สวัสดีดีคะ..วันนี้แอดมินคนดีคนเดิม สัมมนานายหน้า มีทริคเล็กน้อยสำหรับช่วงใกล้สิ้นปีในอีกไม่กี่เดือนแบบนี้ เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาของการหาของขวัญให้กับคนใกล้ตัวและตัวเอง เหตุนี้เองไม่ต้องไปหาของขวัญสุดพิเศษที่ไหนไกล
เพียงลงมือตกแต่งบ้านโดยเฉพาะหน้าบ้านใหม่ เน้นตามหลักศาสตร์ฮวงจุ้ย สัมมนานายหน้า เท่านี้ก็ได้ของขวัญสุดพิเศษ เสริมความมงคล เฮงๆ รวยๆ ตลอดปี
หน้าบ้าน จุดรับเงิน
หลายคนคงเคยได้ยินมาแล้วว่าหน้าบ้าน เปรียบเสมือนจุดรวมพลังเข้าสู่บ้าน โดยตามความเชื่อของศาสตร์ฮวงจุ้ย ว่ากันว่าหากเจ้าของบ้าน ต้องการนำความมงคล ร่ำรวยเข้าสู่บ้าน ให้พยายามจัดหน้าบ้านให้เปิดโล่ง ไม่รกรุงรังหรือเต็มไปด้วยขยะสิ่งสกปรก เพราะจะทำให้พลังงานไม่ดี ความอัปมงคลเข้าสู่บ้าน ดังนั้นหากบ้านไหนต้องการให้หน้าบ้านเปรียบเสมือนเป็นจุดรับเงินจึงมักนิยมตกแต่งรับฮวงจุ้ยหน้าบ้านดังนี้
1. ไม่ว่าจะจัดลานหน้าบ้านเป็นสนามหญ้าหรืออะไรก็ตาม ข้อคำนึงของหลักฮวงจุ้ยหน้าบ้าน จำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานของความสะอาดเป็นสำคัญ
2. ตามศาสตร์ฮวงจุ้ยหน้าบ้าน เชื่อกันว่าบริเวณหน้าบ้านจำเป็นต้องมีแสงสว่างส่องมาเพียงพอ ดังนั้นหากบ้านไหนต้องการต่อเติมหลังคาเพิ่มเติม อาจจะต้องเลือกที่ความสูงที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้บริเวณหน้าบ้านดูมืด
3. อีกหนึ่งข้อคิดของหน้าบ้านที่ถูกหลักฮวงจุ้ยหน้าบ้าน นั่นคือเรื่องของกระแสลมที่พัดผ่าน แน่นอนว่าการเลือกบ้าน สิ่งที่ช่วยให้ตัดสินใจซื้อและย้ายเข้าไปอยู่คือ เมื่อเข้าไปแล้วสัมผัสได้ถึงความเย็นของลมที่พัดผ่าน แต่
สำหรับฮวงจุ้ยหน้าบ้านอาจจะต้องเลือกหลังที่ลมไม่พัดแรงมากนัก เนื่องจากมีความเชื่อว่า แทนที่จะพัดเงินพัดทองเข้าบ้าน กลายเป็นพัดออกหมด
หน้าบ้านควรหันไปทางทิศไหน? อยู่แล้วรวย มีความสุข
เรื่องของทิศหน้าบ้าน แน่นอนว่านอกจากจะต้องคำนึงเรื่องบ้านเย็น แสงแดดที่ส่องเข้าบ้านแล้ว ตามศาสตร์ของฮวงจุ้ยหน้าบ้าน ยังเน้นเรื่องความมงคลเป็นสำคัญด้วย โดยคนไทยจะมีความเชื่อว่าบ้านที่หันไปทางทิศเหนือและตะวันออก จะทำให้พบแต่เรื่องดีๆ สืบเนื่องจากพลังงานดีเข้าสู่บ้าน ทั้งนี้เป็นเพราะแสงอาทิตย์ช่วงเช้าฝั่งทิศตะวันออกและเหนือไม่ค่อยร้อนมาก แสงแดดมักจะแผ่ความร้อนในช่วงกลางวันอ้อมไปทางทิศตะวันตก จึงทำให้คนที่อยู่อาศัยพบเจอแต่ความสบาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ใช่ว่าจะสามารถหาบ้านที่หันออกบริเวณทิศดังกล่าวได้ทุกหลัง ดังนั้นตามศาสตร์ฮวงจุ้ยหน้าบ้านจึงมีวิธีแก้ไขดังนี้
1. เมื่อบ้านถูกหันไปทางทิศใต้ และพื้นที่หน้าบ้านตั้งอยู่ในทิศดังกล่าว ตามศาสตร์ฮวงจุ้ยหน้าบ้านให้แก้ไขโดยการใช้แสงไฟเข้ามาช่วย โดยอาจติดตั้งโคมไฟสนามหรือโคมไฟสวยงามมาติดตั้งในบริเวณดังกล่าว เพื่อเชื้อเชิญให้โชคลาภเข้ามาในบ้าน
2. หากหน้าบ้านถูกหันอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ให้เสริมความมงคลด้วยไม้ดอกไม้ประดับ ตามความเชื่อของศาสตร์ว่ากันว่าต้นไม้จะเสริมความมงคลให้กับบ้านและเจ้าของบ้าน
3. แน่นอนว่าหากเอ่ยถึงบ้านที่อยู่ทิศตะวันตก หลายคนอาจมองว่าเป็นทิศไม่ดี นำความอัปมงคลเข้าสู่บ้าน แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป สามารถแก้ให้คนที่อยู่อาศัยในบ้านพบเจอความสุขได้ด้วยการนำระฆังลมที่ทำจากโลหะกลวง 6 และ 8 แท่งมาแขวนบริเวณหน้าบ้าน ทั้งนี้เจ้ากระฆังดังกล่างจะสามารถกระตุ้นพลังงานดีเข้าสู่ภายในบ้านได้
ประตูบ้าน ถูกหลักฮวงจุ้ยหน้าบ้าน
เมื่อพูดถึงหน้าบ้าน แน่นอนว่าประตูบ้านก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะเสริมความมงคลเข้ามาในบ้าน ตามหลักศาสตร์ฮวงจุ้ยหน้าบ้าน โดยมีความเชื่อว่าประตูบ้านไม่ควรอยู่ตรงกัน เนื่องจากจะทำให้เงินทองรั่วไหล ด้วยเหตุนี้การเลือกประตูบ้านควรคำนึงถึงลักษณะดังต่อไปนี้
1. ตามความเชื่อของศาสตร์ฮวงจุ้ย เชื่อว่าสีเขียวเป็นสีมงคลเรื่องการเงิน ดังนั้นหากทาสีดังกล่าวไว้บริเวณประตูทางเข้าบ้าน ก็จะสามารถเรียกและดูดซับเงินเข้าบ้านได้
2. ประตูบ้านที่ถูกหลักฮวงจุ้ยจะต้องไม่รุด ทรุดโทรม เนื่องจากเชื่อกันว่าพลังงานดีจะไหลเข้ามาในบ้านและออกทางหลังบ้านได้ง่าย
3. เมื่อประตูบ้าน เปรียบเสมือนประตูเงินประตูทอง เปิดรับสิ่งดีๆ เข้าสู่บ้าน ดังนั้นจึงควรปรับรูปโฉมของประตูอยู่ตลอด เพราะการตกแต่งประตูให้ดูสดใส จะช่วยกระตุ้นให้พลังงานไหลเวียนอย่างสะดวก ส่งเสริมความร่ำรวยยิ่งๆ ขึ้น
ใครที่กำลังเตรียมตัวจัดบ้าน หรือเพิ่งซื้อบ้านมาเพื่อรับปีใหม่ สัมมนาอสังหา ลองนำไอเดียการตกแต่งหน้าบ้านตามศาสตร์ฮวงจุ้ยมาใช้ รับรองว่าเฮงๆ รวยๆ ตลอดปี ตลอดไป แน่นอน
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *