เว็บ เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ แนะแนวทางการสร้าง “บ้านเพื่อผู้สูงอายุ” ตอนที่ 2

เว็บ เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ แนะแนวทางการสร้าง “บ้านเพื่อผู้สูงอายุ” ตอนที่ 2

สวัสดีทุกท่านวันนี้เรากลับมาพบกันอีกแล้วกับแอดมินเว็บ เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ ในบทความนี้เป็นบทความต่อเนื่องจากครั้งก่อนเกี่ยวกับ การสร้างหรือปรับปรุงบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุในบ้านของเรา

ทางเว็บ เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์ หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางให้กับผู้ที่คิดว่ากำลังจะปรับปรุงบ้านให้กับผู้สูงอายุภายในบ้านของเราพอดี

เรียนนายหน้าอสังหาออนไลน์

 

อย่างที่เราได้กล่าวไว้ในบทความก่อนๆ ว่า สังคมบ้านเรานั้นกำลังเดินเข้าสู่ยุคของสังคมผู้สูงวัยกันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น เพราะ เด็กรุ่นใหม่เกิดน้อยลง หรืออัตราการรอดชีวติจนเป็นผู้ใหญ่นั้นน้อยลงก็ตามที

แต่ทั้งนี้ทั้งมวล เมื่อพ่อแม่ ของเราอายุมากขึ้นเขาอาจจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ง่ายๆเหมือนเมื่อก่อนแล้วดังนั้น การเลือกที่จะปรับปรุงบ้านหรือสร้างบ้านใหม่ให้เข้ากับการใช้ชีวิตตามวัยของเขานั้นก็เป็นตัวเลือกที่ดี

แต่ต้องเน้นทั้งความเหมาะสม ความปลอดภัยในการใช้ชีวิตอยู่ภายในบ้านของเราด้วย

 

เลือกใช้วัสดุเพื่อความปลอดภัย

จากบทความก่อนที่เราพูดถึง ตำแหน่งพื้นที่ใช้สอยของผู้อายุที่ต้องเหมาะสมแล้ว วัสดุที่ใช้ในพื้นที่ก็ต้องออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานของผู้อายุโดยเฉพาะ เช่น ใช้กระเบื้องที่มีผิวสัมผัสหยาบสักหน่อยเพื่อป้องการลื่น แทนการใช้กระเบื้องที่มีหน้าสัมผัสมันวาว สีที่ใช้ควรเป็นสีโทนสว่าง ไม่แข็งเกินไป ทำพื้นผิวเสมอกัน สุขภัณฑ์ห้องน้ำใช้งานง่าย ไม่เปิดยากหรือมีวิธีที่ซับซ้อนเกินไป ราวจับบริเวณทางเดินและในห้องน้ำควรติดในระดับสูงประมาณ 80 – 90 เซนติเมตร ตั้งแต่ทางเข้าไปจนถึงโถสุขภัณฑ์หรือจุดอาบน้ำ สำหรับยึดจับแทนการไปจับหรือเหนี่ยวอุปกรณ์สุขภัณฑ์ต่างๆ เพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าสมาชิกวัยอื่นๆ ในครอบครัว

ขนาดและระยะสิ่งของรอบตัว

ตามกฎหมายจะมีการกำหนดขนาดและระยะต่างๆ เอาไว้เป็นพื้นฐานในการออกแบบเพื่อผู้สูงอายุอยู่แล้ว (Universal Design) ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวก เช่นห้องนอนควรมีพื้นที่อย่างน้อย 10 – 12 ตารางเมตรสำหรับ 1 คน (ไม่รวมพื้นที่ห้องน้ำ) หรือ 16 – 20 ตารางเมตร สำหรับ 2 คน หรือความลาดชันของทางลาดต้องไม่เกิน 1:12 เช่น พื้นต่างระดับ 1 เมตร ต้องมีทางลาดยาว 12 เมตร และขนาดทางเดินควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 150 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในกรณีที่ผู้สูงอายุต้องใช้วีลแชร์

พื้นที่สำหรับทำกิจกรรม

จากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ พบว่า ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 33 ดังนั้นการออกแบบพื้นที่เพื่อให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมที่ชอบได้ก็จะเป็นการช่วยลดอัตราการเกิดโรคซึมเศร้าไปได้มาก เช่น เมื่อสังเกตว่าผู้สูงอายุชอบการปลูกต้นไม้ ก็ควรออกแบบสวนแนวตั้งขนาดเล็กในกรณีที่ครอบครัวอยู่ในเมือง มีพื้นที่ไม่เพียงพอ รวมไปถึงการทำน้ำตกขนาดเล็กเพราะเสียงน้ำไหลจะช่วยสร้างความผ่อนคลายให้ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมาก

การจัดวางลำดับของพื้นที่ใช้สอย

ส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุมักใช้พื้นที่ไม่มากเนื่องจากการเคลื่อนไหวในแต่ละวันเริ่มน้อยลงการออกแบบพื้นที่ใช้สอยควรคิดเผื่อกิจกรรมของผู้สูงอายุให้ครบวงจรตลอดทั้งวัน เช่น ตั้งแต่ตื่นนอน ห้องน้ำควรอยู่ในพื้นที่เดียวกับห้องนอนหรือหากจำเป็นต้องทำกายภาพหรือออกกำลังกายเล็กน้อยตามแพทย์สั่ง ก็ควรมีระเบียงภายนอกห้องเล็กๆ สำหรับทำกิจกรรม เพื่อความสะดวกและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างวัน

 

อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย

นอกจากวัสดุ สุขภัณฑ์ และเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุแล้ว การติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ (Emergency Call Bell) รวมไปถึงกล้องวงจรปิดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยการติดเครื่องส่งสัญญาณนั้นควรติดไว้บริเวณหัวเตียงในห้องนอน ห้องน้ำห้องนั่งเล่น และเชื่อมต่อไปยังกริ่งเตือนที่ติดตั้งไว้ทุกจุดของบ้าน เพื่อให้ได้ยินเสียงกริ่งทันทีและเข้าช่วยเหลือได้ทันการณ์

ทั้งหมดนี้คือวิธีการปรับปรุงหรือสร้างบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุของเรา เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ไม่ให้เกิดขึ้นกับคนที่เรารักและเคารพได้ ทางเว็บ แชร์ค่าที่ฟรีความรู้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านทุกท่านเพื่อการดูแลคนที่เรารักได้เป็นอย่างดี

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *