เว็บ นายหน้าขายคอนโด แนะนำวิธีดูแลดอกไม้ในแจกัน ในบ้านของเราให้ดูดีอยู่เสมอ

เว็บ นายหน้าขายคอนโด แนะนำวิธีดูแลดอกไม้ในแจกัน ในบ้านของเราให้ดูดีอยู่เสมอ

สวัสดีทุกท่านวันนี้เรากลับมาพบกับเว็บ นายหน้าขายคอนโด กันอีกครั้ง ในวันนี้เรามีบทความดีดี มานำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกันอีกเช่นเคยกับ บทความ วิธีดูแลดอกไม้ในแจกัน ในบ้านของเราให้ดูดีอยู่เสมอ

หลายๆคนได้สอบถามมาทางเว็บ นายหน้าขายคอนโด ว่าเราจะสามารถดูแลดอกไม้ในแจกันของเราให้ดูดีอยู่เสมอ และ สามารถอยู่ได้ นานๆ อย่างไรบ้าง

นายหน้าขายคอนโด

ดอกไม้ในแจกันนั้นถือว่าเป้นสิ่งหนึ่งที่ คนในปัจจุบัน ชอบนำมาตกแต่งบ้าน กันไม่มากก็น้อย แม้ว่าในปัจจุบันนี้เราจะมีดอกไม้เทียมที่ไม่ต้องดูแลมาให้เลือกใช้ก็เถอะ แต่อย่างไร มันก็ไม่อาจจะดูความสวย สดใส เป็นธรรมชาติของดอกไม้จริงๆ ได้หรอก

และเมื่อใช้ของจริง กาลเวลาก็จะทำให้มันเหี่ยวเฉาไป ทำให้คงอยู่ได้ไม่นานต้องเปลี่ยน ใหม่อยู่บ่อยๆ ทั้งสิ้นเปลือง และ เสียเวลา

ฉะนั้นในวันนี้เราจึงมีวิธีดีดี ที่จะใช้ดูแลดอกไม้ตกแต่งบ้านเหล่านี้กัน

เวลาที่เหมาะสมในการตัดดอก

เริ่มกันที่จุดเริ่มต้นตั้งเเต่การตัดนี่เเหละ เพราะระยะเวลาที่เหมาะสมจะตัดดอกไม้เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องนึกถึงด้วย เวลาที่เราจะตัดดอกไม้จากต้น ต้องรดน้ำต้นไม้ให้อิ่มก่อนแล้วค่อยตัดดอก เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปแทนที่น้ำในก้านดอก

นอกจากนี้ควรตัดตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งก้านยังอวบน้ำอยู่ จะทำให้ดอกไม้อยู่ได้นานกว่าเราตัดตอนบ่ายหรือเที่ยง เพราะอากาศตอนบ่ายและเที่ยงนั้นร้อนจัด จะทำให้ก้านสูญเสียน้ำมากและเหี่ยวง่าย

ตัดดอกไม้ที่มียาง

เวลาที่เราจะตัดดอกไม้ที่มียางนั้น เมื่อตัดออกมาแล้วควรจุ่มโคนก้านดอกในน้ำร้อนอุณหภูมิ 80-90 °C  ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อให้ยางหลุดออก เพราะยางจะไปอุดตันบริเวณรอยที่เราตัด

การตัดดอกไม้เเต่ละชนิด

ระยะบานของดอกไม้เเต่ละชนิดนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตัดก็ไม่เท่ากันด้วย ถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงถึงด้วย

– ดอกกุหลาบ : จะตัดได้เมื่อกลีบเลี้ยงบานออกตั้งฉากกับตัวดอกที่ยังตูมอยู่ หรือตัดเมื่อกลีบดอกกลีบแรกหรือกลีบที่สองเริ่มแย้มกลีบ ถ้าเราตัดตอนที่ดอกยังอ่อนเกินไปจะทำให้ดอกเหี่ยวง่ายและไม่บานต่อ แต่ถ้าตัดในขณะที่ดอกบานมากเกินไปก็จะทำให้ดอกโรยเร็ว ดอกกุหลาบสีเหลืองจะมีระยะการบานสั้นกว่าสีอื่นจึงควรตัดเมื่อดอกยังตูมอยู่

– ดอกเบญจมาศ : ควรตัดเมื่อสีเขียวใจกลางดอกจางหายไปแล้ว ถ้าดอกเป็นช่อ ควรให้ดอกที่อยู่ตรงกลางช่อบานเต็มที่ก่อน

– ดอกคาร์เนชั่น : ควรตัดเมื่อกลีบดอกบานทำมุมฉากกับกลีบรองดอกและใจกลางดอกคลี่ออก

– แกลดิโอลัส : ควรตัดเมื่อดอกล่างดอกแรกหรือดอกสองเริ่มมีสีเห็นชัดเจน

วิธีการตัดดอก

ใช้มีดหรือกรรไกรที่และสะอาดตัดก้านดอกให้เป็นมุมเฉียงและให้ได้รอยตัดเรียบไม่ช้ำ การตัดเฉียงๆ เพื่อให้มีเนื้อที่ในการดูดน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะดอกไม้ที่มีก้าน เป็นไม้เนื้อแข็ง ดอกไม้ประเภทนี้จะดูดน้ำได้เฉพาะทางรอยตัดเท่านั้น นอกจากนี้ควรริดใบด้านล่างของก้านออกบ้าง เพื่อไม่ให้เน่าอยู่ในน้ำทำให้เกิดกลิ่น และมีแบคทีเรียเจริญเติบโตไปอุดก้านดอก ซึ่งจะทำให้ดอกไม้ดูดน้ำไม่ได้และเหี่ยวเร็ว การตัดดอกไม้ทุกครั้งควรใช้ภาชนะพลาสติกที่สะอาดทุกครั้ง ใส่น้ำไว้พอให้ท่วมก้านประมาณ 1–2 นิ้ว เป็นอย่างน้อย ให้น้ำอุณหภูมิ 38-43°C จะช่วยเร่งให้ก้านดอกดูดน้ำได้เร็วขึ้น เพื่อชดเชยกับน้ำที่เคยได้รับจากต้นแม่ และทำให้ได้รับน้ำได้อย่างไม่ขาดตอน

เติมนิดผสมหน่อยจะช่วยให้ดอกไม่อยู่ได้นานขึ้น

สูตรสารเคมีอย่างง่ายสามารถช่วยให้ดอกไม้อยู่ในแจกันได้นานขึ้น

– สูตรที่ 1 ผสมน้ำกับเครื่องดื่มเซเว่นอัพในอัตราส่วนที่เท่ากัน เติมน้ำยาซักผ้าขาวไฮเตอร์ 1 ช้อนชา

– สูตรที่ 2 ใช้น้ำสะอาดประมาณ 1 ลิตรต่อน้ำมะนาว 2 ช้อนชา น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำยาฟอกสี 1 ช้อนชา

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ควรวางแจกันไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ ห่างจากแหล่งกำเนิดความร้อน ดอกไม้ที่ตัดดอกแล้วไม่สามารถทนต่อแสงอาทิตย์โดยตรง เว้นแต่แสงจากหลอดไฟจะช่วยยืดอายุดอกไม้ได้ ทำให้ใบสดมีสีเขียวนานกว่าปกติ ควรตั้งแจกันบริเวณที่มีความชื้นสูง ถ้าอยู่ในที่ที่อากาศแห้งควรฉีดพ่นละอองน้ำให้ดอกไม้วันละ 1–2 ครั้ง ไม่ควรวางแจกันในที่ที่มีลมโกรก และใกล้แหล่งผลิตก๊าซเอธิลีน เช่น ผลไม้สุก เตาแก๊ส การเผาไหม้ของน้ำมันและควันบุหรี่

ด้วยเทคนิคเล็กๆน้อยจากเว็บ ตัวแทนอสังหา แค่นี้ เราก็สามารถ ทำให้ดอกไม้ของเราอยู่ได้นานขึ้น และ สวยขึ้นกว่าเดิมแล้ว

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *