กลับมาพบกันอีกครั้งกับเว็บ ตัวแทนอสังหา ในวันนี้แอดมิน จะมี เคล็ดลับดีดี ที่ให้ทุกท่านได้นำไปใช้ตกแต่งบ้านของตัวเองในสวย แบบ ไม่ต้องอายใคร กัน
การตกแต่งบ้านของเว็บ ตัวแทนอสังหา นั้นมีหลากหลายสไตล์ ทั้งแบบโมเดิร์น แบบลอฟท์ Loft วินเทจ หรือจะเป็นการแต่งแบบแนว Contemporary ร่วมสมัย ซึ่งแต่ละคนก็มีความชอบในสไตล์ที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าคุณจะชอบการตกแต่งแบบสไตล์ไหนก็ตาม มันไม่มีข้อจำกัดและแต่ละแบบก็สามารถที่จะสร้างสรรตกแต่งให้บ้านสวยได้จริงๆจนเพื่อนๆคุณต้องชม
ซึ่งวิธีต่างๆที่นำมาใช้งานได้นั้น จะเน้นที่การเพิ่มวัสดุ ที่ใช้ให้ดูดีขึ้น เกรดดีขึ้น เพื่อใข้ตกแต่งห้องแต่ก็นั่นล่ะ เมื่อใช้ของดีราคาก็จะแพงตามมา ดังนั้นวันนี้ แอมดินจะ มีเคล็ดลับมาให้เลือกใช้กัน
- เลือกใช้โคมไฟใหญ่เป็น Master Piece
การใช้โคมไฟเป็น Master piece ในการตกแต่งนั้นจะทำให้คุณได้บ้านที่สวยขึ้นทันตาเห็น แถมยังใช้งบประมาณที่ต่ำกว่าวิธีอื่นๆอยู่มาก ยิ่งเวลาเปิดไฟด้วยนั้นบ้านคุณจะยิ่งดูมีมิติสวยขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว อีกอย่างการใช้โคมไฟเพดานห้อยลงมายังประหยัดเนื้อที่แนวราบทำให้คุณยังคงมีพื้นที่ใช้สอยอีกเยอะเลย ดีกว่าการซื้อเฟอร์นิเเจอร์อื่นเข้ามาเพราะมันจะทำให้ไม่มีที่สำหรับเดินไปมาอย่างสะดวกนั้นเอง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่นักออกแบบบ้านต่างนิยมใช้กันที่สุดเพราะ ประหยัดงบและเห็นผลจริง!
- ขนาดโคมไฟโต๊ะอาหารที่เหมาะสม
แค่เรื่องขนาดสำคัญมากเลยหรอ? ใช่แล้วขนาดของโคมไฟมีส่วนสำคัญที่ทำให้โซนโต๊ะกินข้าวของคุณเกิดหรือดับได้เลย หลายๆคนเลือกขนาดโคมไฟบนโต๊ะอาหารไม่เหมาะสมกับขนาดของตัวโต๊ะ ซึ่งทำให้ความลงตัวของบ้านนั้นดูน้อยลงไปอย่างมาก บางคนมีโต๊ะขนาดใหญ่แต่กลับมีโคมไฟเล็กนิดเดียว บางคนมีโต๊ะเล็กกลับใช้โคมไฟใหญ่เกินไป แอดมินจึงแนะนำให้คุณใช้โคมไฟที่มีความกว้างน้อยกว่าความกว้างของโต๊ะคุณเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น โต๊ะ 120cm ฉะนั้นโคมไฟบนโต๊ะอาหารควรอยู่ที่ 70cm – 100cm หรือหากคุณชอบโคมไฟเล็กๆ ก็ให้ใช้ 2 – 3 โคมห้อยเรียงกันจะทำให้ห้องคุณดูสวยขึ้นได้อย่างมาก
- โทนแสงสร้าง Mood & Tone
แสงของห้องนั้นสามารถทำให้เกิดความรู้สึกที่ต่างกันได้ เพราะฉะนั้นคุณควรเลือกใช้แสงไฟที่เหมาะสมกับห้องของคุณ โดยปกติหลอดไฟแสงวอร์มไวท์ Warmwhiteซึ่งอุณหภูมิแสงอยู่ที่ 3000k แสงออกสีอมเหลืองส้มเป็นหลอดที่เราจะแนะนำให้คุณใช้ภายในห้องนั่งเล่น เพราะมันจะทำบ้านคุณดูอบอุ่น น่าอยู่นั้นเอง ส่วนแสงเดย์ไลท์Daylight 6000K นั้น เป็นโทนแสงสีขาว เราจะเน้นให้ใช้ในที่ๆต้องการใช้สายตาทำงานอย่างห้องทำงานและยังเหมาะกับบ้านแนวโมเดิร์นอีกด้วย ฉะนั้นหากคุณต้องการเน้นเรื่องดูอบอุ่นให้ใช้โทนแสงวอร์มไวท์และหากคุณต้องการให้ห้องดูสว่างดูสะอาด ดูโมเดิร์นขึ้น การใช้แสงเดย์ไลท์ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีนั้นเอง
- ไฟหัวเตียงที่ไม่ธรรมดา
ทำไมไฟหัวเตียงต้องตั้งไว้บนโต๊ะหัวเตียงหล่ะ? ลองแนวคิดสมัยใหม่ที่สวยกว่าและดีกว่ากันไหม? เทคนิคลับการประยุคโคมไฟหัวเตียงสมัยใหม่นี้ ทั้งมัณฑนากรและนักออกแบบภายในต่างริเริ่มหันมาใช้ไฟห้อยเพดานขนาดเล็กและไฟกิ่งติดผนังกันมากขึ้น เพราะมันทำให้ห้องนอนของคุณโดดเด่นมีเอกลักษณ์ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งโรงแรมหรูๆต่างๆเริ่มนำมาใช้กันต่อเนื่องและเป็นที่นิยมกว่าการใช้ไฟตั้งโต๊ะ เพราะว่าคุณสามารถประหยัดพื้นที่ใช้สอยบนโต๊ะคุณได้มากขึ้นนั้นเอง สวยเด่น มีเอกลักษณ์ แถมเพิ่มพื้นที่ใช้สอยอีกด้วย
- LED Strip Light สุดยอดไฟตกแต่ง
อีกหนึ่งเทคนิคลับการตกแต่งบ้านให้สวยแห่งยุคนี้เลยก็ว่าได้ นั้นก็คือการใช้ LED Strip Light (สตริปไลท์) ในการตกแต่งห้องนั้นเอง ซึ่งตัว LED Strip Light นี้นักออกแบบ Designer ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับทำไฟหลืบ หลบอยู่ตามขอบเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อาทิเช่น ใต้เตียงนอน ชั้นวางของ ใต้บันได ตามทางเดินและอีกหลายๆที่ๆคุณจะคิดได้เลยก็ว่าได้ มันสามารถนำไปใช้ได้หมดทุกที่จริงๆ เพราะเจ้าตัวนี้จะทำหน้าที่ Highlight เน้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ให้โดดเด่น ดูสวยขึ้นอย่างมาก และอย่างที่เรารู้กันและเป็นที่ยอมรับในมุมกว้างว่าแสงจากโคมไฟที่ดีจะทำให้บ้านคุณสวยขึ้นถึง 80% และเจ้าตัว Strip light นี้แหละที่ช่วยคุณได้อย่างมากเลยทีเดียว ส่วนสีที่ใช้แล้วสวยทางมัณฑนากรและนักออกแบบภายในชั้นนำต่างแนะนำให้ใช้สี วอร์มไวท์ Warmwhiteเป็นหลัก เพราะเข้ากับทุกแบบบ้านได้ง่ายนั้นเอง และควรเลือกใช้ แรงดันไฟที่ 24V เพื่อไม่ให้ไฟตก คงที่คงวาตลอดเส้น strip light
เพียงแค่เทคนิคที่กล่าวมาเบื้องต้น ทางเว็บ นายหน้าขายคอนโด อยากจะให้ลองนำเทคนิคลับแต่งบ้านไปใช้กัน รับรองว่าบ้านคุณจะสวยขึ้นจนเพื่อนๆคุณต้องชมกันเลยทีเดียว
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ แฟนเพจ ต้องขายบ้านหลังนี้ให้ได้ หรือช่องยูทูป สมองอสังหา และ หน้าเว็บอย่างเป็นทางการ คอร์สลงทุนในบ้านมือสอง
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *