง
LIVING WITH DIMENSION
เริ่มตั้งแต่การกำหนดพื้นที่ของ Living Room หลายคนอาจจะสงสัยถึงขนาดที่มีความเหมาะสมกับห้องนี้ ทำได้ง่าย ๆ โดยดูที่ 2 ประเด็นหลักคือ
1. จำนวนสมาชิกในครอบครัวและกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่ง Living Room โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดตั้งแต่ 2×2 เมตรขึ้นไป ในกรณีที่เป็นคอมแพคสเปซ เช่น ในคอนโด
และจะมีขนาดมากขึ้นไปตามข้อจำกัดของพื้นที่แต่ละบ้าน
2. กำหนดตามความต้องการใช้งานของสมาชิก เช่น บ้านเดี่ยว 2 ชั้น ไซส์มาตรฐานทั่วไปสำหรับครอบครัวเดี่ยว 3-4 คน ห้อง Living Room ควรมีขนาดเริ่มแต่ 4×4 เมตร
เพียงพอสำหรับชุดโซฟา 3 ที่นั่ง 1 ชุด และอาร์มแชร์อีก 1 ตัว ส่วนใหญ่มีการใช้งานเพียงแค่นั่งเล่น พักผ่อนและดูทีวี ซึ่งก็สามารถขยายขนาดให้เหมาะกับปริมาณและความต้องใช้งานได้
โดยไม่จำกัดการออกแบบอยู่แต่เพียงห้องสี่เหลี่ยมเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นได้ทั้งห้องสเปซแบบวงกลมและวงรี ที่ทำให้ห้องนั่งเล่นดูน่าสนใจขึ้น
อีกหนึ่งมิติที่ควรให้ความสนใจอย่างยิ่งในการออกแบบ Living Room ก็คือ “Ceiling Height” หรือความสูงของฝ้าเพดาน หรือออกแบบให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง 2 ชั้น
เนื่องจากความสูงของฝ้าส่วน Living Room มีผลต่อความรู้สึกของสเปซอย่างมาก ฝ้าที่สูงขึ้นก็หมายถึงความสูงของหน้าต่างและกระจกที่สูงขึ้นด้วย ยิ่งออกแบบให้ห้องมีเพดานที่สูง (2.80 เมตรขึ้นไป)
สเปซของห้องก็จะยิ่งมีความโปร่งโล่ง สวยงาม และมีบรรยากาศที่ดูหรูหรา โอ่อ่ามากขึ้น
LIVING LAYOUT
โดยทั่วไปในห้อง Living Room ที่ใช้งานปกติ (แบบยังไม่มีฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มเข้าไป) หลัก ๆ มักประกอบไปด้วยโซฟา, อาร์มแชร์, เดย์เบด, โต๊ะกลาง, โต๊ะข้าง, ชั้นวางของและชั้นวางทีวี
การจัดเลย์เอาท์ของห้อง Living Room จึงเป็นการนำเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นมาจัดวางให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้อง Living Room ที่แต่ละบ้านมี
ซึ่งการจัดเลย์เอาท์ที่ดีจะไม่คำนึงถึงแต่ข้อจำกัดของพื้นที่เท่านั้น แต่จำเป็นต้องเข้าใจการใช้งานภายในห้องที่จะเกิดขึ้นของการจัดเลย์เอาท์ในแบบนั้น ๆ ด้วย ขอยกตัวอย่างการจัดเลย์เอาต์ห้อง Living Room ในแบบต่าง ๆ มาให้ดูกันค่ะ
Layout A ขนาด 3.5×3.5 เมตร เป็นส่วน Living Room ที่อยู่ในคอมแพคสเปซ อาจใช้ในส่วน Living ของห้องคอนโด ที่มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด
โดยออกแบบให้ด้านหนึ่งบิวท์อินเป็นยกพื้นสูงขึ้นมาเต็มพื้นที่ด้านกว้าง แล้ววางเบาะและหมอนด้านบนตามใจชอบ จะได้เป็นพื้นที่กึ่งโซฟากึ่งเตียงที่สามารถนั่งหรือนอนเอกเขนกได้ทั้งวัน
รวมทั้งยังสามารถออกแบบยกพื้นให้เป็นสิ้นชักเก็บของได้อีก ถือเป็นการออกแบบเลยเอาต์ที่พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Layout B ขนาด 4×4 เมตร เป็นห้อง Living Room ขนาดมาตรฐานที่เห็นได้ทั่วไปตามบ้านเดี่ยวหรือคอนโด โดยจัดเลย์เอาท์ให้มีชุดโซฟาขนาด 3 ที่นั่ง และยังมีเดย์เบดไว้ตรงฝั่งที่ติดหน้าต่าง ให้สามารถนอนพักผ่อนในเวลาระหว่างวันได้
Layout C ขนาด 5×4 เมตร เป็นห้อง Living Room ขนาดมาตรฐานเช่นเดียวกัน ออกแบบให้มีอาร์มแชร์อยู่ทั้งสองข้างของโซฟา ทำให้ห้องดูมีความสมมาตรและมีความเป็นทางการขึ้นมาหน่อย
Layout E ขนาด 5×5 เมตร ห้อง Living Room แบบเป็นทางการอีกแบบหนึ่ง ใช้โซฟาแบบตัว L เพื่อให้นั่งเหยียดขาได้ในท่าที่สบายมากกว่าพร้อมเพิ่มจำนวนที่นั่งภายในห้องตามพื้นที่ห้องที่มากขึ้น
Layout F ขนาด 4.5×5 เมตร ห้อง Living Room ที่ตั้งใจออกแบบเลยเอาต์ให้มีความสบาย ๆ ดูสนุกสนาน และเต็มไปด้วยจินตนาการประกอบไปด้วยผนังอยู่ตรงกลาง
สามารถตกแต่งให้กลายเป็น Feature Wall หรือผนังที่โดดเด่นของห้องได้ โซฟาเลือกเป็นแบบฟรีฟอร์มลดความเป็นทางการลง พื้นที่ที่เหลือยังเต็มไปด้วยบีนแบ็กที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายตามการใช้งาน
Layout H ขนาด 5 เมตร ตัวอย่างการจัดเลย์เอาท์ห้อง Living Room ในกรณีที่มีพื้นที่ห้องเป็นรูปวงกลม ซึ่งทำให้ห้องมีความแตกต่างอย่างน่าสนใจ
การจัดเลย์เอาท์แบบนี้จะทำให้บรรยากาศของห้องแตกต่างไปจากห้องสี่เหลี่ยมธรรมดาไปเลย หากใครอยากลองการออกแบบใหม่ ๆ Living Room ที่เป็นวงกลมก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
Layout I ขนาด 11×4 เมตร การจัดเลย์เอาท์แบบนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในบ้านสมัยใหม่โดยการออกแบบให้เป็นห้องโถงขนาดใหญ่เพียงห้องเดียว
จัดแปลแบบ Open Plan ประกอบด้วยทั้งชุดรับแขก ชุดโต๊ะรับประทานอาหาร และส่วนเตรียมอาหารหรือแพนทรี ทำให้ห้องดูโล่งโปร่งและกว้างขวางกว่าความเป็นจริง
ด้วยหน้าต่างทั้งสองด้านจึงเกิด Ventilation เย็นสบายทั้งวัน ห้องนี้จึงเหมาะกับการเป็นศูนย์กลางของบ้านอย่างแท้จริง
LIVING FIT FUNCTION
อย่างที่บอกไปแล้วว่าทุกฟังก์ชั่นการใช้งานและกิจกรรมที่ครอบครัวทำด้วยกันได้สามารถออกแบบลงไปในห้องนั่งเล่นได้หมด Living Room ในบ้านสมัยใหม่จึงมักทำหน้าที่มากกว่าเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนหรือดูทีวี
Living+Home Theater ห้อง Living Room ที่สามารถใช้งานเป็นโฮมเธียเตอร์ได้ การออกแบบจำเป็นจะต้องเตรียมห้องให้สามารถคุมความมืด-สว่างได้
โดยการออกแบบรางม่านให้เป็นแบบซ่อนเพื่อไม่ให้แสงเล็ดลอดเข้ามาในห้องได้ และการใช้ม่านที่เป็นแบบแบล็กเอาท์ ทำให้สามารถดูภาพยนตร์แบบโรงหนังได้แม้ในเวลากลางวัน
นอกจากนี้การเลือกเฟอร์นิเจอร์พวกโซฟาอาจจะต้องเลือกให้มีความลึกค่อนข้างมากหน่อย เพื่อให้นั่งสบายในอิริยาบถขณะดูโทรทัศน์เป็นเวลานาน เคล็ดลับอีกอย่างของห้องโฮมเธียเตอร์นั่นก็คือ
การใช้สีแดง เพราะสีแดงเป็นสีที่มีดที่สุดเมื่อเวลาปิดไฟนั่นเอง
Living+Game Room ในครอบครัวที่มีเด็ก ๆ อาจจะออกแบบให้ Living Room กลายเป็น Game Room ที่สามารถสร้างความสนุกสนานให้กับทุก ๆ คนในบ้านได้
โดยอาจออกแบบให้โต๊ะพูลขนาดเล็กและฟุตบอลโต๊ะอยู่กลางห้องให้เป็นทั้งเกมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถเล่นด้วยกันได้ และยังเป็นองค์ประกอบตกแต่งบ้านได้อีก
โต๊ะกลางที่ออกแบบให้มีกิมมิกในรายละเอียด โดยเปิดท็อปโต๊ะออกมาแล้วกลายเป็นกระดานหมากรุก ก็สามารถสร้างความประหลาดใจและเป็นสีสันให้กับห้องได้เป็นอย่างดี
Living+Library ห้อง Living Room สำหรับครอบครัวหนอนหนังสืออาจจำเป็นจะต้องเน้นเรื่องความสว่างเป็นสำคัญ เพราะแสงธรรมชาติเป็นแสงสว่างสำหรับการอ่านหนังสือหรือทำงานได้ดีที่สุด
ห้องควรจะออกแบบให้มีช่องเปิดเพื่อให้แสงภายนอกเข้ามาภายในห้องได้ในปริมาณที่เพียงพอ โดยอาจจะให้มีม่านแบบเชียร์หรือม่านแบบโปร่งแสง หรือม่าน Sunscreen ที่ปิดได้เมื่อแดดแรงเกินไปเป็นตัวควบคุมแสงสว่าง
Living+Party Space หลายครอบครัวไม่ได้มี Living Room ไว้สำหรับสมาชิกภายในบ้านเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นสถานที่สำหรับรับรองเพื่อน ๆ และญาติ ๆ ในงานปาร์ตี้ต่าง ๆ อีกด้วย ดังนั้น Living Room
ห้องนี้จึงควรอยู่ติดหรือเข้าถึงห้องแพนทรี่และห้องครัวได้ง่าย วัสดุที่ใช้ไม่ว่าจะพื้นหรือผนังก็ควรจะเป็นวัสดุที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เช่น กระเบื้อง หิน และกระจก เป็นต้น
รวมทั้งควรมีพื้นที่เชื่อมต่อสู่ภายนอกในส่วนของสวนและระเบียง ให้สามารถรองรับแขกในกรณีที่ด้านในบ้านรองรับได้ไม่พอด้วย
อย่างไรก็ตามบ้านครอบครัวใหญ่มักจะให้ความสำคัญกับการออกแบบ Living Room ให้มีความยืดหยุ่นสูง โดยวิธีเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวมากกว่าเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน เพื่อให้พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตามความต้องการใช้งานได้ในทุก ๆ กรณี
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *